21 พ.ค. 2020 เวลา 19:09 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
IOT มาแน่อีกไม่กี่ปีข้างหน้า
หากเราจะดูว่าเทรนด์พฤติกรรมผู้บริโภคจะเป็นอย่างไรนั้น ทุกวันนี้ก็คงต้องดูด้วยว่าเทคโนโลยีจะเป็นอย่างไร เพราะเชื่อได้ว่านักการตลาดและเจ้าของธุรกิจก็ต่างมีประสบการณ์กันแล้วว่าเทคโนโลยีดิจิทัลอย่าง Smartphone / Internet เข้ามาทำให้รูปแบบพฤติกรรมผู้บริโภคต่อไปจนถึงวิธีการทำการตลาดนั้นต่างไปจากเดิม
ในงานสัมมนา ASEAN Sei-katsu-sha Forum 2019 ที่จัดโดย HAKUHDO หนึ่งในเอเยนซี่ชั้นนำของโลกก็เจาะลงมาที่ประเด็นนี้โดยมีการเผยแนวคิดและงานวิจัยว่าด้วยเรื่องพฤติกรรมผู้บริโภคที่จะเปลี่ยนไปในอนาคตอันเกิดจากเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่กำลังจะเข้ามาเป็นส่วนของชีวิตเรา ซึ่งข้อมูลวิจัยเหล่านี้มาจาก HILL ASEAN (Hakuhdo Institute of Life and Living ASEAN) เป็นผู้จัดทำขึ้น
หมายเหตุ: ผู้เขียนไปร่วมงานนี้ในฐานะสื่อมวลชน การเขียนและโปรโมตบทความนี้ไม่ได้มีการรับผลประโยชน์หรือมีการว่าจ้างแต่อย่างใด
IoT – ยุคต่อไปหลังจาก Smartphone
แน่นอนว่า Smartphone คืออุปกรณ์ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคอย่างยิ่งใหญ่ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา แต่คำถามใหญ่สำหรับคนทำงานด้านธุรกิจและการตลาดคืออะไรจะเป็นสิ่งที่จะมาหลังจาก Smartphone ซึ่งหลายๆ สำนักก็ฟันธงไปทางเดียวกันว่าหนึ่งในนั้นคือ IoT (Internet of Things) ซึ่งก็คือบรรดาอุปกรณ์อัจฉริยะต่างๆ ที่สามารถเชื่อมโยงกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลต่างๆ ได้ โดยข้อมูลต่างๆ ก็ชี้ไปว่าอุปกรณ์ประเภท IoT นั้นจะมีมากขึ้นจนมากกว่าปริมาณของโทรศัพท์ในปี 2021
โดยแนวโน้มของการใช้งาน IoT ที่เพิ่มขึ้นนั้น ก็จะทำให้เกิดสภาพแวดล้อมและพฤติกรรมใหม่ๆ ของผู้บริโภคที่เกิดขึ้น อันได้แก่
1.ยุคสมัย “Beyond the Screen”
เราจะเห็นว่าวิถีในการที่เรามีปฏิสัมพันธ์กับช่องทางในการรับข้อมูลข่าวสารนั้นไม่ได้จำกัดกับ “หน้าจอ” อีกต่อไป เราสามารถรับข้อมูลข่าวสาร หรือแม้แต่การหาข้อมูลต่างๆ ได้ผ่านอุปกรณ์รูปแบบอื่นๆ เช่น Smartspeaker เครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะอื่นๆ หรืออาจจะมองไปถึงบรรดา Smart Mirror ในอนาคตเป็นต้น
2. การเกิดข้อมูลมหาศาลของตัวผู้บริโภคเอง (Me Data)
แน่นอนว่าพอเรามีอุปกรณ์ต่างๆ รอบตัวเราและเราเองก็ใช้ชีวิตร่วมกับอุปกรณ์เหล่านี้ มันก็ย่อมจะเกิดข้อมูลในปริมาณมหาศาลที่ถูกจับและจัดเก็บจากการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ที่เราเดินทางไป ข้อมูลด้านสุขภาพ ประวัติการหาข้อมูลและการเสพข้อมูลต่างๆ ฯลฯ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ก็จะถูกนำไปประมวลผลเพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป
3. การเกิดระบบแนะนำอันชาญฉลาด
