23 พ.ค. 2020 เวลา 14:57 • กีฬา
เรามารู้จักเรือพาย หรือเรือยาวประเพณีกันเถอะ
เรือยาวประเพณี หรือการประเพณีแข่งเรือยาว เกิดขึ้นจากชาวบ้านที่ว่างเว้นจากการทำไร่ทำนา และจะอาศัยอยู่ใกล้แม่น้ำ ในช่วงเดือนสิบเอ็ดและเดือนสิบสอง เป็นการละเล่นในยามน้ำหลากที่สืบทอดมาแต่โบราณ ส่วนใหญ่การแข่งขันเรือยาวประเพณีนั้นจะจัดขึ้นควบคู่งานบุญต่างๆ เพื่อสร้างความสนุกสนาน บรรยากาศของความสนุนสนาน และในปัจจุบันนี้การแข่งขันเรือยาวประเพณีนั้นได้กระจายไปหลายพื้นที่ในประเทศไทย การแข่งขันในพื้นที่ต่างๆ จะมีความแตกต่างกันไป
- เรือหัวพญานาค จะมีการแข่งขันที่จังหวัดน่าน เป็นเอกลักษณ์การแข่งขันเรือยาวเมืองน่าน ประเภทการแข่งขันจะมีหลายประเภท เช่น เรือยาว 30 ฝีพาย 40 ฝีพาย 55 ฝีพาย คนน่าน เป็น “ชุมชนคนต้นน้ำ” ทำให้คนเมืองมีความผูกพันธ์กับสายน้ำน่าน และได้จัดการแข่งขันเรือยาวขึ้นเพื่อเชื่อมความสามัคคีระหว่างหมู่บ้านเป็นประจำทุกปี การแข่งขันเรือยาวประเพณีของเมืองน่านตัวเรือจะมีสีสันที่สวยงาม หัวเรือแกะสลักเป็นรูปหัวพญานาค
เรือหัวพญานาค
- ขึ้นโขนชิงธง จะมีการแข่งขันในโซนภาคใต้ การแข่งขันเรือยาวขึ้นโขนชิงธงนั้นเป็นการที่แข่งโดยใช้ความเร็ว และความสามัคคีกันในทีม โดยที่ฝีพายตำแหน่งแรก หรือนายหัวเรือ จะต้องเป็นผู้ที่ต้องขึ้นแย่งธงมาให้ได้ ทีมไหนดึงธงได้ก่อนจะเป็นฝ่ายชนะ แต่ถ้าดึงธงได้ก่อนแต่นายหัวตกน้ำฝ่ายที่ได้ธงจะถูกปรับเป็นฝ่ายแพ้ทันที การแข่งขันขึ้นโขนชิงธงจึงเป็นเอกลักษณ์ในการแข่งขันเรือยาวประเพณีของภาคใต้ และการแข่งขันส่วนใหญ่จะจัดในช่วงออพรรษา
ขึ้นโขนชิงธง
- การแข่งขันเรือยาวประเพณีด้วยความเร็ว เป็นการแข่งขันที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ส่วนใหญ่จะเป็นการแข่งขันในโซนภาคกลางของประเทศไทย ที่มีการแข่งขันที่ใช้ความเร็ว และความสามัคคีของคนในทีม การแข่งขันประเภทนี้เป็นการแข่งขันที่ทีมไหนเข้าเส้นชัยก่อนจะเป็นฝ่ายชนะ การแข่งขันจะเป็น 30 ฝีพาย 40 ฝีพาย และ 55 ฝีพาย
การแข่งขันแต่ละเที่ยว จะแข่งขันทีละ 2 ลำ ผลการแพ้ชนะ คือ 2 ใน 3 เชื่อว่ายังมีหลายๆคนที่ยังไม่เคยได้ชมการแข่งขันเรือยาวประเพณีของประเทศไทย และมีหลายๆคน ที่ไม่รู้จักการแข่งขันเรือยาวประเพณี การแข่งขันเรือยาวประเพณีที่ได้กล่าวมานั้น มีการแข่งขันในทุกๆปี
🙏🏼 ขอขอบคุณทุกท่านที่ติดตามด้วยครับ 🙏🏼
🌱ANU~STORY 23 พ.ค. 63 🌱
โฆษณา