22 พ.ค. 2020 เวลา 03:35 • การศึกษา
การสร้างตัวอักษรจีน 6 แบบ (六书)
2
ใครที่เรียนภาษาจีนก็จะรู้ดีว่าตัวอักษรจีนจำค่อนข้างยาก ต้องจำขีดและจำเป็นคำๆไป คำที่ไม่เคยเจอก็อาจจะไม่รู้ว่าอ่านว่าอะไร ไม่เหมือนกับภาษาไทยที่เราสามารถสะกดจากตัวอักษรได้เลย แต่ถ้าเรารู้และเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างตัวอักษรจีนแล้วละก็ เราก็จะรู้เทคนิคในการจำและสามารถจำได้เร็วขึ้น เพราะฉะนั้นเรามาดูการสร้างตัวอักษรจีน 6 แบบ หรือ(六书)กันเลย
1
เราคงจะได้ยินกันอยู่บ่อย ๆ ว่าภาษาจีนสร้างมาจากรูปภาพ ซึ่งนั่นก็คือการสร้างตัวอักษรจีนในแบบแรกที่เรียกว่า 象形 เป็นการสร้างจากรูปร่างจริงที่เห็น มองเห็นอะไรมีลักษณะแบบไหนก็วาดออกมาตามรูปแบบนั้นเลย แต่ถ้าอ้างอิงจากหนังสือ 《说文解字》จะพบว่าตัวอักษรแบบนี้ในภาษาจีนมีเพียงแค่ราว ๆ 364 ตัว จาก 9353 ตัวเท่านั้น คิดเป็น 3.89% จากตัวอักษรทั้งหมด ซึ่งถือว่าน้อยมาก ๆ
1
象形 อักษรลอกเรียนรูป
เนื่องจากการสร้างอักษรในแบบแรกสามารถใช้ได้แค่กับสิ่งทีเป็นรูปธรรมหรือที่จับต้องได้เท่านั้น เพื่อให้สื่อความหมายได้หลากหลายมากยิ่งขึ้นจึงมีการสร้างแบบที่สองขึ้นมาเรียกว่า 指事字 เป็นการสร้างโดยการกำหนดสัญลักษณ์ใหม่หรือเพิ่มสัญลักษณ์บางอย่างลงบนอักษรเดิมเช่น กำหนดเส้นแบ่งเส้นหนึ่งขึ้นมา จากนั้นเพิ่มขีดบนกลายเป็น 上 ที่แปลว่า บน เพิ่มขีดล่างกลายเป็น 下 ที่แปลว่า ล่าง ตัวอักษรในรูปแบบที่สองนี้มีอยู่ราว ๆ 125 ตัว คิดเป็น 1.34%
指事字 ตัวอักษรบ่งชี้ความหมาย
ส่วนแบบที่สามจะเรียกว่า 会意字 คือสร้างโดยการนำตัวอักษรตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปมารวมกันแล้วเกิดเป็นตัวอักษรใหม่ ซึ่งต่อยอดจากความหมายเดิม เช่น 木ต้นไม้หนึ่งต้น บวกกับ木 ต้นไม้อีกหนึ่งต้นก็กลายเป็น 林 ป่าไม้ หรือจะเป็น 林 ป่าไม้ บวกกับ 火 ไฟ กลายเป็น 焚 เผา ตัวอักษรประเภทนี้มีราว ๆ 1167 ตัว คิดเป็น 12.48%
会意字 ตัวอักษรผสานความหมาย
และแบบที่ 4 เป็นตัวอักษรที่มีเยอะที่สุดในภาษาจีน เพราะมีถึง 7697 ตัว คิดเป็น 82% จากตัวอักษรทั้งหมด นั้นก็คือ 形声字 ตัวอักษรที่ผสานรูปและเสียง ตัวอักษรประเภทนี้เกิดจากการนำส่วนประกอบ 2 ส่วนมารวมเข้าด้วยกัน ส่วนหนึ่งบอกเสียง อีกส่วนระบุความหมาย เสียงตัวอักษรใหม่เกิดจากการายืมเสียงเดิมและความหมายใหม่ก็เกิดจากการยืมความหมายเดิมของคำนั้นเช่น 河 แม่น้ำ ประกอบด้วย 氵ใช้แทนความหมายที่เกี่ยวกับน้ำ และ 可 ใช้แทนเสียง
偏旁ส่วนประกอบด้านข้าง
声旁ส่วนประกอบที่กำหนดเสียง
形旁ส่วนประกอบกำหนดความหมาย
ซึ่งถ้าเราสามารถจำ 偏旁部首 ได้ก็จะได้เปรียบมาก เพราะเท่ากับว่าเรารู้ภาษาจีนเกินกว่าครึ่ง
形声字 ตัวอักษรผสานรูปและเสียง
สองแบบสุดท้ายจะเป็นแค่การยืมตัวอักษรเดิมมาใช้ ไม่ได้สร้างขึ้นมาใหม่ แบบที่ 5 เรียกว่า 转注字 คือการนำเอาตัวอักษรที่มีความหมายหรือส่วนประกอบที่เหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมาสร้างเป็นอักษรใหม่ หรือจะพูดง่าย ๆ คืออักษรใหม่และอักษรเดิมมีส่วนประกอบเดียวกันแต่ต่างเสียงกัน เช่น 考 กับ 老ที่มีตัวประกอบเดียวกัน
转注字 ตัวอักษรอธิบายเสียงหรือขยายความ
แบบสุดท้ายแบบที่ 6 เรียกว่า 假借字 เป็นการยืมตัวอักษรที่มีอยู่แต่เดิมมาสร้างความหมายใหม่ เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนจึงมีการเพิ่มส่วนประกอบบางอย่างเข้าไป หรือมีการยืมมาใช้เลยโดยไม่เพิ่มส่วนประกอบใดๆทั้งสิ้น เช่น 会,行ที่อ่านได้สองแบบ และบางคำที่ยืมมาแล้ว ในปัจจุบันเหลือแค่ความหมายยืม
假借字 อักษรยืม
กว่าจะมาเป็นตัวอักษรจีนที่เราเห็นในปัจจุบันก็มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงมามากมาย และเพื่อให้เป็นหลักการเดียวกัน รวมถึงเพื่อให้มีความเป็นสากลมากยิ่งขึ้น ตัวอักษรจีนจึงถูกปรับให้มีลักษณะคล้ายสี่เหลี่ยม สำหรับวิวัฒนาการของตัวอักษรจีนเดี๋ยวจะมาเล่าต่อในภายหลัง
สรุปย่อ
1. 象形 อักษรที่สร้างจากรูปร่างจริงที่เห็น เช่น 日、月、人
2. 指事字 อักษรที่กำหนดสัญลักษณ์ใหม่หรือเพิ่มสัญลักษณ์บางอย่างลงบนอักษรเดิม เช่น 上、下、刃
3. 会意字 อักษรที่นำตัวอักษรตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปมารวมกัน เช่น 林、众、焚
4. 形声字 อักษรที่นำส่วนที่บอกเสียงและความหมายมารวมเข้าด้วยกัน เช่น 河、说、读
5. 转注字 อักษรที่มีองค์ประกอบเดียวกันมาสร้างเป็นอักษรใหม่ เช่น 考、老
6. 假借字 อักษรยืม เช่น 会 、行
Reference:
โฆษณา