23 พ.ค. 2020 เวลา 01:21 • ไลฟ์สไตล์
🚎จาก รถราง สู่ รถเมล์สาย8 Fast and Furious🚍
มาชวนดูวิวัฒนาการ ระบบการขนส่งมวลชน ใน เมืองหลวงของไทย จากคำว่า
1
➡️ พระนคร จนถึง Capital city กรุงเทพมหานคร!!
picture from pinterest
ตอนแรก ตั้งใจแค่ จะเอา เพลงรถรางไทย มาฝาก
เพราะ... อายุปูนนี้ ก็พึ่งรู้ว่า มีเพลงนี้ ปรากฎ...น่ารักดี
....
บางครั้งเนื้อเพลง ในยุคสมัยนึงก็เป็นการถ่ายทอด บทบันทึกเรื่องราว ประวัติศาสตร์ในชีวิตประจำวันอย่างง่ายของคนในยุคนั้นๆ ลองฟังดูดีๆ จะเห็นความถ้อยทีถ้อยอาศัย น้ำใจไมตรี สุภาพบุรุษ สุภาพสตรี มารยาทการใช้รถราง
....
ถ้าเทียบสมัยนี้...คงได้ยินเสียงกระเป๋ารถเมล์บางสาย ตะโกนโหวกเหวก เหมือนเรากำลังขึ้นมาขออาศัยติดรถสายมรณะไปด้วย...
🚺เป๋ารถ: ชิดๆๆๆ ชิดโว้ยยย จะเว้นช่องว่างไว้เตะ
ตะกร้อรึไง...ชิดๆๆ เบียดเข้าไปๆ ...อีกนิ๊ดดดๆๆ
มีน้ำใจ คนอื่นจะได้ไปด้วย แบ่งๆกันไป!!!
🤰ผู้โดยสาร: โอยยย...กรุเบียดจนจะได้ลูกกับไอ้คนข้างๆล่ะเนี้ยะ (แค่แอบคิด...🤣😅)
....
🎈แต่ก็อดที่จะไปหาเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับ
ประวัติรถรางไทยมาฝากด้วยดีกว่า จะได้ มีเรื่องไว้เล่า ไว้คุยให้เด็กๆฟัง หรือ บางที คุยเกทับฝรั่งมังค่าไปเลย เพราะอะไร จะเฉลยข้างล่างท้ายบทความ...
ข้าเลยไปค้นมาได้ว่า...รถรางมันมาและหายไปได้อย่างไร...
📌1 เริ่มจากการเปิดใช้ถนนเจริญกรุง (New Road) ถนนเส้นแรกของกรุงเทพ ในปี พศ. 2404
.
เป็นถนนที่เริ่มมีผู้คนสัญจรไปมาหนาแน่นขึ้นเรื่อยๆ เป็นถนนสายยาวที่เชื่อมผู้คนในพระนครมาลงท่าเรือที่ถนนตก เพราะผู้คนในสมัยนั้นยังอาศัยการเดินทางทางน้ำอยู่มาก
1
picture from pinterest
แต่ด้วยสภาพถนนมีฝุ่น เป็นหลุมเป็นบ่อ มีโคลนตมในหน้าฝน
ในสมัยก่อนนั้น... การเดินทางใช้เรือพาย เรือแจว ส่วนใหญ่ใช้การเดินเท้าเป็นหลักโดย
.
ถ้าเป็นชาวบ้านก็ใช้สองขาเดินจ้ำอ้าวเอา หรือขี่ม้า
.
ถ้าพอมีเงินมีสตางค์ก็ใช้รถลาก รกเจ็ก
picture from pinterest
.
ถ้าดีขึ้นมาอีกเจ้าขุนมูลนาย ก็ใช้รถม้า
picture from pinterest
จึงมีฝรั่งหัวก้าวหน้าชาวเดนมาร์ก สองคน มองเห็นลู่ทางการทำธุรกิจในพระนครแห่งนี้ จึงได้ขอทำการสัมปทานจากรัฐบาลและขอพระบรมราชานุญาติจาก
ในหลวงร.5 ขอสร้างรถรางขึ้น และได้เปิดให้บริการครั้งแรก 22 กันยายน พศ.2431 โดยเป็นชาติแรกในเอเชีย!!!
....
ในช่วงแรก ใช้ม้าพวง คือ ม้า4 ตัวในการเทียม ลากรถไปตามราง จึงเรียกรถราง...และมีม้าอะไหล่คือม้าสำรองอีกพวง ไว้สับเปลี่ยนระหว่างเส้นทาง เพื่อให้ม้าพวงแรกได้พักกินน้ำกินหญ้า...แต่ว่ากันว่า ใช้เวลานานมาก เพราะหยุดบ่อยบางครั้งขนาดหยุดพักทานข้าวกันเลยทีเดียว
....
โดยมีเส้นทางวิ่งระหว่างพระบรมมหาราชวัง บริเวณศาลเจ้าพ่อหลักเมืองไปตามถนนเจริญกรุง ปลายทางอยู่ที่อู่ฝรั่งหรือบางกอกด๊อก (Bangkok Dock) หรือบริษัทอู่กรุงเทพ ยานนาวาในปัจจุบัน และในปีต่อมาก็ได้ขยายเส้นทางไปถึงถนนตก
....
📌2 เชื่อหรือไม่ เรามีระบบรถรางที่ใช้กำลังไฟฟ้า โดยเปิดใช้ครั้งแรก พฤษภาคม พศ. 2437
เป็นชาติแรกของโลก!!...อ่านไม่ผิด ชาติแรก!!!
มีใช้ก่อนประเทศอังกฤษ ถึง 9 ปี***
(ถึงแม้ในปัจจุบันประเทศอังกฤษถูกจัดเป็นประเทศที่มีระบบการเดินรถรางที่เจริญก้าวหน้าที่สุดของโลกแห่งหนึ่งก็ตาม แต่ก็เพิ่งเริ่มมีงานรถรางเมื่อปี พ.ศ.2446)
1
หลังจากนั้น มีการขยับขยายเส้นทางของรถรางไปทั่วพระนครในสมัยนั้น เป็นระยะทางยาวรวมกว่า 45 km โดยมีทั้งหมด 7 สาย
....
😭เฮ้อ...แล้ว จากรถรางมาสู่รถเมล์ (สาย8) ในปัจจุบัน ได้อย่างไร?!
การมาของรถรางในช่วงแรกได้รับความนิยมมากแต่พอช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่1
การมาถึงของรถประจำทาง แท็กซี่ สามล้อ รถลาก เป็นที่นิยม เพราะสะดวกรวดเร็วทันใจ ไม่เสียเวลา สับเปลี่ยนราง ในทุกๆ 500 เมตร เพื่อสลับรางกัน...
.
ประชาชนเริ่มหันไปใช้บริการทางเลือกอื่นมากขึ้น ประกอบกับการนำเข้ารถยนต์จากต่างประเทศ จำนวนประชากรชาวกรุงที่มีมากขึ้นตามลำดับ
...
พอมาถึงช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่2
น้ำมันเป็นสิ่งที่หายาก ไฟฟ้าก็มีไม่เพียงพอ...อะไหล่ยางสำรองของยานพาหนะอื่นๆก็หายาก หาทดแทนกันไม่ค่อยได้
picture from pinterest
.
พาหนะที่ได้รับความนิยมในช่วงนั้น จึงเหลือเพียงรถลากเจ็ก รถราง อย่างไรก็ตาม มีความแออัดยัดเยียดของคนมากๆบนรถราง...นั่นคือจุดเริ่มต้นของอาชีพนักล้วงกระเป๋าในพระนครและมีอยู่ในเนื้อเพลง เพื่อสะท้อนสภาพสังคมหรือช่วงเวลาเดินทาง 🤣🤣
picture from pinterest
....
🏗หลังสงครามโลกครั้งที่2 เป็นต้นมา ประเทศเรา ก็เริ่มกลับเข้าสู่โหมดยุคสร้างชาติ สร้างเมือง มีการพัฒนาบ้านเมืองและมีแผนพัฒาเศรษฐกิจฯฉบับแรกเกิดขึ้นในสมัย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ (จอมพลผ้าขาวม้าแดง)
.
📌ภายใต้สโลแกนว่า "น้ำไหล ไฟสว่าง ทางดี"
🛣 "ทางดี" ในที่นี้คงจะหมายถึง "ถนนเพื่อรถยนต์" รถรางจึงถูกลดบทบาทลงไปเพราะเห็นว่าเกะกะถนน!!! สร้างความสับสนอลหม่านของการจราจร ระหว่างรถยนต์สมัยใหม่ รถราง ผู้คน สัญจร
picture from pinterest
พร้อมๆ กับการมาของ นโยบายที่จะให้
“เลิกเดินรถรางและรถสามล้อถีบ” ในเขต “พระนคร-ธนบุรี”
.
การเดินรถรางจึงค่อยๆ ลดบทบาทลง
โดยมีการเลิกเดินรถเด็ดขาดในเขตเมืองหลวงไป
เมื่อ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2511
รวมแล้วสยามประเทศ เรามี “รถราง”
ใช้อยู่สิริร่วม “80 ปี” พอดิบพอดี😊😊
👨✈️🚊คนขับรถรางคนสุดท้าย
คุณลุงชอบ วาดเขียน อายุ 80 ปี (พศ.2552) อดีตคนขับรถรางสายบางคอแหลมจนกระทั่งกิจการรถรางถูกเลิกไป เคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า
ในสมัยนั้นรถรางมีมากถึง 50 คัน สำหรับสายบางคอแหลมนั้นเป็นรถพ่วงสองคัน
โดยวิ่งตั้งแต่:
ศาลหลักเมือง ➡️ ข้ามสะพานช้างโรงสี➡️ ไปเสาชิงช้า ➡️ เข้าถนนเจริญกรุง➡️ ผ่านวัดเล่งเน่ยยี่➡️ สี่พระยา ➡️ไปรษณีย์กลางบางรัก➡️ สุสานวัดดอน➡️ ไปจนถึงท่าน้ำถนนตกเป็นที่สุดสาย
หากไม่ติดรถราที่วิ่งสัญจรหรือคน ก็จะใช้เวลาวิ่งตั้งแต่ต้นสายถึงปลายทาง ประมาณ 20 นาที
ส่วนราคารถรางนั้น แบ่งคลาสตั๋ว เป็น
2คลาส คือ...คลาสมีเบาะรองก้นกับไม่มีเบาะ...
ราคาไม่มีเบาะ 25 สตางค์ มีเบาะก็เพิ่มอีกเท่าตัวคือ 50 สตางค์
รูปจาก MGROnline พศ. 2552
🚫 ป้ายหยุดรถรางนี้เป็นป้ายสามเหลี่ยมเล็กๆสีแดง
มีดวงดาวตรงกลาง ป้ายนี้เป็นป้ายหยุดรถรางที่ยังเหลืออยู่เพียงแห่งเดียวในสถานที่จริง คืออยู่บนชายคาของตึกแถวริมถนนเยาวราช บริเวณหน้าเวิ้งนาครเขษม
รูปจาก MGROnline
...
โอเคร...มาเฉลยทำไมอยากรู้ ถึงขนาดต้องไปหาอ่าน ค้นข้อมูล เพราะวันก่อน มีสหายฝรั่งอังกฤษข้าชวนไปเดินย่าน เจริญกรุง...เขาถามมา...ร่องรอยรางเหล็กบนถนนที่พอสังเกตเห็นได้นี่นั่นคืออะไร...
...
ข้าได้แต่ อ้ำๆ อึ้งๆ รู้แต่ว่า นี่คือ รางรถราง ในสมัย ร.5...แค่นั้นจริงๆ😅
เออ น่าอายจัง อายุปูนนี้ ทำไมยังต้องร้องเพลง...
ช่างไม่รู้อะไรบ้างเลย🤣😅😁
📌 ขอฝากบทความนี้ ให้กับท่านน้าของข้า ผู้หลงรักรถราง 🥰🚊🚎🚋😘
#แม่เฒ่ากิมฮวย🌼🌼🌼
....
ปล. อ้าว ไม่ได้ลืม สาย8 Fast and Furious
เอาลิ้งค์มาฝากแล้วกันนะ...ข้าพาสหายฝรั่งไปขึ้นมาล่ะ...เขาบอกเหมือนนั่งรถไฟเหาะในสวนสนุก คือลุ้นดี...ชน ไม่ ชน...เจ็บ ไม่ เจ็บ ?!😂😂
Ref.
โฆษณา