24 พ.ค. 2020 เวลา 02:00 • การศึกษา
"หนังสือรับสภาพหนี้...?"
...ท่านผู้อ่านคงคุ้นเคยกับหนังสือรับสภาพหนี้ ในชีวิตประจำวัน การทำธุรกรรม การใช้จ่าย คงมีการเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับหนังสือรับสภาพหนี้ ไม่มากก็น้อย
เช่น กรณีผิดนัดชำระค่าบัตรเครดิต สถาบันการเงินบางแห่ง อาจมีกลยุทธในการให้ลูกค้า เซ็นรับสภาพหนี้ ซึ่งจะมีนัยในเรื่องอายุความของหนี้นั้นๆ ทำให้อายุความหยุดลง
ในความสัมพันธ์ด้านแรงงาน ก็สามารถนำมาใช้ได้เช่นกัน แต่หากแต่หนังสือนั้น อาจกลายเป็น "สัญญาอื่น" ก็ได้
...คดีหนึ่ง ลูกจ้าง ตำแหน่งบัญชีการเงิน ทำงานมานาน แอบยักยอกเงินของนายจ้าง 2 ครั้ง คือปี 2553 และ 2557 นายจ้างสืบสวนภายในทราบว่าลูกจ้างรายนี้แอบเอาเงินบริษัทไปใช้สอยส่วนตัว จึงเรียกคุยพร้อมนำสัญญาจ้างแรงงานของลูกจ้างรายนี้มาตรวจดู พบว่ามีผู้ค้ำประกันการทำงาน ลงชื่อผูกพันไว้ด้วย
...จากการสอบสวน
...ลูกจ้างจำนนต่อหลักฐาน อาจด้วยระบบบัญชีการเงินมีประสิทธิภาพ ตรวจสอบได้ง่าย หนีไม่พ้นจึงตกลงกับนายจ้างว่าจะขอใช้หนี้ที่ยักยอกไป โดยแลกกับการไม่แจ้งความดำเนินคดีอาญา ตกลงขอใช้หนี้รายปี จนกว่าจะครบถ้วน โดยนายจ้างให้เซ็นหนังสือรับสภาพหนี้ไว้
...พอถึงกำหนดรายปี ลูกจ้างหางานไม่พอใช้ นายจ้างไม่พอใจจึงฟ้องเป็นคดีแรงงาน เรียกให้ทั้งลูกจ้างและผู้ค้ำประกันรับผิดร่วมกัน
...ปรากฎว่าศาลพิพากษาว่า หนังสือรับสภาพหนี้ เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ เนื่องจากมีข้อกำหนดยอมผ่อนปรนซึ่งกันและกัน โดยมีเหตุผลเพื่อให้มูลหนี้เดิมระงับสิ้นไป(ยักยอกเงิน) ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850
เมื่อต่างฝ่ายต่างระงับมูลหนี้เดิมไปแล้ว ผู้ค้ำประกันตามสัญญาจ้างแรงงาน ย่อมหลุดพ้นความรับผิด กล่าวคือไม่ต้องรับผิดชอบร่วมกับลูกจ้างอีก...
"นายจ้างต้องไปฟ้องเรียกกับลูกจ้าง ตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นเอง"
นายจ้าง ต้องระมัดระวัง หากท่านพลาด โอกาสได้เงินยิ่งน้อยลงครับ
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ ที่ 997/2560
"...ผู้เขียนเขียนบทความนี้ ให้ความรู้แก่ผู้เกี่ยวข้องเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันการโดนเอาเปรียบจากสังคมแห่งแรงงาน..."
"...หากอยากให้กำลังใจผู้เขียน ช่วยกดติดตาม กดไลค์ หรือแชร์แก่ผู้อื่นเป็นวิทยาทาน ฯลฯ เพื่อจะได้สร้างสรรค์งานเขียนเช่นนี้ต่อไปครับ..."
โฆษณา