23 พ.ค. 2020 เวลา 19:53
สาเหตุที่ทำให้ขุนนางตระกูลบุนนาค สนับสนุน "พระวชิรญาณภิกขุ (เจ้าฟ้ามงกุฎ)" ขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ภายหลังการเสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2367 และทรงมิยังแต่งตั้งเจ้านายพระองค์ใดเป็นรัชทายาท สืบราชสมบัติ
บรรดาเหล่าพระบรมวงศานุวงศ์ และขุนนางเป็นจำนวนมาก ได้สนับสนุนให้ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (พระองค์เจ้าชายทับ) พระราชโอรสองค์โต ของรัชกาลที่ 2 ที่ประสูติจากเจ้าจอมมารดาเรียม ให้สืบราชสมบัติ อย่างไรก็ตามลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ามงกุฎ คือองค์รัชทายาทที่แท้จริง โดยเป็นพระราชโอรสจากสมเด็จพระอัครมเหสี ในรัชกาลที่ 2
แต่ด้วยกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ มีความพร้อมด้านอื่นๆ ที่มากกว่าอย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็นวัยวุฒิ คุณวุฒิ ความรู้ความสามารถในการบริหารราชการ และการเป็นที่สนิทสนมกับพระบรมวงศานุวงศ์และกลุ่มขุนนาง จึงทำให้ทรงได้รับการทูลเชิญให้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 3
3
พระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3
ขุนนางตระกูลบุนนาค คือกลุ่มขุนนางที่มีอำนาจบารมี เป็นกำลังสำคัญในการดำเนินการ ที่ได้สนับสนุนกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ได้รับราชสมบัติ ที่นำโดย เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค) และพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา (ทัต บุนนาค) ที่มีความสนิทชิดเชื้อ กับกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ในการรับราชการแผ่นดินด้วยกันมาก่อน อันนำมาสู่การสะสมความมั่งคั่ง กำลังคน และโภคทรัพย์อื่นๆ ได้อย่างมากมาย
4
พอถึงปลายรัชกาล 3 ขุนนางตระกูลนี้จึงได้ก้าวขึ้นมามีอำนาจเป็นอันดับหนึ่งในแผ่นดินได้อย่างโดดเด่นกว่า พระบรมวงศานุวงศ์ และขุนนางจากตระกูลอื่นๆ อย่างเห็นได้ชัด ภาระที่สำคัญประการหนึ่งที่ขุนนางตระกูลบุนนาค จะต้องได้รับดำเนินการ ก็คือการเลือกสรรผู้ที่จะรับสืบราชสมบัติต่อไป
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) (ซ้าย) และสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค) (ขวา)
พระบรมวงศานุวงศ์ที่อยู่ในข่ายได้รับราชสมบัติได้ในเวลานั้น ก็มิได้มีอยู่แต่ พระวชิรญาณภิกขุ (เจ้าฟ้ามงกุฎ) เพียงพระองค์เดียว หากแต่กลับมีพระบรมวงศานุวงศ์อื่นๆ อีก 3 พระองค์ ที่อยู่ในฐานะซึ่งขุนนางตระกูลบุนนาค สามารถเลือกสนับสนุนให้ขึ้นครองราชย์ได้อีกหลายพระองค์ด้วยกัน
6
แต่เมื่อพิจารณาจากการกระทำหลายประการของรัชกาลที่ 3 ก่อนที่จะเสด็จสวรรคต และยังไม่ได้มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งใครเป็นองค์รัชทายาท หรือเป็นวังหน้า หลังการสววรคตของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ โดยแท้จริงแล้วรัชกาลที่ 3 มีพระราชประสงค์อย่างชัดเจนที่จะมอบราชสมบัติให้แก่ "พระองค์เจ้าอรรณพ" ซึ่งเป็นพระราชโอรสของพระองค์ แต่ก็ได้รับการปฏิเสธจากขุนนางตระกูลบุนนาค
2
สาเหตุที่ขุนนางตระกูลบุนนาค ไม่เลือกที่จะสนับสนุนให้ พระองค์เจ้าอรรณพ และพระบรมวงศานุวงศ์อีก 3 พระองค์ ที่อยู่ในข่ายให้ได้รับสืบราชสมบัตินั้น วิเคราะห์ได้ดังนี้
- "พระองค์เจ้าอรรณพ" น่าจะเป็นด้วยเหตุที่ขุนนางตระกูลบุนนาค มิได้รู้จักคุ้นเคยกับพระองค์สักเท่าไร ดังจะเห็นได้จากการที่ขุนนางคนสำคัญๆ ของตระกูลบุนนาค ต่างก็รับราชการอยู่คนละกรมกับพระองค์เจ้าอรรณพทั้งสิ้น ฉะนั้นจึงไม่น่าที่จะมีเหตุให้ได้ใกล้ชิดสนิทสนมกันพอที่จะอุปถัมภ์ค้ำชู จึงอาจเสี่ยงต่อการควบคุมได้ยาก ตลอดจนอาจนำมาซึ่งการกระทบกระเทือนต่ออำนาจ และผลประโยชน์ของขุนนางตระกูลบุนนาคในภายหลังได้
3
- "กรมขุนเดชอดิศร และ กรมขุนพิพิธภูเบนทร์" ทั้ง 2 พระองค์เป็นเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 โดยทั้ง 2 พระองค์นี้ ต่างก็เป็นที่รู้จักและนิยมในหมู่เจ้านาย และขุนนาง อยู่พอสมควร ดังนั้นหากพระองค์ใดพระองค์หนึ่งได้รับการสนับสนุน ก็อาจจะเสี่ยงต่อการควบคุมได้ยากเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะในส่วนของ กรมขุนพิพิธภูเบนทร์ ปรากฏว่าได้เคยมีเหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นถึงความมักใหญ่ใฝ่สูงมาแล้วหลายคราวด้วยกัน
7
- "สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์" (พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ) ด้วยความที่พระองค์ทรงมีความรู้ความสามารถในวิชาการทหาร และวิทยาการแบบตะวันตก จนเป็นที่ประจักษ์แก่บรรดาเจ้านาย และเหล่าขุนนาง อันจะเห็นได้จากการได้รับมอบภารกิจจากรัชกาลที่ 3 ให้ทรงงานที่สำคัญๆ และทรงเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ ที่ทรงเป็นฆราวาส เพียงพระองค์เดียวที่อยู่ในชั้น “เจ้าฟ้าชั้นเอก (เจ้านายหมู่สืบราชสันติวงศ์)” หากพระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชย์จริง ย่อมจะส่งผลกระทบต่ออำนาจบารมี และผลประโยชน์ของขุนนางตระกูลบุนนาค มากเสียยิ่งกว่าพระบรมวงศานุวงศ์ ก่อนหน้านี้ ทั้ง 3 พระองค์
6
"สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์" (พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ)
"พระวชิรญาณภิกขุ (เจ้าฟ้ามงกุฎ)" จึงได้กลายมาเป็นตัวเลือกเพียงหนึ่งเดียวที่ขุนนางตระกูลบุนนาคเลือกที่จะสนับสนุนให้ได้รับราชสมบัติ
3
สืบเนื่องจากการที่พระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ขณะยังเป็นจมื่นไวยวรนาถ และจมื่นราชามาตย์ (ขำ บุนนาค) ได้ดำเนินการติดต่อ และสร้างความสนิทสนมกับวชิรญาณภิกขุมาก่อนหน้านั้น เป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว ซึ่งเชื่อได้ว่าน่าจะมีการเตรียมการเกี่ยวกับติดต่อ ทาบทามให้ พระวชิรญาณภิกขุ เตรียมเสด็จขึ้นครองราชย์สืบต่อจากรัชกาลที่ 3 ก็แต่คราวนั้น
เหตุผลสำคัญที่เป็นสาเหตุให้ขุนนางตระกูลบุนนาคเลือกที่จะสนับสนุนเจ้าฟ้ามงกุฎให้ได้เสด็จขึ้นครองราชย์นั้น วิเคราะห์ได้ว่าคงจะมาจากปัจจัย 3 ประการด้วยกัน คือ
3
- "ประการแรก" เป็นเพราะว่าเจ้าฟ้ามงกุฎ ทรงผนวชเป็นพระมานาน จึงไม่ทรงมีไพร่พลที่จะเป็นฐานอำนาจให้แก่พระองค์เหมือนกับพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์อื่นๆ ทำให้โอกาสที่จะลิดรอนอำนาจทางการเมืองของขุนนางตระกูลบุนนาคจึงเกิดขึ้นได้ยาก
5
