25 พ.ค. 2020 เวลา 06:12
โลกเขย่าขวัญเมื่อสุสานขยะกัมมันตรังสีในหมู่เกาะมาร์แชลล์กำลังรั่วไหล!!!
ในวันที่ 21 พ.ค. ปี 1956 โลกได้ประจักษ์ถึงอานุภาพของอาวุธทำลายล้างสูงอย่าง "ระเบิดไฮโดรเจน" ในหมู่เกาะอันห่างไกล สถานที่ทดสอบอาวุธใหม่ถูกวางไว้ ณ เกาะปะการังบีกินี (Bikini Atoll) ของหมู่เกาะมาร์แชลในมหาสมุทรแปซิฟิก ในช่วงทศวรรษที่ 50-70 กองทัพสหรัฐฯได้ทดสอบอาวุธนิวเคลียร์หลายลูก จนหมู่เกาะปะการังเหล่านี้ถูกลบหายออกไปจากแผนที่โลกหลายเกาะ และมันได้สร้างกากกัมมันตรังสีมหาศาล
ทางกองทัพได้เริ่มปฏิบัติการไอวี่ (Operation Ivy) เพื่อเก็บกวาดหน้าดินที่เปลี่ยนกัมมันตรังสีจากการทดลองบนเกาะกว่า 73,000 คิวบิกเมตร แต่ดูเหมือนว่าพวกเขาจะประเมินความเสี่ยงจากการรั่วไหลของกัมมันตรังสีต่ำไปแม้จะเก็บกวาดดินปนเปื้อนไปแล้วแต่พื้นที่ส่วนใหญ่ของเกาะบิกีนีก็ปนเปื้อนเกินกว่าที่มนุษย์จะอยู่อาศัยได้ในบางพื้นที่เสียแล้ว นับเป็นหายนะภัยทางสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงและสร้างผลกระทบยาวนานมาจนถึงปัจจุบัน
กากกัมมันตรังสีที่เกิดจากการทดลองอาวุธนิวเคลียส์ที่เกาะบิกินี (Bikini)หมู่เกาะมาร์แชลล์ถูกขนไปเก็บไว้ในโดมคอนกรีตที่เกาะปะการังเอนีวีทอก (Enewetak Atoll) ในบริเวณที่ชื่อว่า "โดมรูนิต (Runit Dome)" ที่กำลังตรวจพบการรั่วไหลของกัมมันตภาพรังสีอย่างต่อเนื่อง อ้างอิงจาก https://www.businessinsider.com/marshall-islands-nuclear-dome-radioactive-waste-11?fbclid=IwAR3yYwg-eNn8xftTMq1DFLNo4ifAeyprzf5BeNAjPNrHeNYwFzpI-9Joghc
แต่ดูเหมือนว่ากากขยะที่ตกค้างอยู่ยังไม่ถูกจัดการอย่างเหมาะสม เพื่อจัดการกับกากขยะกัมมันตรังสีที่เหลืออยู่กองทัพสหรัฐฯ ได้ระดมกำลังพลกว่า 8,033 นายจากสามเหล่าทัพ ในช่วงปี ค.ศ.1977 ถึง 1980 ณ หมู่เกาะปะการังเอนีวีทอก (Enewetak Atoll) ของหมู่เกาะมาร์แชลในมหาสมุทรแปซิฟิก เพื่อจัดการกับกากขยะกัมมันตรังสีปริมาณมหาศาลจากการทดลอง
กองทัพสหรัฐฯเลือกที่จะสร้างสุสานเก็บขยะพิษเหล่านี้บนเกาะรูนิต (Runit Island) ซึ่งเป็นหนึ่งใน 40 เกาะของหมู่เกาะปะการังเอนีวีทอก ด้วยการสร้างโดมคอนกรีตที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางกว่า 100 เมตรบนเกาะ โดยพวกเขาตั้งชื่อมันว่า"โดมรูนิต (Runit Dome)" เพื่อกักเก็บขยะกัมมันตรังสีปริมาณกว่า 3.1 ล้านคิวบิกเมตร หรือราวๆ 30 สระว่ายน้ำมาตรฐานโอลิมปิก
