25 พ.ค. 2020 เวลา 04:39 • การศึกษา
ความบกพร่องของคนเก่ง : พระราชดำรัสของในหลวงรัชกาลที่ ๙
ข้อหนึ่ง บกพร่องในความคิดพิจารณาที่รอบคอบและกว้างไกล เพราะใจร้อนเร่งจะทำการให้เสร็จโดยเร็ว เป็นเหตุให้การงานผิดพลาด ขัดข้องและล้มเหลว
ข้อสอง บกพร่องในความนับถือและเกรงใจผู้อื่น เพราะถือว่าตนเป็นเลิศ เป็นเหตุให้เย่อหยิ่ง มองข้ามความสำคัญของบุคคลอื่น และมักก่อความขัดแย้งทำลายไมตรีจิตมิตรภาพตลอดจนความสามัคคีระหว่างกัน
ข้อสาม บกพร่องในความมัธยัสถ์พอเหมาะพอดีในการกระทำทั้งปวง เพราะมุ่งหน้าแต่จะทำให้ตัวเด่น ให้ก้าวหน้า เป็นเหตุให้เห็นแก่ตัวเอารัดเอาเปรียบ
ข้อสี่ บกพร่องในจริยธรรมและความรู้จักผิดชอบชั่วดี เพราะมุ่งแต่จะแสวงหาประโยชน์เฉพาะตัวให้เพิ่มพูนขึ้น เป็นเหตุให้ทำความผิดและความชั่วทุจริตได้โดยไม่รู้สึกสะดุ้งสะเทือน
“… ดังนั้น นอกจากจะสอนคนให้เก่งแล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะอบรมให้ดีพร้อมไปด้วย ประเทศเราจึงจะได้คุณที่มีคุณภาพพร้อม คือ ทั้งเก่ง ทั้งดี มาเป็นกำลังของบ้านเมือง ให้ความเก่งเป็นปัจจัยเพื่อประคับประคองหนุนสำหรับการสร้างสรรค์ และให้เป็นความดีเป็นปัจจัยเพื่อประคับประคองหนุนนำความเก่ง ให้เป็นไปในทางที่ถูกต้อง ที่อำนวยผล เป็นประโยชน์อันพึงประสงค์แต่ฝ่ายเดียว…”
ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้
โฆษณา