25 พ.ค. 2020 เวลา 17:54 • ประวัติศาสตร์
## กำเนิดถนนสุขุมวิท ##
ถนนสุขุมวิทในกรุงเทพมหานคร มีประวัติเริ่มต้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2462 เมื่อ นางสาว อี. เอส. โคล หรือ "แหม่มโคล" ครูใหญ่โรงเรียนกุลสตรีวังหลัง หรือในปัจจุบันคือ "โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย" ได้ย้ายโรงเรียนจากข้างโรงพยาบาลศิริราช มาอยู่ริมคลองแสนแสบ ซึ่งตอนนั้นยังไม่มีชุมชน การคมนาคมก็มีเพียงแต่คลองแสนแสบ
2
จึงได้ขอพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯให้ตัดถนนเพลินจิตต่อจากถนนปทุมวัน (ถนนพระรามที่ 1) จนถึงจุดบรรจบบนถนนวิทยุที่แยกไปสถานีวิทยุโทรเลข (แยกเพลินจิต) ซึ่งถนนดังกล่าวอยู่ในแนวถนนที่เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ดำริจะตัดไปสมุทรปราการอยู่แล้ว แต่กรมสุขาภิบาลยังไม่มีเงินสร้าง
6
นายอาหมัด อิสราฮีม นานา หรือ "เอ อี นานา" ผู้พัฒนาที่ดินในย่านสุขุมวิท ได้เรี่ยไรเจ้าของที่ดินในย่าน แล้วนำเงินมาให้กรมสุขาภิบาลขุดคลองเอาดินพูนขึ้นเป็นถนน จากจุดตัดของถนนเพลินจิตกับถนนวิทยุ ไปจนถึงซอยเข้าโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย (ซอยสุขุมวิท 19) จึงกลายเป็นพื้นที่ที่เหล่าเจ้านาย และขุนนางนิยมอยู่อาศัย
4
นาย เอ อี นานา ได้เอาชื่อคนรู้จักมาตั้งชื่อซอย อาทิ (ซอยสุขุมวิท 21) ที่พระอโศกมนตรี (เรียม เศวตเศรณี) ข้าราชการใน รัชกาลที่ 6 เป็นผู้อุทิศที่ดินร่วมกับเจ้าของที่ดิน, วังในพระองค์เจ้าพร้อมพงษ์อริราช พระโอรสในกรมหลวงวงศาธิราชสนิท (ซอยสุขุมวิท 39) เป็นต้น
ต่อมาในปี พ.ศ. 2470 สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้ขอพระบรมราชานุญาตจาก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เพื่อตัดถนนต่อจากปากซอยสุขุมวิท 19 ไปจนถึงจังหวัดสมุทรปราการ ได้ชื่อว่า "ถนนกรุงเทพฯ-สมุทรปราการ" เปิดใช้งานเมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2479
พระพิศาลสุขุมวิท (ประสบ สุขุม) คนไทยคนแรกที่สำเร็จวิชาวิศวกรรมศาสตร์ จาก M.I.T. จากการแนะนำโดย สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ ในขณะนั้น ทรงศึกษาวิชาทางการแพทย์ที่ M.I.T. เช่นกัน
ช่วงหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 ใน พ.ศ.2479 พระพิศาลสุขุมวิท ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมทางคนที่ 5 ได้มีการอนุมัติ ”แผนการทางหลวงแผ่นดินทั่วราชอาณาจักร พ.ศ. 2479” หรือ “โครงการ 18 ปี” เพื่อดำเนินการสร้างทางหลวงทั่วประเทศ โดยไทยได้รับการช่วยเหลือจากอเมริกา
ในด้านเงินทุนและเทคโนโลยีการก่อสร้าง ถนนสุขุมวิทจะอยู่ใน “โครงการตัดถนนเลียบชายฝั่งทะเลตะวันออก” มี 2 สายทาง คือ สาย กรุงเทพฯ-สมุทรปราการ-แปดริ้ว-สัตหีบ-ระยอง และ สายทางจันทบุรี-ท่าแฉลบ
1
"ถนนกรุงเทพฯ-สมุทรปราการ" ถูกกำหนดให้เป็นทางสายหลัก ของภาคตะวันออก จึงสร้างต่อจากสมุทรปราการ ผ่านชลบุรี ระยอง ไปจนถึงตัวเมืองตราด เรียกชื่อว่า "ถนนกรุงเทพฯ-ตราด" และจอมพล ป. พิบูลสงคราม มีมติให้เปลี่ยนชื่อเป็น "ถนนสุขุมวิท" เพื่อเป็นเกียรติแก่ พระพิศาลสุขุมวิท (ประสบ สุขุม) ในปี พ.ศ. 2493
2
ต่อมา ในปี พ.ศ. 2510 ถนนสุขมวิท ได้ถูกกำหนดให้เป็นเส้นสายประธานของภูมิภาค และเส้นทางหลักในการเชื่อมกรุงเทพฯ ทำให้เป็นปัจจัยกระตุ้นภาคเศรษฐกิจการส่งออก-นำเข้า, การท่องเที่ยวและการคมนาคมมากขึ้น
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 หรือ ถนนสุขุมวิท
ถนนสุขุมวิท ปัจจุบันคือ "ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3" และเป็นส่วนหนึ่งของ ทางหลวงเอเชีย "AH123" ช่วง (ระยอง-บ้านหาดเล็ก) เริ่มนับหลัก กม. 0 ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย วิ่งผ่านราชดำเนินกลาง, ถนนมหาชัย, ถนนพระรามที่ 1 (หน้าห้างพารากอน) ผ่านแยกเพลินจิตออกสู่สมุทรปราการ, ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, ระยอง, จันทบุรี และสิ้นสุดที่ด่านพรมแดนบ้านหาดเล็ก อ.คลองใหญ่ จ.ตราด มีระยะทางยาวรวม 488 กิโลเมตร
2
Cr. ระบบสารสนเทศโครงข่ายทางหลวง ของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 และในปัจจุบันกรมทางทางหลวง กำหนดให้เริ่มนับจาก สี่แยกบางนา - ด่านพรมแดนบ้านหาดเล็ก
## การขยายตัวของการท่องเที่ยว และเศรษฐกิจ ##
เมื่อมีถนนเส้นนี้ เกิดขึ้นทำให้ผู้คนจากพระนคร เริ่มไปท่องเที่ยวหรือพักผ่อนตากอากาศตามย่านริมทะเล มากขึ้น อาทิ บางปู, บางแสน เป็นต้น ถึงแม้ช่วงแรกจะเดินทางได้ไม่ค่อยสะดวกนัก เนื่องด้วยสภาพถนนและเส้นทางยังไม่ดีนัก แต่ก็สามารถเดินทางไปกลับ ได้ภายในวันเดียว
ถนนสุขุมวิท ช่วงทางเข้าหาดบางแสน
ซึ่งต่อมาได้มีปรับปรุงถนน และสร้างสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง ได้ชื่อว่า “สะพานหัสดิน” ช่วยให้การเดินทางจาก กรุงเทพฯ-ชลบุรี สะดวกขึ้น ที่ทำให้ 2 ฝากฝั่งถนนเส้นนี้มีการเจริญมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และยังเชื่อมต่อไปยังแหล่งเศรษฐกิจ และแหล่งท่องเที่ยว อื่นๆ ที่สำคัญของประเทศ เช่น ท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง, เมืองพัทยา
ท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง
สมัยสงครามเวียดนาม เหล่าทหารอเมริกันนิยมมาพักผ่อนในย่านสุขุมวิท โดยเฉพาะซอยคาวบอย ทำให้ธุรกิจโรงแรม ร้านอาหาร และสถานบันเทิงบูมเป็นอย่างมาก กลายเป็นย่านที่เป็นมิตรกับชาวต่างชาติ และเมื่อมีการหลั่งไหลเข้ามาของนักลงทุนชาวญี่ปุ่น สุขุมวิทจึงเป็นย่านที่ชาวญี่ปุ่นนิยมพักอาศัยด้วยความพร้อมในทุกด้านของย่านนี้
## ก้าวเข้าสู่ย่านไลฟ์สไตล์คนกรุงฯ ##
ถนนสุขุมวิท นั้นเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า เป็นถนนเส้นหลัก และสำคัญอันดับต้นๆ ของพื้นที่กรุงเทพฯชั้นใน อีกทั้งยังเป็นถนนเส้นที่มีระบบขนส่งมวลชนสาธารณะอย่าง BTS วิ่งตลอดสาย และมีจุดตัดกับ MRT ที่สถานีอโศก ด้วยสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ทำให้ ถนนเส้นนี้เป็นถนนเส้นที่มีศักยภาพสูงตั้งแต่อดีตจนมาถึงปัจจุบัน
1
ถนนสุขุมวิท ที่มีรถไฟฟ้า BTS วิ่งตลอดสาย
โฆษณา