26 พ.ค. 2020 เวลา 05:15 • ปรัชญา
ศิลปะ ศาสนา ปรัชญา
ในทัศนะของ เกออร์ค วิลเฮ็ล์ม ฟรีดริช เฮเกล
(Georg Wilhelm Friedrich Hegel)
ศิลปะ ศาสนาและปรัชญา ๓อย่างนี้ มีความสัมพันธ์ชีวิตมนุษย์มากที่สุด
เพราะเราต้องนำหลักทั้ง๓มาช่วยพัฒนาชีวิตของเราให้ดำเนินไปสู่เป้าหมายชีวิตที่สมบูรณ์จะขาดหลักอันใดอันหนึ่งไม่ได้
ศิลปะ คือการแสดงออกของบุคคลในรูปแบบอย่างใดอย่างหนึ่งสุดแล้วแต่ว่าบุคคลนั้นจะมีความสามารถแค่ไหนเพียงไร และศิลปะช่วยยกระดับวิญญาณความเป็นมนุษย์ให้สูงขึ้นด้วย
เครดิตภาพ: https://twitter.com/Spimubona
การเรียนรู้และทำความเข้าใจอย่างสร้างสรรค์กับความงาม เพื่อให้เกิดความซาบซึ้งในคุณค่าของศิลปะ ด้วยเหตุนี้มนุษย์จึงมีศิลปะเป็นเครื่องบันเทิงใจ เพิ่มความมีชีวิตชีวาและรสชาติให้แก่ชีวิตได้สุขหรรษาตามบทบาทชีวิตของแต่ละบุคคล
เกออร์ค วิลเฮ็ล์ม ฟรีดริช เฮเกล (Georg Wilhelm Friedrich Hegel)
ศาสนา คือคำสอน หลักแห่งความประพฤติตลอดจนความเชื่อถือ ความจงรักภักดี และพิธีกรรม สิ่งเหลฃ่านี้สนองอารมณ์ทางศีลธรรมของบุคคลได้ ทำให้เขามีความเข้าใจในหลักธรรมคำสอนแล้วนำมาปฏิบัติในชีวิต ประจำวัน เพื่อให้เกิดความสุขความสำเร็จตามกำลังสติปัญญาของตน
ศาสนาที่แท้จริงนั้นจึงมีคำสอนที่เรานำมาปฏิบัติแล้วได้ผลอำนวยประโยชน์สุขแก่ตนเองและสังคม เพราะทุกคนต้องการความดี ความสงบสุข
ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดของการนับถือศาสนา ดังนั้นศาสนาจึงเป็นรากฐานหรือเป็นหลักของชีวิตมนุษย์
ปรัชญา เป็นวิชาที่ว่าด้วยความจริงสูงสุด ความจริงอันประเสริฐหลักแห่งเหตุผลและบ่อเกิดความรู้รวมถึงทัศนะชีวิตและโลก
นอกจากนี้หน้าที่ของลปรัชญาตามทัศนะของเฮเกล คือการรู้โลกแห่งธรรมชาติและโลกแห่งประสบการณ์ เพราะฉะนั้นจุดมุ่งหมายของการเรียนปรัชญาเมื่อกล่าวโดยสรุป คือการเข้าใจตนเอง และการเข้าใจคนอื่นและสภาพแวดล้อมทางสังคมซึ่งกำลังเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งในสิ่งทั้งหลายนี้จะช่วยให้เราสามารถแก้ปัญหาต่างๆได้โดยสิ้นเชิง
จึงกล่าวได้ว่าศิลปะ ศาสนาและปรัชญา มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดและมีอิทธิพลต่อชีวิตมนุษย์อย่างมาก
เสมือนตัวแทนของความงาม ความดี และความจริงนั่นเอง
ซึ่งบางครั้งอาจมีรูปแบบที่แสดงออกแตกต่างกัน แต่หากพิจารณาถึงแก่นแล้ว ก็มีจุดมุ่งหมายร่วมกัน คือต่างช่วยกันยกฐานะสติปัญญา ความคิด จิตใจ อารมณ์ และวิญญาณของมนุษย์ให้สูงขึ้นโดยลำดับ
-วิรุฬหก-
โฆษณา