Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
หัตถบำบัดแผนโบราณ
•
ติดตาม
22 พ.ค. 2020 เวลา 23:18 • การศึกษา
การแบ่งร่างกายในหัตถบำบัดโบราณ
การแบ่งตำแหน่งร่างกายตามหัตถบำบัดโบราณ ในศาสตร์แผนโบราณ ท่านกำหนดส่วนต่างๆที่นาภี (สะดือ)เพราะถือเป็นเขาพระสุเมร แล้วย่อสมุฏฐานให้คงเหลือแต่เส้นที่พลังงานเข้าไปแทรกได้คือ เลือด แล ลม หรือก็คือกายวิภาคแบบฉบับไทยเรานั่นเอง การแบ่งร่างกาย ออกได้ ๔ แบบ ดังนี้
๑.โดยกำหนดทิศลมวิ่ง อันว่าลมทั้งสอง
- อุทธังคมาวาต แต่ปลายเท้าพัดขึ้นเบื้องบน
- อโธคมาวาต พัดลงไปจนปลายเท้าเป็นเบื้องต่ำ
แล้วแบ่งรางกายเป็น ๒ ส่วน
แต่สะดือขึ้นมาจนศีศะเรียกว่าเบื้องบน และจากสะดือลงไปเรียกเบื้องต่ำหรือเบื้องล่าง
๒.กำหนดด้านหน้า และด้านหลัง(แผนนวดวัดโพธิ์และแผนนวดร.๕)
แผนด้านหน้าเป็นหน้าที่ของระบบเลือด และน้ำเหลือง มีหลอดเลือดไปเลี้ยงทั่วกาย
แต่จับแกนกลาง แบ่งที่สะดือเช่นกัน เป็นอัษฏากาศบนววิ่งขึ้นศีรษะ และอัษฏากาศล่างวิ่งลงฝีเย็บเข้ามดลูก และอันฑะในชาย
ตามเส้นสิบด้านหน้า ในแผนนวดสมัยร.๕ จึงกล่าวว่า กายมีเส้น ๗๒๐๐๐ เส้นมีเส้นประธาน ๑๐ เส้นและมีลมประจำอยู่ลึกลงไป ๑๒ องคุลี คือเส้น อิทา ปิงคลา สุมนา กาลทารี สหัสรังสี ทวารี จันทภูสัง รุชำ สุขุมัง และ สิกขินี
แผนด้านหลังเป็นระบบลม
ลมในที่นี้หมายถึงลม ปราณ๕ ประเภท ลมจิตใจ(อัสวาต ปัสวาต นิสวาต) ลม๖ กอง
ในแผนนวดร.๕ กล่าวว่าลมจำพวกนึงเกิดแต่นาภีวิ่งขึ้นเบื้องบน(ศีรษะ) แล้วลงมาเบื้องต่ำ ๑๐ องคุลี มีเอน ๗๒๐๐๐ เส้น โดยมีเอ็น ๖ เส้นเป็นรากแก่เอ็นทั้งหลาย(อายตะ๖ ที่ไปเชื่อมเกิดเป็นเส้นสิบมีตา หู จมูก ลิ้น กาย) ต่อไปภายหน้าเมื่อป่วยจะมีชี่อลมอายตโงก) ซึ่งเกี่ยวกระหวัดอยู่ในนาภีนั้น
ส่วนกำหนดที่สะดือ วิ่งไปสู่เบื้องบนเรียกสุมรมันติ วิ่งไปเบื้องล่างเรียกกองตรีกูฏวาตา(ลม๓ กอง) มีเอ็นอีก ๑๐ เส้นเป็นประธาน ชี่อ อิทา ปิงคลา สุมนา ฆานทารี หัศฤดี(รื่นเริงยินดี) กงจักร กุขุง สรวนี(หัวเราะร่าเริง) ทวาธารี(ทวารที่ทรงไว้) สักคิณี ส่วนนี้มีเรื่องของ ความรู้สึกของจิตใจเข้ามาแทรกด้วย ถ้ามากไปจะเข้าไปเกี่ยวเอาลมที่จิตใจเกิดอึดอัด อัดอั้น ร้องไห้ หัวเราะ(อัสวาต ปัสวาต นิสวาต)
๓.กำหนดด้านขวา และด้านซ้าย(แผนนวดทั้ง ๒ ฉบับ)
เหตุจมาจาก การกระตุ้นของ สิ่งแวดล้อมภายนอก มีลมภายนอก ลมเพลมพัด อิทธิพลของ สูรย์ก็ได้ ฝั่งขวา ลมสูรย์ ฝั่งซ้ายลมจันทร์
..ตัวอย่างต่อไปจะเป็นเหตุกระทบกับลมประจำวันจากลมสูรย์กระตุ้น และการปฏิบัติตัวต้องร้อนต้องเย็น ตัวอย่าง.เช่นวันพุธ อาบน้ำเย็นค่ำมากไป กลายเป็นลมสัมปะสาโส จับเส้นจันทภูสัง(หู) ให้วิงเวียน
ในส่วนลมจันทร์ด้านซ้าย เหตุมักมาจากกินน้ำมะพร้าว อันหวานมันในวันอังคาร หรือมีกามสังโยค ลมจะจับให้หูตึง
๔. กำหนดหน้าที่เฉพาะเจาะจงลงไป เช่น อาการ ๓๒ ชึ่งจะมีลมเรียกตามอวัยวะนั้นๆ และทำหน้าที่ของตัวเอง และคอยรับคำสั่งจาก ตรีธาตุก็ได้
สรุปคือ
การป่วยก็เข้าไปเกี่ยวข้องจาก จิตสั่งกาย และกายเองทำตัวเอง อีกส่วนคือธรรมชาติเป็นเหตุกระทบร้อน - เย็น มากไปอาจถึงตายได้ เช่นไข้เจือลมเสมหะ หรือตอนนี้ก็ โควิด ๑๙ นั้นเอง
เครดิตภาพ ทางอินเตอร์เนต PhysioOsteoBook
6 บันทึก
10
14
6
10
14
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย