13 ส.ค. 2020 เวลา 23:30 • ครอบครัว & เด็ก
ตอนที่46 "รอก่อนได้มั้ยครับ? อดเปรี้ยวไว้กินหวาน"
🌟เตรียมลูกก่อน เข้าเรียนเตรียมอนุบาล โดยการ Home School ช่วงวิกฤติ Covid19 (ให้มีความพร้อมทางร่างกายและจิตใจก่อนไปโรงเรียนวันแรก) ได้อย่างไร?
"ความอดทนรอคอย" คือ ความสามารถที่จะอดทนต่อสิ่งล่อใจในปัจจุบันเพื่อรางวัลในอนาคต
การเลี้ยงดูลูกรักต้องอาศัยความอดทนรอคอย
เพราะพ่อกับแม่จะไม่ได้เห็นผลลัพธ์ในวันนี้ทันที
การอบรมสั่งสอนลูกให้ประสบความสำเร็จและเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีของสังคมในอนาคต ต้องใช้เวลายาวนานมากพอสมควร กว่าจะได้เห็นผลลัพธ์ที่งดงามนั้น
เด็กเปรียบได้ดั่งการปลูกต้นไม้ กว่าต้นกล้าเล็กๆจะเติบโตหยั่งรากเป็นต้นไม้ใหญ่ได้ต้องรดน้ำพรวนดินกันกันหลายสิบปี
แล้วเมื่อผู้ใหญ่อย่างเราต้องมีความอดทนรอคอย
ถึงจะสามารถเอาตัวรอดในการใช้ชีวิตในสังคมที่วุ่นวายบนโลกใบนี้
ทักษะการอดทดรอคอย จึงเป็นทักษะที่สำคัญที่ลูกรักควรจะมีติดตัวจนกลายเป็นนิสัย
ผมเลยเกิดข้อสงสัย แล้วเราต้องฝึกฝนลูกรักของเราเมื่อไหร่? อย่างไรดี?
จึงจะทำให้ต้นกล้าต้นนี้ เติบโตเป็นต้นไม้ใหญ่ที่มีความอดทน แข็งแรง ทนทานต่อแดด ลม ฝน ในอนาคตได้โดยมีรากหยั่งลึกที่แข็งแรงมากพอ
เพื่อที่จะไม่โดนพายุพัดกระหน่ำหายไปเสียก่อน
👩🏫ผู้รู้ให้คำแนะนำ :
ในการฝึกเด็กให้มีความยับยั้งชั่งใจ เราสามารถสร้างกิจกรรมหรือฉวยเอาวิถีชีวิตประจำวันมาฝึกเด็กได้
เช่น กิจกรรมที่เด็กต้องอดทนรอคอย
กิจกรรมที่เด็กต้องปฏิบัติตามกฎกติกาเงื่อนไข
กิจกรรมที่เด็กต้องหยุด (เช่น เมื่อเพลงดังขึ้น เด็กต้องหยุดทำกิจกรรมและไปเข้าแถว)
กิจกรรมที่ต้องมีการผลัดกันเล่นผลัดกันทำ เป็นต้น
💡เครื่องมือ 5 อย่างสำหรับใช้ในการฝึกเด็กให้มีความยับยั้งชั่งใจ
1.ความเข้าใจในธรรมชาติเด็ก
ถ้าเราเข้าใจธรรมชาติเด็กแล้ว ไม่ว่าใช้กิจกรรมใดก็จะมีประสิทธิภาพ
เพราะเราจะรู้ว่าเราควรสร้างสถานการณ์อะไรขึ้นมาฝึกเด็ก หรือจะหยิบฉวยโอกาสอะไรในวิถีชีวิตประจำวันมาฝึกความยับยั้งชั่งใจได้
เช่นเด็กชอบเพลง ก็ใช้เพลงมาเป็นสัญญาณให้เด็กเคลื่อนไหวหรือหยุด
2.การวางเงื่อนไข