แต่สิ่งที่พวกเขาไม่ตระหนักคือทหารทั้งหมดที่ถูกส่งไปทำงานนี้ในปี ค.ศ.2015 มีทหารเพียง 239 นาย จาก 8,033 คนเท่านั้นที่รอดชีวิตส่วนที่เหลือก็เจ็บป่วยและตายจากโรคมะเร็งซึ่งเกิดจากการรับกัมมันตรังสีเป็นเวลานานขณะถูกส่งไปเก็กกวาดกากขยะที่เกาะรูนิต ในระหว่างปี ค.ศ.1977 ถึง 1980
สภาพโดมรูนิตในปัจจุบันซึ่งกำลังแตกหักอย่างช้าๆจากคลื่นซัดและระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ทำให้กัมมันรังสีเข้มข้นไหลออกมาปนเปื้อนสิ่งแวดล้อมมากขึ้นทุกที เครดิตรูปภาพจาก The Asahi Shimbun/Getty Images
ดูเหมือนเรื่องจะไม่จบลงแค่นั้นเพราะในปี ค.ศ.2010 เริ่มมีการตรวจพบสารกัมมันตรังสีความเข้มข้นสูงรั่วไหลออกมารอบๆโดมรูนิต โดยเฉพาะไอโซโทปของพลูโตเนียมและซีเซียมที่แทรกซึมเข้าไปอยู่ในเนื้อเยื่อของหอยมือเสือและสิ่งมีชีวิตรอบๆหมู่เกาะปะการังเอนีวีทอก จนอยู่ในระดับที่ไม่ปลอดภัยต่อการบริโภคอีกต่อไป ซึ่งนักวิจัยคาดว่าน่าจะรั่วไหลออกจากโดมคอนกรีตที่เกิดการกัดเซาะด้วยน้ำทะเลจนเป็นเหตุให้กัมมันรังสีรั่วออกมา
หมู่เกาะมาร์แชลนั้นอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลเพียง 6 เมตรแต่สำหรับเกาะปะการังเอนีวีทอกอาจจะต่ำกว่านั้นมาก นี้เป็นความเสี่ยงที่เลี่ยงไม่ได้เพราะตั้งแต่ปี ค.ศ. 1993 พบว่าระดับน้ำทะเลรอบๆเกาะปะการังสูงขึ้นเฉลี่ยกว่า 7 มิลลิเมตรต่อปี ปัญหานี้ดูเหมือจจะถูกเร่งด้วยภาวะโลกร้อนที่ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
จากแบบจำลองของนักวิจัยพบว่าภายในปี ค.ศ. 2030 ระดับน้ำทะเลในหมู่เกาะมาร์แชลล์จะสูงขึ้นถึง 3 ถึง 16 เซนติเมตร และทำให้เกิดปรากฏการณ์สตอร์ม เสิร์จ ทำให้น้ำท่วมขังชายฝั่งรอบๆเกาะ และภายในปี ค.ศ. 2100 โดมรูนิตจะจมอยู่ภายใต้น้ำทะเลอย่างสมบูรณ์ แน่นอนว่ามันจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการรั่วไหลของกัมมันตรังสีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ทางด้านผู้เชี่ยวชาญด้านระบบนิเวศน์อย่าง Michael Gerrard ประธานสถาบัน Earth Institute ของมหาวิทยาลัยโคลัมเบียในนิวยอร์ก ก็ออกมาเผยว่านี้เป็นครั้งแรงที่ปัญหาร้ายแรงสองอย่างมาบรรจบกันคือภาวะโลกร้อนและการทดสอบอาวุธนิวเคลียส์ แน่นอนว่ามันอาจเป็นหายนะที่มนุษย์ไม่เคยพบเจอมาก่อน เพราะการรั่วไหลนี้อาจส่งกัมมันตรังสีกระจายไปทั่วเขตแปซิฟิกตอนกลาง จรทำให้ระบบนิเวศน์ล่มสลายและใช้ประโยชน์ไม่ได้ไปอีกหลายพันปี เราต้องรีบแก้ไขและจัดการปัญหานี้อย่างเร่งด่วน ก่อนที่จะสายเกินไป
โฆษณา