22 พ.ค. 2020 เวลา 04:20 • ความคิดเห็น
🍗 เคยรู้กันไหม ? “ไก่ย่างเขาสวนกวาง” ไม่ใช่ “ไก่เนื้อ”
จริงๆ แล้วมันเป็นไก่อะไร แอดมินจะพาไปทำความรู้จักกันครับ
ไก่ย่างเขาสวนกวาง
.
• ถ้าเอ่ยถึงชื่อนี้ ใครที่อยู่ จ.ขอนแก่น คงจะรู้จักกันเป็นอย่างดี
• เพราะชื่อ "เขาสวนกวาง" เป็นชื่ออำเภอแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่นนั่นเอง
.
Credit: https://th.wikipedia.org/
.
• ดูจากคำขวัญประจำอำเภอ คงไม่ต้องสงสัยว่าไก่ย่างเขาสวนกวาง เป็นอาหารขึ้นชื่อมากแค่ไหน
• แต่ถ้าอยากกิน “ไก่ย่างเขาสวนกวาง” ต้องไปไกลถึงขอนแก่นเลยเชียวหรือ ?
• หากใครอยากไปสัมผัสรสชาติ และเช็คอินเก็บบรรยากาศจากแหล่งกำเนิดก็แนะนำที่ อ.เขาสวนกวางครับ
•แต่ใครที่ไม่ได้อยู่ใกล้ขอนแก่น ก็ไม่ต้องห่วงครับว่าจะหาชิมไม่ได้
• ลองสังเกตดี ๆ ตอนนี้ชื่อ "ไก่ย่างเขาสวนกวาง" ได้แพร่หลายออกไปหลายจังหวัดเกือบทั่วประเทศที่เราสามารถไปลองลิ้มชิมรสได้ไม่ยาก
.
Credit ภาพ: https://www.edtguide.com/
.
• หากใครได้เคยรับประทาน คงพอนึกภาพออกว่าเป็นอย่างไร
• เสน่ห์ของ “ไก่ย่างเขาสวนกวาง” คือเนื้อสัมผัสที่ไม่เหมือนไก่ย่างทั่วไป เนื่องจากมีความนุ่มและหนึบมากกว่า
• เนื้ออาจไม่ได้ยุ่ยหรือแข็งกระด้างแบบไก่เนื้อทั่วไป แต่ก็ไม่ได้เหนียวจนกัดขาดยากเท่ากับไก่บ้าน
.
• เพราะอะไรที่ทำให้เนื้อของ "ไก่ย่างเขาสวนกวาง" มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ?
• อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า "ไก่ย่างเขาสวนกวาง" ไม่ใช่ "สายพันธุ์ไก่เนื้อ"
• นั่นหมายความว่าวัตถุประสงค์ของที่นำมาใช่เลี้ยง ไม่ได้มีเป้าหมายหลักเพื่อเลี้ยงไว้กินเนื้อ
• แต่สายพันธุ์ที่ใช้เลี้ยง "ไก่ย่างเขาสวนกวาง" นั้นเป็น "สายพันธุ์ไก่ไข่"
• และนี่คือหน้าตาของไก่ย่างเขาสวนกวางที่อยู่ระหว่างการเลี้ยงครับ
.
ไก่ย่างเขาสวนกวาง
.
• บางคนคงคิดว่าไก่ไข่อะไรตัวสีขาว เพราะคุ้นชินแม่ไก่ที่ออกไข่ทั่วไปที่รู้จักคือขนสีน้ำตาล
• และรูปร่างทรวดทรงของไก่ย่างเขาสวนกวางก็ดูผอมเพรียวเหมือนนางแบบ
• แอดมินจะเฉลยให้ครับ
• นี่คือ "ไก่ไข่เพศผู้" นั่นเองครับ
• ซึ่งสายพันธุ์ไก่ไข่ ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเราเลี้ยงไว้เพื่อให้มันออกไข่ ซึ่งจะออกไข่ได้ก็ต้องเป็นไก่ไข่เพศเมียเท่านั้น
• ตามธรรมชาติเมื่อฟักไข่ออกมาแล้ว ย่อมต้องมีทั้งเพศเมียและเพศผู้
• เพศเมียก็นำไปเลี้ยงต่อไปจนโตพอที่จะสามารถให้ผลผลิตไข่ได้
• ส่วนเพศผู้ที่ออกไข่ไม่ได้ หากเลี้ยงต่อไปโดยไม่มีวัตุประสงค์ก็คงกินอาหารเราไปฟรีๆ
• "ไก่ไข่เพศผู้" จึงถูกนำมาเลี้ยงเพื่อเป็นไก่กินเนื้อแทน
• และเนื่องจากเป็นสายพันธุ์ที่ไม่ได้ให้เนื้อ จึงโตช้ากว่าไก่เนื้อทั่วไปมาก ทำให้เนื้อสัมผัสที่ออกมาแตกต่างจากไก่เนื้อซึ่งโตเร็วกว่า
• อายุเลี้ยงโดยทั่วๆ ไปจะอยู่ราวๆ 55-60 วันเป็นอย่างน้อย แล้วแต่ขนาดไซส์ที่ต้องการเพื่อตอบโจทย์ผู้ขายและผู้บริโภค
.
ไก่ย่างเขาสวนกวาง
.
• เอกลักษณ์อีกอย่างที่สามารถสังเกตได้ของ “ไก่ย่างเขาสวนกวาง” คือการเสียบไม้ และการย่างบนตะแกรงที่วางอยู่บนกะละมัง
• หลังจากย่างเสร็จเรียบร้อย จะได้ไก่ย่างสีสันสวยงามชวนรับประทาน
• จิ้มกับน้ำจิ้มรสเด็ดก็อร่อย จะแกล้มด้วยข้าวเหนียว ลาบ ส้มตำ น้ำตก ก็ฟินสุดๆ
• เชิญชวนคุณผู้อ่านทุกท่าน ไปหารับประทานกันนะครับ
.
🙏 ฝากกดติดตาม กดไลค์ กดแชร์ ร่วมแสดงความคิดเห็นเป็นกำลังใจให้ด้วยครับ
📌 เชิญติดตามบทความอื่นๆ ของเพจ Happy Life 😊ได้ที่
❤️สุขที่ได้เขียน
# Happy Life 😊
# 22 MAY 2020
โฆษณา