ผลต่อเนื่องจากการมีข้อมูลมหาศาล (จากข้อที่แล้ว) ประกอบกับเทคโนโลยีด้าน AI ที่จะชำนาญและเชี่ยวชาญในการประมวลข้อมูลเหล่านี้ได้ซับซ้อนมากขึ้น และนั่นนำไปสู่การที่ AI จะสามารถเรียนรู้และเข้าใจความต้องการของผู้บริโภคแต่ละคนได้แม่นยำและตอบโจทย์ความต้องการมากขึ้น ซึ่งนั่นก็จะเริ่มเห็นได้จากบรรดาระบบการแนะนำสินค้าหรือบริการต่างๆ ในเว็บไซต์ขายของที่เริ่มเรียนรู้และแนะนำสินค้าที่ตรงกับบริบทและความต้องการของเราได้ดีขึ้นกว่าเดิมเรื่อยๆ
Assistive Media – สื่อในระดับ Hyper Personalization
HILL ASEAN ได้รับสรุปจากปัจจัยต่างๆ ว่ามันจะทำให้ Media ที่เรารู้จักนั้นจะมีวิวัฒนาการก้าวไปสู่ขีดความสามารถใหม่ๆ ซึ่งพวกเขาได้เรียกมันว่า Assistive Media หรือถ้าจะอธิบายง่ายๆ คือสื่อที่สามารถในการสื่อสาร แนะนำสินค้า / บริการ หรือวิธีการที่เหมาะสมให้กับผู้บริโภคคนนั้นๆ (ตรงนี้บางที่ก็จะเรียกว่าเป็น Hyper Personalization) ซึ่งทั้งหมดนี้ก็คือกระบวนการที่สื่อเหล่านี้จะทำให้ชีวิตของผู้บริโภคนั้นง่ายขึ้นและสะดวกขึ้นกว่าเดิม
Assistive Media – สื่อในระดับ Hyper Personalization
HILL ASEAN ได้รับสรุปจากปัจจัยต่างๆ ว่ามันจะทำให้ Media ที่เรารู้จักนั้นจะมีวิวัฒนาการก้าวไปสู่ขีดความสามารถใหม่ๆ ซึ่งพวกเขาได้เรียกมันว่า Assistive Media หรือถ้าจะอธิบายง่ายๆ คือสื่อที่สามารถในการสื่อสาร แนะนำสินค้า / บริการ หรือวิธีการที่เหมาะสมให้กับผู้บริโภคคนนั้นๆ (ตรงนี้บางที่ก็จะเรียกว่าเป็น Hyper Personalization) ซึ่งทั้งหมดนี้ก็คือกระบวนการที่สื่อเหล่านี้จะทำให้ชีวิตของผู้บริโภคนั้นง่ายขึ้นและสะดวกขึ้นกว่าเดิม
พฤติกรรมใหม่ในยุค IoT
จากที่เล่าไปข้างต้นนั้น HILL ASEAN ได้มองเห็น 2 พฤติกรรมใหญ่ๆ ที่จะเกิดขึ้นกับผู้บริโภคเมื่อยุค IoT เข้ามาถึง (หรือเมื่อมีการใช้สินค้า IoT มากขึ้น)
Bye-bye Boring Routines: คือการที่ผู้บริโภคเริ่ม ลด ละ เลิก กิจกรรมหรือวิธีการใช้ชีวิตแบบเดิมๆ ซึ่งน่าเบื่อหน่าย หรือไม่ก็เป็นรูปแบบเดิมๆ เช่นการลุกไปปิดไฟก่อนนอน การทำความสะอาดบ้าน เปิด-ปิดแอร์ แล้วให้ระบบอัจฉริยะต่างๆ ทำงานแทน เช่นดูว่าเรากำลังออกจากบ้านแล้วก็ทำการปิดแอร์ปิดไฟให้เอง การสั่งงานต่างๆ ที่ง่ายขึ้น รู้ใจมากขึ้น
Match-Me Journey: การซื้อสินค้าบริการต่างๆ จะใช้ประโยชน์จาก Hyper Personalization ผ่าน Smart Device ต่างๆ เพื่อทำให้การซื้อสินค้าบริการต่างๆ นั้นสะดวกและตรงใจมากกว่าเดิม อย่างเช่นการที่วันนี้หลายๆ คนสอบถามสินค้าบริการผ่าน Google Home / Alexa แล้วทำการสั่งซื้อเลย
ซึ่งจากภาพรวมตรงนี้แล้ว ทาง HILL ASEAN ก็ได้สรุปสิ่งที่แบรนด์ธุรกิจต้องเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อรับการภาวะใหม่ๆ นี้ อันได้แก่
Purpose Branding: กำหนดนิยามคุณค่าของแบรนด์ให้ชัดเจนและเหมาะกับสถานการณ์
Life Solutions: พัฒนา Solutions ของธุรกิจให้ครบวงจร และสามารถตอบโจทย์ปัญหาของผู้บริโภคได้
Real-Time Marketing: นำเสนอคอนเทนต์ได้ตรงกับบริบทต่างๆ และฉับไวในช่วงเวลานั้นๆ
สำหรับผู้ที่สนใจอยากดูงานวิจัยนี้เพิ่มเติม สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ hillasean.com
โฆษณา