- "ประการที่สอง" เจ้าฟ้ามงกุฎ ทรงมีความรอบรู้ในเรื่องศิลปวิทยาการตะวันตก การเมืองระหว่างประเทศ และสถานการณ์ของสยามในขณะนั้น ดีพอที่จะเป็นองค์ประมุขของประเทศได้อย่างเหมาะสม กับกาลเวลาที่กำลังปรับเปลี่ยน สอดคล้องกับแนวทางที่ขุนนางหัวสมัยใหม่ของตระกูลบุนนาค เช่น พระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) และจมื่นราชามาตย์ (ขำ บุนนาค) ต้องการให้เป็นอีกด้วย และความไม่เชี่ยวชาญในเรื่องการทหารสมัยใหม่ของเจ้าฟ้ามงกุฎ ก็จะยิ่งทำให้ขุนนางตระกูลบุนนาค สามารถควบคุมกิจการด้านการทหารไว้ในกำมือได้ง่ายยิ่งขึ้น
6
- "ประการสุดท้าย" ฐานะของเจ้าฟ้ามงกุฎที่ทรงมีสิทธิในราชสมบัติตามกฎมณเฑียรบาลแต่เดิมเข้าด้วยแล้ว จึงเป็นสาเหตุรวมกันที่เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับการที่ขุนนางตระกูลบุนนาคจะเลือกสนับสนุนเจ้าฟ้ามงกุฎ เพื่อที่จะได้เป็นการสะดวกต่อการควบคุม มิให้มาเกี่ยวข้องหรือลิดรอนอำนาจทางการเมือง ผลประโยชน์ และความมั่งคั่งของตระกูลตนได้ อันนับได้ว่าเป็นเหตุผลทางการเมืองโดยแท้เลยทีเดียว
7
ภายหลังจากการเสด็จขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แล้ว สิ่งหนึ่งที่เป็นการยืนยันให้เห็นว่าการตัดสินใจของขุนนางตระกูลบุนนาค ได้ก้าวขึ้นมามีอำนาจและบทบาทในการบริหารราชการแผ่นดินมากขึ้นกว่าเดิม ดังจะเห็นได้จากการที่ขุนนางจากตระกูลนี้ได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น เป็นจำนวนหลายคนด้วยกัน คือ
- ได้รับการเลื่อนขึ้นเป็นระดับ "สมเด็จเจ้าพระยา" จำนวน 2 ท่าน
- ได้รับการเลื่อนขึ้นเป็นระดับ "เจ้าพระยา" จำนวน 2 ท่าน
- ได้รับการเลื่อนขึ้นเป็นระดับ "พระยา" จำนวน 3 ท่าน
- ได้รับการเลื่อนขึ้นเป็นระดับ "จมื่น" จำนวน 1 ท่าน
3
ขุนนางจากตระกูลนี้ ได้ก้าวขึ้นมากุมอำนาจในกรมสำคัญๆ ไว้เกือบทั้งหมด อันได้แก่ กรมพระกลาโหม กรมพระคลัง กรมพระคลังสินค้า กรมท่า และกรมมหาดเล็ก ทำให้อำนาจในการบริหารบ้านเมืองทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการทหาร ได้ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของขุนนางตระกูลบุนนาค อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเอาเลยทีเดียว
1
การเป็นตัวแทนของพระเจ้าแผ่นดิน ในการทำสนธิสัญญาเบาริ่ง และสนธิสัญญากับประเทศตะวันตกอื่นๆ การเจรจากับฝรั่งเศสเกี่ยวกับข้อพิพาทเรื่องดินแดนเขตพระตะบองและปัตตาเวีย และการสร้างเมืองเพชรบุรี ราชบุรี เพื่อเป็นฐานที่มั่นทางยุทธศาสตร์ของตระกูลบุนนาค
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) หนึ่งในผู้สำเร็จราชการฝ่ายสยาม ในการทำสนธิสัญญาเบาริ่ง
เพราะฉะนั้นจึงทำให้ขุนนางตระกูลบุนนาคสามารถควบคุม ต่อรองและประสานผลประโยชน์กับพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใหม่ ที่กลุ่มตระกูลตนเป็นผู้สนับสนุนขึ้นมาได้ง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้ขุนนางตระกูลบุนนาค สามารถรักษาและสร้างสมอำนาจบารมี และความมั่งคั่งของตระกูลตน ให้มีอย่างต่อเนื่องและรุ่งเรืองยิ่งขึ้นต่อไป
5
อีกทั้งลูกสาวคนหนึ่งของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค)ชื่อคุณสำลี ได้ถวายตัวรับราชการเป็นเจ้าจอม พระสนมในรัชกาลที่ 4 มีพระราชธิดาคือพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี ต่อมาได้เป็นพระอัครราชเทวีของรัชกาลที่ 5 มีพระราชโอรส สมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ต้นราชสกุลบริพัตร ราชสกุลนี้ มีสายสัมพันธ์กับสกุลบุนนาคอีกด้วย
1
สมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ต้นราชสกุลบริพัตร ที่มีเชื้อสายจากตระกูลบุนนาค
โฆษณา