เราสร้างกิจกรรมที่ดูคล้ายๆ จะเป็นอิสระแต่ก็มีขอบเขต มีเงื่อนไข ข้อตกลงบางอย่างให้เด็กปฏิบัติตาม
ซึ่งต้องชัดเจน
ถ้าเป็นเด็กเล็กๆ เงื่อนไขต้องไม่ซับซ้อน ต้องสั้นๆ
เช่น เพลงมาให้เดิน เพลงหยุดให้หยุด
อาจให้เด็กๆ ลองทวนเงื่อนไข หรือให้เด็กๆ ได้ลองสร้างเงื่อนไขเอง แล้วคอนโทรลตัวเองบนเงื่อนไขนั้น
3.เด็กได้ลงมือทำด้วยตัวเอง
ประสบการณ์จะทำให้เด็กสามารถขยายความยับยั้งชั่งใจได้มากขึ้นเรื่อยๆ จนเรารู้สึกได้ว่าเด็กโตขึ้น
เป็นผู้ใหญ่ขึ้น รู้จักรอ และระยะเวลาในการรอคอยก็ดีขึ้น นานขึ้น ง่ายขึ้น การยอมรับในกฎกติกามีมากขึ้น
4.ต้องมีแรงบันดาลใจ แรงจูงใจ
กิจกรรมนั้นต้องมีอะไรบางอย่างที่เด็กชอบ
ไม่ว่าการเล่นที่เด็กชื่นชอบ ดนตรี ศิลปะ
มันเป็นแรงบันดาลใจที่จูงเด็กให้เข้ามารับการฝึกโดยไม่รู้ตัว
แล้วเด็กจะเกิดความยับยั้งชั่งใจอยู่ในเนื้อในตัวโดยไม่ต้องมีคนคอยกำกับว่าอย่านะ หยุดนะ
5.บรรยากาศของความสุข
การฝึกนั้นเด็กต้องอยู่ในบรรยากาศที่เป็นสุข
เด็กจึงจะเอาตัวลงมาอยู่ตรงนั้นจริงๆ จนกระทั่งคุ้นเคย เกิดเป็นลักษณะนิสัยได้ในอนาคต
คุณครูอย่าลืมใช้เครื่องมือเหล่านี้ในการฝึกเด็กให้มีความยับยั้งชั่งใจนะคะ
ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก :
👨คุณพ่อขอเล่า :
ฟีนิกซ์ วัย 2ขวบ 11เดือน
เรียนรู้การอดทนรอคอยจากทุกๆคนในครอบครัวได้ดีครับ
สามารถอดทนรอคอยสิ่งต่างๆในกิจวัตรประจำวันได้ อาทิเช่น
อดทนทานข้าวให้หมดก่อนค่อยไปดูจอการ์ตูน
,อดทนไม่ซื้อของเล่นที่ไม่ได้ชอบจริงๆ เพื่อไปซื้อสิ่งที่ตัวเองอยากได้
,อดทนทำกิจกรรมต่างๆให้เสร็จเป็นอย่างๆ ค่อยเริ่มไปทำกิจกรรมใหม่ต่อ
ถึงแม้ฟีนิกซ์จะมีวอกแวกบ้าง ทำอะไรตามใจตนเองบ้าง แต่โดยรวมถือว่า ลูกเป็นเด็กดี น่ารัก มีความยับยั้งชั่งใจสูงและอดทนรอคอยได้เป็นอย่างดี
พัฒนาตนเองต่อไปนะครับลูก
เพื่อที่ต้นกล้าเล็กๆต้นนี้จะเติบโตเป็นต้นไม้ใหญ่
และให้ร่มเงา ให้ความสุขกับผู้คนรอบๆตัวลูกต่อไป
ในอนาคตข้างหน้าครับ 👨👩👦👦❤
ช่องทางติดตามดูคลิปวีดีโอเพิ่มเติมทางเพจ FB. " Daddy Survivor "
ขอกำลังใจ ฝากติดตามด้วยนะครับ
ขอบคุณมากครับ 😀👪❤

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา