22 พ.ค. 2020 เวลา 05:05 • การศึกษา
พระสูตรเรื่อง : "ศีลอยู่เคียงคู่กับปัญญาเสมอ"
พราหมณ์ ! องค์สองประการนี้ จะยกเสียอีกประการหนึ่ง บัญญัติคนผู้ประกอบด้วยองค์เพียงประการเดียว ว่าเป็นพราหมณ์, และคนผู้ประกอบด้วยองค์เพียงประการเดียว เมื่อกล่าวว่า ตนเป็นพราหมณ์ ได้ชื่อว่า กล่าวชอบ ไม่ต้องกล่าวเท็จ, จะได้หรือไม่ ?
๑. ศีลไม่ขาด หมายถึง ไม่ล่วงสิกขาบทข้อต้นหรือข้อปลายข้อใดข้อหนึ่ง, ศีลไม่ทะลุ หมายถึง ไม่ล่วงสิกขาบทข้อกลาง ๆ, ศีลไม่ด่าง เพราะไม่ขาดเป็นหมู่ ๆ หมู่ละหลายสิกขาบทและหลายหมู่, ศีลไม่พร้อย เพราะไม่ขาดแห่งละสิกขาบทหลาย ๆ แห่ง, ศีลเป็นไท คือ ไม่เป็นทาสตัณหา ไม่รักษาศีลแบบการค้ามุ่งเอาเครื่องตอบแทน, ศีลที่ผู้รู้สรรเสริญ เป็นศีลที่ใช้ได้ เพราะผู้รู้ท่านใคร่ครวญเสียก่อนจึงสรรเสริญว่าดีว่าชอบ, ศีลที่ไม่ถูกลูบคลำด้วยตัณหาทิฏฐิ หมายถึงศีลที่ตัณหาไม่แตะต้อง ทิฏฐิ มานะไม่แตะต้อง คือไม่ถือศีลเพราะยากจนเป็นเหตุให้กระด้างกระเดื่อง หรือเป็นเครื่องยกตนข่มท่านไป เป็นต้น, และศีลที่เป็นไปพร้อมเพื่อสมาธินั้น เป็นศีลที่ผู้รักษาเอาใจใส่พิจารณาตรวจสอบอยู่เสมอ ดังท่านเปรียบว่าเหมือนโคแม่ลูกอ่อนใส่ใจดูลูกไม่ห่างตา แม้บดเอื้อง ตาก็คอยชำเลืองดูลูก, กิริยาที่พิจารณาศีล นับเข้าในสีลานุสสติกรรมฐาน และจิตของผู้มีศีลอย่างนี้ ใกล้สมาธิ และศีลเช่นนี้ เป็นฐานรองรับสมาธิได้ดีทีเดียว.
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! องค์สองประการนี้ จะยกเสียอีกประการหนึ่งหาได้ไม่ เพราะว่า ศีล ย่อมชำระปัญญาให้บริสุทธิ์ และปัญญาเล่าก็ชำระศีลให้บริสุทธิ์เหมือนกัน ; ศีลอยู่ที่ใด ปัญญาอยู่ที่นั้น, ปัญญาอยู่ที่ใด ศีลอยู่ที่นั้น ; ผู้มีศีลก็มีปัญญา, ผู้มีปัญญาก็มีศีล ; บัณฑิตทั้งหลายย่อมกล่าวถึงศีลและปัญญาว่า เป็นของเลิศในโลก. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! เปรียบเหมือนคนล้างมือด้วยมือ หรือล้างเท้าด้วยเท้า ฉันใด ; ศีลย่อมชำระปัญญาให้บริสุทธิ์ และปัญญาเล่าก็ชำระศีลให้บริสุทธิ์เหมือนกัน ; ศีลอยู่ที่ใด ปัญญาอยู่ที่นั้น ; ปัญญาอยู่ที่ใด ศีลอยู่ที่นั้น ; ผู้มีศีลก็มีปัญญา, ผู้มีปัญญาก็มีศีล ; บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมกล่าวถึงศีลและปัญญา ว่าเป็นของเลิศในโลก ฉันนั้นเหมือนกัน”.
พราหมณ์ ! ข้อนั้น เป็นอย่างนั้น ๆ แหละพราหมณ์. ศีล ย่อมชำระปัญญาให้บริสุทธิ์ และปัญญาเล่า ก็ชำระศีลให้บริสุทธิ์เหมือนกัน ; ศีล อยู่ที่ใด ปัญญาอยู่ที่นั้น ; ปัญญาอยู่ที่ใด ศีลอยู่ที่นั้น ; ผู้มีศีลก็มีปัญญา, ผู้มีปัญญาก็มีศีล ; บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมกล่าวถึงศีลและปัญญา ว่าเป็นของเลิศในโลก. พราหมณ์ ! เปรียบเหมือนคนล้างมือด้วยมือ หรือล้างเท้าด้วยเท้า ฉันใด ; ศีล ย่อมชำระปัญญาให้บริสุทธิ์ และปัญญาเล่าก็ชำระศีลให้บริสุทธิ์เหมือนกัน ; ศีลอยู่ที่ใด ปัญญาอยู่ที่นั้น ; ปัญญาอยู่ที่ใด ศีลอยู่ที่นั้น ; ผู้มีศีลก็มีปัญญา, ผู้มีปัญญาก็มีศีล ; บัณฑิตทั้งหลายย่อมกล่าวถึงศีลและปัญญา ว่าเป็นของเลิศในโลก ฉันนั้นเหมือนกัน.
1
๒. บาลี พระพุทธภาษิต โสณทัณฑสูตร สี. ที. ๙/๑๕๘/๑๙๓, ตรัสแก่โสณทัณฑพราหมณ์ ซึ่งทูลถึง เรื่องพวกพราหมณ์บัญญัติคนผู้ประกอบด้วยองค์ห้าว่าเป็นพราหมณ์โดยชอบ แต่อาจจะยกสามองค์แรกออกเสียได้ คงไว้แต่เพียงสององค์ คือเป็นผู้มีศีล มีศีลอันเจริญ ประกอบด้วยศีลอันเจริญ, และเป็นบัณฑิต มีปัญญา ; แต่ถูกพระพุทธองค์ทรงแสร้งท้วงดู ดังที่กล่าวแล้วข้างบน, ก่อนทรงรับรอง.
อ้างอิงจาก : ชุดจากพระโอษฐ์ ๕ เล่ม เล่มที่ ๑
ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์
หน้าที่ ๒๑๗ - ๒๑๘
พุทธวจน (ธรรมะจากพระโอษฐ์)
เว็บไซต์ข้อมูลเพิ่มเติม : http://watnapp.com
ศึกษาดูพระสูตรเพิ่มเติม : https://etipitaka.com/search/
ฟังเสียงธรรมะพระสูตรเพิ่มเติม : https://m.soundcloud.com/search?q=พุทธวจน

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา