26 พ.ค. 2020 เวลา 05:33 • ปรัชญา
พระพุทธองค์ทรงแสดงอาทิตตปริยายสูตรแก่หมู่ภิกษุชฏิล ๑,๐๐๓ รูปจนสำเร็จพระอรหันต์ทั้งหมด
อาทิตตปริยายสูตร เป็นธรรมที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงธรรมแก่หมู่ภิกษุชฎิล ทั้ง ๑,๐๐๓ รูป ขณะที่พระบรมศาสดา ทรงแสดงพระธรรมเทศนาอยู่นั้น ภิกษุชฎิล ทั้ง ๑,๐๐๓ รูป ส่งกระแสจิตไปตามวาระแห่งพระธรรมเทศนา จิตของพวกเธอ ก็หลุดพ้นจากกิเลสาสวะทั้งปวง สำเร็จเป็นพระอรหันต์ขีณาสพด้วยกันทั้งหมด และพระภิกษุชฏิลทั้งหมดนั้นก็ได้เป็นกำลังสำคัญในการประกาศพระพุทธศาสนาที่เมืองราชคฤห์ เมืองหลวงแห่งแคว้นมคธ ทำให้แคว้นมคธเป็นฐานอำนาจสำคัญในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในเวลาต่อมา ***
อาทิตตปริยายสูตร เป็นพระสูตรที่มีเนื้อหาแสดงถึงความรุ่มร้อนของจิตใจ (อินทรีย์ ๕) ด้วยอำนาจของกิเลส เปรียบได้กับความร้อนของไฟที่ลุกโพลงอยู่ ดังนั้นจึงได้ชื่อว่า อาทิตตปริยายสูตร แสดงให้เห็นว่าความร้อนที่แท้จริงคือความร้อนจากภายใน แต่ทว่าความสุขหรือความทุกข์ร้อนจากกิเลสทั้งปวงล้วนนั้นก็เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง คือตั้งอยู่ไม่ได้ตลอดไป ไม่มีอะไรที่ควรยึดถือ น่าเบื่อหน่ายในความผันแปร พระสูตรนี้จึงเป็นพระสูตรสำคัญในพระพุทธศาสนา
อาทิตตปริยายสูตร
ข้าพเจ้า (พระอานนท์) ได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ว่า,สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า,เสด็จประทับอยู่ที่คยาสีสะประเทศใกล้ แม่น้ำคยา,กับด้วยพระภิกษุหนึ่งพันรูป,ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสเตือนพระภิกษุทั้งหลายให้ตั้งใจฟังภาษิตนี้ว่า,ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน,ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ก็อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งทั้งปวง,ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, จักษุ (คือนัยน์ตา) เป็นของร้อน,รูปทั้งหลาย เป็นของร้อน,วิญญาณ(รู้แจ้ง)อาศัยทางตา เป็นของร้อน,สัมผัสอาศัยตาเป็นของร้อน,ความรู้สึกอารมณ์ (คือเวทนา), เกิดขึ้นเพราะ ตาสัมผัสเป็นปัจจัยนี้แม้อันใด,เป็นสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี, ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ดี,แม้อันนั้นก็เป็นของร้อน,ร้อนด้วยอะไร อันอะไรมาเผาให้ร้อน,เรากล่าวว่า ร้อนด้วยไฟ คือ ราคะ, ด้วยไฟคือ โทสะ ด้วยไฟคือ โมหะ, ร้อนด้วยความเกิดด้วยความแก่แล ความตาย, ร้อนด้วยความโศก ด้วยความร่ำไรรำพัน, ด้วยความเจ็บกาย ด้วยความเสียใจ ด้วยความคับแค้นใจทั้งหลาย,โสตะ (คือหู) เป็นของร้อน,เสียงทั้งหลายเป็นของร้อน,วิญญาณ(รู้แจ้ง)อาศัย ทางหู เป็นของร้อน,สัมผัสอาศัย หู เป็นของร้อน,ความรู้สึกอารมณ์ (คือเวทนา) เกิดขึ้นเพราะหูสัมผัสเป็นปัจจัยนี้แม้อันใด,เป็นสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี, ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ดี,แม้อันนั้นก็เป็นของร้อน,ร้อนด้วยอะไร อันอะไรมาเผาให้ร้อน,เรากล่าวว่า ร้อนด้วยไฟ คือ ราคะ, ด้วยไฟคือ โทสะ ด้วยไฟคือ โมหะ, ร้อนด้วยความเกิด ด้วยความแก่ แลความตาย, ร้อนด้วยความโศก ด้วยความร่ำไรรำพัน, ด้วยความเจ็บกาย ด้วยความเสียใจ ด้วยความคับแค้นใจทั้งหลาย,ฆานะ (คือ) จมูก เป็นของร้อน,กลิ่นทั้งหลายเป็นของร้อน,วิญญาณ(รู้แจ้ง) อาศัยทาง จมูก เป็นของร้อน,สัมผัส อาศัย จมูกเป็นของร้อน,ความรู้สึกอารมณ์ (คือ เวทนา) เกิดขึ้นเพราะจมูกสัมผัสเป็นปัจจัยนี้แม้อันใด,เป็นสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี, ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ดี,แม้อันนั้นก็เป็นของร้อน,ร้อนด้วยอะไร อันอะไรมาเผาให้ร้อน,เรากล่าวว่า ร้อนด้วยไฟ คือ ราคะ, ด้วยไฟคือ โทสะ ด้วยไฟคือ โมหะ, ร้อนด้วยความเกิด ด้วยความแก่แล ความตาย, ร้อนด้วยความโศก ด้วยความร่ำไรรำพัน, ด้วยความเจ็บกาย ด้วยความเสียใจ ด้วยความคับแค้นใจทั้งหลาย,ชิวหา (คือลิ้น) เป็นของร้อน,รสทั้งหลายเป็นของร้อน,วิญญาณ(รู้แจ้ง)อาศัยทางลิ้น เป็นของร้อน,สัมผัสอาศัยลิ้นเป็นของร้อน,ความรู้สึกอารมณ์ (คือเวทนา), เกิดขึ้น เพราะลิ้นสัมผัสเป็นปัจจัยนี้ แม้อันใด,เป็นสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี, ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ดี,แม้อันนั้นก็เป็นของร้อน,ร้อนด้วยอะไร อันอะไรมาเผาให้ร้อน,เรากล่าวว่า ร้อนด้วยไฟ คือ ราคะ, ด้วยไฟคือ โทสะ ด้วยไฟคือ โมหะ, ร้อนด้วยความเกิดด้วยความแก่แลความตาย, ร้อนด้วยความโศก ด้วยความร่ำไรรำพัน, ด้วยความเจ็บกายด้วยความเสียใจ ด้วย ความคับแค้นใจทั้งหลาย,กายเป็นของร้อน,โผฏฐัพพะ (คืออารมณ์ที่จะพึงถูกต้องด้วยกาย) เป็นของร้อน,วิญญาณ(รู้แจ้ง)อาศัยทางกาย เป็นของร้อน,สัมผัสอาศัยกายเป็นของร้อน,ความรู้สึกอารมณ์ (คือเวทนา), เกิดขึ้นเพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัยนี้แม้อันใด,เป็นสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี, ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ดี,แม้อันนั้นก็เป็นของร้อน,ร้อนด้วยอะไร อันอะไรมาเผาให้ร้อน,เรากล่าวว่า ร้อนด้วยไฟ คือ ราคะ, ด้วยไฟคือ โทสะ ด้วยไฟคือ โมหะ, ร้อนด้วยความเกิด ด้วยความแก่แล ความตาย, ร้อนด้วยความโศก ด้วยความร่ำไรรำพัน, ด้วยความเจ็บกาย ด้วยความเสียใจ ด้วยความคับแค้นใจทั้งหลาย,มโน (คือใจ) เป็นของร้อน,ธรรมทั้งหลาย (คืออารมณ์ที่เกิดกับใจ) เป็นของร้อน,วิญญาณ(รู้แจ้ง) อาศัยทาง ใจ เป็นของร้อน,สัมผัส อาศัย ใจ เป็นของร้อน,ความรู้สึกอารมณ์ (คือเวทนา), เกิดขึ้นเพราะ ใจสัมผัส เป็นปัจจัยนี้ แม้อันใด,เป็นสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี, ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ดี,แม้อันนั้นก็เป็นของร้อน,ร้อนด้วยอะไร อันอะไรมาเผาให้ร้อน,เรากล่าวว่า ร้อนด้วยไฟ คือ ราคะ, ด้วยไฟคือ โทสะ ด้วยไฟคือ โมหะ, ร้อนด้วยความเกิด ด้วยความแก่แล ความตาย, ร้อนด้วยความโศก ด้วยความร่ำไรรำพัน, ด้วยความเจ็บกาย ด้วยความเสียใจ ด้วยความคับ แค้นใจทั้งหลาย,ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อริยสาวก ผู้ได้สดับแล้ว มาเห็นอยู่อย่างนี้,ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในจักษุ,ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในรูปทั้งหลาย,ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในวิญญาณ(รู้แจ้ง)อาศัยทางตา,ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในสัมผัส อาศัยตา,ความรู้สึกอารมณ์ (คือเวทนา) เกิดขึ้นเพราะ ตาสัมผัสเป็นปัจจัยนี้แม้อันใด,เป็นสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี, ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ดี,ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในความรู้สึกนั้น,ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในหู,ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในเสียงทั้งหลาย,ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในวิญญาณ(รู้แจ้ง) อาศัยทางหู,ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในสัมผัส อาศัยหู,ความรู้สึกอารมณ์ (คือเวทนา), เกิดขึ้น เพราะหูสัมผัสเป็นปัจจัยนี้แม้อันใด,เป็นสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี, ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ดี,ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในความรู้สึกนั้น,ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในจมูก,ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในกลิ่นทั้งหลาย,ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในวิญญาณ(รู้แจ้ง) อาศัยทางจมูก,ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในสัมผัส อาศัยจมูก,ความรู้สึกอารมณ์ (คือเวทนา), เกิดขึ้น เพราะจมูกสัมผัสเป็นปัจจัยนี้แม้อันใด,เป็นสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี, ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ดี,ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในความรู้สึกนั้น,ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในลิ้น,ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในรสทั้งหลาย,ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในวิญญาณ(รู้แจ้ง) อาศัยทางลิ้น,ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในสัมผัสอาศัยลิ้น,ความรู้สึกอารมณ์ (คือเวทนา), เกิดขึ้นเพราะลิ้น สัมผัสเป็นปัจจัยนี้แม้อันใด,เป็นสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี, ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ดี,ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในความรู้สึกนั้น,ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในกาย,ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในโผฎฐัพพะทั้งหลาย,ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในวิญญาณ(รู้แจ้ง) อาศัยทางกาย,ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในสัมผัสอาศัยกาย,ความรู้สึกอารมณ์ (คือเวทนา), เกิดขึ้นเพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัยนี้แม้อันใด,เป็นสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี, ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ดี,ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในความรู้สึกนั้น,ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในมนะ(ใจ),ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในธรรมทั้งหลาย(อารมณ์ที่เกิดกับใจ),ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในวิญญาณ(รู้แจ้ง) อาศัยทางใจ,ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในสัมผัสอาศัยใจ,ความรู้สึกอารมณ์ (คือเวทนา), เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยนี้แม้อันใด,เป็นสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี, ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ดี,ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในความรู้สึกนั้น,เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด,เพราะคลายกำหนัด จิตก็พ้นจากความถือมั่น,เมื่อจิตพ้นแล้วก็เกิดญาณรู้ว่าเราพ้นแล้ว ดังนี้,
อริยสาวกนั้น ย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว, พรหมจรรย์เราได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ เราทำเสร็จแล้ว, กิจอื่นอีก เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี,พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสธรรมปริยายอันนี้แล้ว,พระภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นก็มีใจยินดี, เพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า,ก็แลเมื่อไวยากรณ์นี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอยู่,จิตของพระภิกษุพันรูปนั้นก็พ้นจากอาสวะทั้งหลาย, ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน แล.
โฆษณา