22 พ.ค. 2020 เวลา 14:13 • สุขภาพ
หลังเจาะเลือด "ทำไม" ห้ามพับแขนหลังเจาะเลือดเก็บตัวอย่าง และหลังบริจาคเลือด
***ย้ำว่าเฉพาะหลังการเจาะเก็บเลือดเพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ และหลังบริจาคเลือด เท่านั้น คนไข้บางกรณีก็ต้องทำการพับแขน เช่น เด็ก คนชรา บุคคลที่ไม่สามารถกดแขนด้วยตัวเองได้นาน เพื่อลดปัญหาเลือดไหลครับ***
แก้ไขภาพ "เกล็ดเลือด" ไม่ใช่ เกร็ดเลือดครับ
จากที่มีประเด็นเหมือนจะดราม่าว่าควรพับแขนหรือไม่พับ ทีแรกก็ไม่อยากเกาะกระแส แต่เนื่องจากมีความเข้าใจผิด และโทษกันไปมา จะทำให้เสียหาย วันนี้เลยทำภาพอธิบายมาฝากกันครัช
หมายเหตุ ภาพประกอบนี้เป็นภาพจำลองเหตุการณ์ ในสถานการณ์จริงจะแตกต่างจากนี้มากหรือน้อย ขึ้นกับความยืดหยุ่นของเส้นเลือดจริง (เพราะหลอดเลือดจริงๆจะไม่พับแล้วตีบครับ) ร่างกายผู้ถูกเจาะ การรับยาละลายลิ่มเลือด ตำแหน่งที่เจาะ และความสามารถของผู้เจาะ
หลักๆแล้วปัจจัยก็คือความดันในหลอดเลือดดำของเราซึ่งไหลกดไปตามจุดต่างๆของหลอดเลือด หากปล่อยแขนลง ความดันเลือดก็จะไหลไปตามปกติ แต่เมื่อไหร่ที่มีการพับแขน บริเวณเส้นเลือดที่ถูกพับจะมีแรงดันสูงขึ้น ทำให้แผลที่ถูกเจาะเลือดจะได้รับแรงดันสูงขึ้นไปด้วย และแน่นอน ว่ารูเปิด ย่อมทำให้ของเหลวอยากออก ก็จะทำให้มีเลือดมีโอกาสไหลออกจากปากแผลบริเวณนั้น และซึมเข้าสู่ผิวหนัง เกิดเป็นอาการ Hematoma ขึ้นได้
ถามว่า ทำไมหลายท่านเจาะเลือดแล้วไม่เกิด Hematoma ก็เพราะร่างกายเรามีเกล็ดเลือด ซึ่งจะเข้ามาปิดปาดแผลแทบจะทันทีที่เจ้าหน้าที่ปล่อยปากแผลนั้นเอาไว้ ทำให้แรงดันลดลง และเลือดแทบจะไม่ไหลซึมจากเส้นเลือดในที่สุด และแต่ละท่าน ปริมาณเกล็ดเลือดก็ไม่เท่ากันด้วย
แต่ทั้งนี้ อาการ Hematoma ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงเพราะการเจาะเลือดแล้วพับแขนเท่านั้น อาจเกิดจากอะไรก็ตามที่ทำให้เส้นเลือดบาดเจ็บได้ เช่น หกล้ม โดนตีตูด โรคบางโรคที่กระทบต่อความหนาบางของเส้นเลือด ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ การรับยาสลายเกล็ดเลือด ฯลฯ
ส่วนสาเหตุที่ทำไมยังมีการใช้การพับแขนอยู่ ก็เพราะว่าเป็นการสอนแบบบอกต่อๆกันมา เป็นเรื่องเล็กน้อยที่ไม่มีผลกระทบมากมายในผู้ป่วยบางราย เช่น เกล็ดเลือดต่ำ ช้ำง่าย ฯลฯ เป็นแนวทางปฏิบัติแบบเก่า แต่ในตำราใหม่ ย้อนกลับไปสัก 5 ปีก่อน ก็แนะนำว่าไม่ควรพับแขน
เพราะฉะนั้น ถ้าแนวทางปฏิบัติของ WHO ออกมาแบบนี้ (2015) ก็ปรับปรุงเพื่อประโยชน์ของคนไข้ครับ แต่ถ้าคนไข้ได้รับคำแนะนำมา ก็ไม่ต้องทำตามครับเพื่อประโยชน์ตัวท่านเอง
แต่หากกรณีที่ไม่สามารถหยุดเลือดที่ไหลเองได้ ก็ต้องทำการพับแขนเพื่อห้ามเลือดก่อนเป็นหลักครับ นอกจากนี้ยังใช้การแปะพลาสเตอร์ให้แน่น เพื่อป้องกันกรณีที่กล่าวมาแทนการกดด้วยมือด้วยครับ มีหลายที่แล้ว
อย่าโทษใครว่าแนะนำผิดพลาดครับ เพราะเรื่องพับแขนนี้เป็นความรู้เก่า มีการปรับใช้ในการทำงานจริงอย่างหลากหลาย ในตำราเองก็มีสอนกันมาหลายปีแล้ว แต่ว่าหลายที่ ทั้งบุคลากร และคนไข้เองก็ยังคงมีการเข้าใจผิดอยู่
โฆษณา