22 พ.ค. 2020 เวลา 02:09
ซีรีส์ 18+
จับนม ... กัน 🔞
1
ภาพโดย คนไทยตัวเล็กเล็ก
วันนี้ฉันจะมีความตรงไปตรงมาเป็นพิเศษค่ะ
เมื่อโปรยว่า จับนม ... ก็จะ จั บ น ม กันจริง ๆ ค่ะ
นมผู้หญิงนะคะ ไม่ใช่นมกล่อง หรือนมกระป๋อง ❗
📢 บทความนี้สำหรับคุณผู้หญิง ส่วนคุณผู้ชายถูไปไถมา กดไลก์เสร็จแล้ว ก็ข้ามไปได้เลยค่ะ ผู้หญิงเค้าจะได้ไม่ต้องอายนะคะ 😊
1
✴✴ บทความนี้ไม่ใช่บทความทางวิชาการ แม้จะนำข้อมูลมาจากเวปไซด์ทางการแพทย์ แต่ถูกเรียบเรียงใหม่ตามความเข้าใจนะคะ
📍นม ค่ะ นม
หากเลือกได้ ผู้หญิงหลายคนคงอยากอธิษฐานว่า
... ถ้าหน้าไม่คม ก็ขอนมสวย ๆ !! ..
คุณผู้ชายเค้ามีน้องชายสุดรักสุดหวงกัน ส่วนคุณผู้หญิงก็มีน้องสาวทั้ง 2 ที่ต้องเฝ้าถนอมกล่อมเกลี้ยงเช่นกัน เราต้องหมั่นเอาใจใส่ไม่ให้น้องสาวมีอันตราย
ไม่อ้อมค้อมค่ะ หนึ่งในสิ่งที่คุณผู้หญิงกลัวก็คือการเป็นมะเร็งเต้านม ฉะนั้นวันนี้เรามารู้จักมะเร็งเต้านมแบบไม่วิชาการจ๋ากันค่ะ
จากการเก็บข้อมูลทางการแพทย์พบว่า มะเร็งเต้านมเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งอันดับต้น ๆ และมีแนวโน้มที่จำนวนผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี
📌 สาเหตุของมะเร็งเต้านม
แม้ว่าความก้าวหน้าทางการวิจัยจะมีมากมาย แต่ก็ยังไม่สามารถฟันโชะว่าอะไรคือสาเหตุของมะเร็งเต้านม เราได้แต่ป้ายความผิดให้กับฮอร์โมนแพะ เอ๊ย ฮอร์โมนเพศ คือเจ้าเอสโตรเจน (Estrogen) ซึ่งพบว่าระดับของฮอร์โมนตัวนี้แปรเปลี่ยนไปตามแต่ละช่วงของวัยเจริญพันธุ์ และมีอิทธิพลกระตุ้นการแบ่งตัวของเซลส์ ที่อยู่ภายในท่อน้ำนมหรือต่อมน้ำนม ซึ่งการแบ่งเซลส์ที่ผิดปกตินี้อาจลุกลามไปถึงต่อมน้ำเหลือ และกระจายสู่อวัยวะอื่น ๆ เช่น กระดูก ปอด ตับ สมอง นั่นหมายถึงถ้าร่างกายของผู้หญิงมีช่วงเวลาที่ฮอร์โมนเอสโตรเจนทรงอิทธิพลอยู่นานเท่าไหร่ก็ยิ่งมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้นเท่านั้น เพราะจากผลการศึกษาระดับฮอร์โมนค่อนข้างมีความสัมพันธ์โดยตรงกับอัตราการเป็นมะเร็ง
ด้วยเหตุนี้เราจึงให้ความสนใจกับปัจจัยเสี่ยงทั้งหลายเพื่อหาทางควบคุมหรือป้องกัน
1
📌 การตรวจคัดกรอง
การตรวจคัดกรองมีความสำคัญมากนะคะ ถ้าพบโรคมะเร็งในระยะเริ่มแรกนั้น แพทย์จะสามารถทำการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนผู้ป่วยหายขาดและมีชีวิตกลับเป็นปกติดังเดิมได้ค่ะ
ขออนุญาต กล่าวถึงผู้หญิงเป็นหลักนะคะ
แม้ผู้ชายจะพบเป็นมะเร็งเต้านมได้เช่นเดียวกัน แต่สัดส่วนเพียงแค่ 1 % ค่ะ
📈 จากสถิติพบว่าคนบางกลุ่มมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งมากกว่าคนกลุ่มอื่น เช่น
👉 ผู้ที่มีประวัติว่าคนในครอบครัวป่วยเป็นมะเร็ง ทั้งนี้อาจเป็นสาเหตุจากพันธุกรรม
👉 ผู้หญิงที่ไม่มีบุตร หรือมีบุตรคนแรกเมื่ออายุเกิน 30 ปี
👉 ผู้หญิงที่มีประจำเดือนเร็ว และหมดประจำเดือนช้า หรือมีการใช้ฮอร์โมนทดแทนเป็นระยะเวลานาน
👉 ผู้หญิงที่มีอายุเกิน 40 ปีขึ้นไป
อย่างที่เกริ่นไว้ตอนต้นนะคะ ว่าการตรวจคัดกรองสำคัญมาก ไปดูกันค่ะว่ามีการตรวจอย่างไรบ้าง
1️⃣ การตรวจเต้านมด้วยตัวเอง
สามารถทำได้เป็นประจำร่วมกับการสังเกตุความผิดปกติของเต้านม เช่น
🔸️ความผิดปกติของผิวหนังบริเวณหน้าอก เช่น มีรอยบุ๋ม ลักษณะผิวเปลือกส้ม มีสะเก็ด
🔸️ความผิดปกติของหัวนม เช่น มีการหดตัว หัวนมบอด มีอาการคัน บวม หรือมีเลือดออก
🔸️ ความผิดปกติของเต้านม เช่น เจ็บเต้านม มีก้อนที่เต้านมหรือรักแร้ รูปทรงเต้านมผิดปกติไปจากเดิมหรือไม่
ก่อนอื่น เปลือยท่อนบนก่อนนะคะ แล้วยืนหน้ากระจก ยิ้มกว้าง ๆ ให้ตัวเอง ยกแขนทั้งสองขึ้นเหนือศีรษะ และส่องดูเต้านมทั้งด้านหน้าตรง หันดูด้านข้าง โน้มตัวมาข้างหน้าเล็กน้อยนะคะ เพื่อจะสามารถดูเต้านมของคุณได้จากหลายมุมค่ะ
การคลำเต้านม
ขออนุญาตใช้ข้อมูลและภาพประกอบจากเวปไซด์ของโรงพยาบาลเพชรเวชค่ะ
การคลำเต้านมให้ใช้ นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง (ของคุณ) ค่อย ๆ กดคลำตั้งแต่กระดูกไหปลาร้าลงมา จนทั่วเต้านม และเลยไปถึงบริเวณรักแร้ใต้วงแขนทั้งสองข้าง การคลำต้องทำทั้งในท่ายืน และท่านอนโดยหนุนผ้าไว้ใต้ไหล่ข้างที่จะคลำด้วยค่ะ
1
ขอบคุณภาพจากเวปไซด์ โรงพยาบาลเพชรเวช
ขอบคุณภาพจากเวปไซด์ โรงพยาบาลเพชรเวช
หากพบความผิดปกติ ควรไปปรึกษาแพทย์เฉพาะทางโดยเร็วนะคะ
นอกจากการตรวจคัดกรองด้วยตัวเองแล้ว การตรวจโดยใช้เครื่องมือ อาจทำได้โดย
2️⃣ การตรวจด้วยวิธีแมมโมแกรม (Mammogram)
Mammogram เป็นการตรวจทางรังสีชนิดพิเศษคล้ายการเอกซเรย์ และเป็นวิธีการตรวจคัดกรองที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดในปัจจุบัน สามารถตรวจได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก
3️⃣ การตรวจด้วยวิธีอัลตราซาวด์ (Ultrasound)
Ultrasound เป็นการใช้คลื่นความถี่สูง แปลคลื่นเสียงที่กระทบกับเนื้อเยื่อและสะท้อนกลับมาประมวลผลเป็นภาพ การตรวจอัลตราซาวด์ นิยมตรวจควบคู่กับการตรวจแมมโมแกรมเพื่อเพิ่มความแม่นยำ
4️⃣ การเจาะชิ้นเนื้อ
หากผลจากการตรวจคัดกรองด้วยวิธีอื่น ชี้ว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านม แพทย์จะทำการตรวจชิ้นเนื้อ อาจทำโดยการใช้เข็มเจาะ หรือ ผ่าตัดเล็กเพื่อเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อ ไปพิสูจน์ต่อว่าเป็นเนื้อร้ายหรือไม่ค่ะ
📌 มะเร็งเต้านม จะแบ่งออกได้เป็น 4 ระยะ ค่ะ
☑ ระยะเริ่มต้น
1
พบก้อนเนื้อขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 2 ซม. ซึ่งคาดว่ายังไม่แพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้
☑ ระยะที่สอง
ก้อนเนื้อมีขนาดใหญ่ขึ้นประมาณ 2-5 ซม. อาจมีการแพร่กระจายไปที่ต่อมน้ำเหลือง
☑ ระยะที่สาม
ก้อนเนื้อมีขนาดใหญ่กว่า 5 ซม. มีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองจนทำให้ต่อมน้ำเหลืองรวมติดกันเป็นก้อนใหญ่หรือยึดติดกับอวัยวะข้างเคียง
☑ ระยะที่สี่ ซึ่งเป็นระยะสุดท้าย
ก้อนมะเร็งอาจมีขนาดเท่าใดก็ได้ แต่มีการแพร่กระจายลุกลามไปอวัยวะอื่น เช่น กระดูก ปอด ตับ หรือสมอง
📌 วิธีการรักษา
การรักษาที่มีประสิทธิภาพอาจต้องอาศัยความชำนาญของแพทย์จากหลายสาขา และขึ้นกับระยะของการเป็นมะเร็ง สภาวะของผู้ป่วย ในการพิจารณา
โดยวิธีการรักษาหลัก ๆ จะมีอยู่ 5 วิธีคือค่ะ
👉 การผ่าตัด
👉 การฉายแสง
👉 การให้ยาต้านฮอร์โมน
👉 การใช้เคมีบำบัด
👉 การใช้ยาออกฤทธิ์จำเพาะ
แพทย์ผู้รักษาจะพิจารณาวิธีการที่เหมาะสม และลำดับของวิธีรักษาที่จะนำมาใช้กับผู้ป่วยแต่ละรายค่ะ
ตัวอย่างเช่น ผ่าตัดก่อน แล้วจึงใช้เคมีบำบัด ต่อจากนั้นใช้ฮอร์โมนหรือฉายแสงค่ะ
ข้อมูลที่กล่าวมาเบื้องต้น เป็นข้อมูลพื้นฐาน เพื่อสร้างความเข้าใจ และเพื่อเฝ้าระวังค่ะ
ยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนในหลายๆ ประเด็นเกี่ยวกับมะเร็งเต้านมค่ะ 👇
❌ ผู้หญิงที่มีหน้าอกขนาดใหญ่มีโอกาสเป็นมะเร็งมากกว่าผู้หญิงที่มีหน้าอกขนาดเล็ก
❌ การใส่ชุดชั้นในเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านม
❌ การทำศัลยกรรมเสริมหน้าอก เพิ่มความเสี่ยงการเป็นมะเร็งเต้านม
❌ ผู้ชายไม่เป็นมะเร็งเต้านม ผู้ชายมีโอกาสที่จะเป็นมะเร็งเต้านม แต่พบเพียง 1% จำนวนผู้ป่วยมะเร็งเต้านมทั้งหมด
❌ การกินน้ำเต้าหู้ (นมถั่วเหลือง) น้ำมันมะพร้างเพิ่มความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านม
❇❇❇❇❇
1
ปัจจุบันการเข้าถึงข้อมูลทางการแพทย์ ข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ สามารถทำได้ง่าย ขอเพียงคุณใส่ใจในสุขภาพ และปฏิบัติตามหลัก 6 อ. กันอย่างสม่ำเสมอค่ะ
☘☘🍀☘☘
รู้อย่างนี้แล้ว หมั่นสังเกตุความผิดปกติของร่างกายเรา และตรวจสุขภาพกันปีละครั้งนะคะ
💗💗💗💗💗
ขอให้คุณทุกคนมีสุขภาพดี สดชื่นเบิกบานทุกวันค่ะ
🙂🙂🙂🙂🙂
สวัสดีนะคะ
คนไทยตัวเล็กเล็ก
22/05/2020

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา