Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ยา Café by เภโจม
•
ติดตาม
27 พ.ค. 2020 เวลา 03:00 • สุขภาพ
แผลกดทับ...ดูแลไม่ดีอันตรายถึงชีวิต❗️
1
แผลกดทับ เกิดจากการที่ร่างกายอยู่กับที่นานๆไม่ขยับเขยื้อน ทำให้ผิวหนังที่ถูกน้ำหนักของตัวผู้ป่วยกด โดยเฉพาะบริเวณปุ่มกระดูกมีการกดทับเป็นเวลานาน ทำให้ขาดเลือดไปเลี้ยงแล้วนำไปสู่การตายของผิวหนังบริเวณนั้น 🧐
🚨สัญญาณของแผลกดทับ เริ่มจากผิวหนังเริ่มแดง หากไม่มีการรักษาที่ถูกต้อง ปล่อยให้มีการกดที่นานขึ้น จะทำให้การตายของผิวหนังลุกลามไปเรื่อยๆจนผิวหนังชั้นบนลงไปชั้นกล้ามเนื้อ ลงไปถึงกระดูกได้เลยครับ 💀
อันตรายของแผลกดทับ‼️
ถ้าตรวจพบในระยะแรกซึ่งเป็นเพียงแผลถลอก การรักษาสามารถทำได้ง่าย แต่ถ้าแผลลึกโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุ ร่างกายอ่อนแอ รับประทานอาหารไม่ได้ ผู้ที่มีโรคเบาหวานและมีการติดเชื้อร่วมด้วย อาจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้ 😨
รูปภาพจาก https://www.pobpad.com
ทำอย่างไรไม่ให้เป็นเเผลกดทับ❓
การจัดให้ผู้ป่วยนอน นั่ง บนที่นอนนุ่มๆ เช่น ที่นอนลม ที่นอนเจล เป็นต้น เปลี่ยนท่านอนอย่างน้อย 2 ชั่วโมง หลังเปลี่ยนท่าต้องสำรวจผิวหนังว่าเกิดการกดทับหรือไม่ ถ้าพบมีรอยแดงแล้วไม่หายใน 24 ชั่วโมง ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการกดทับบริเวณนั้นจนกว่ารอยเเดงจะหายไป
หรือถ้าจำเป็นต้องพลิกมากบริเวณนั้นให้ลดลงเหลือเพียง 1 ชั่วโมงเท่านั้น แล้วรีบเปลี่ยนท่าอื่น ห้ามนวดหรือคลึงบริเวณที่เป็นรอยเเดงเด็ดขาด เพราะอาจทำให้ผิวหนังถลอกเกิดบาดเเผลได้
ที่นอนลม จาก https://www.ruangwitmedical.com
การแบ่งระยะของแผลกดทับ เป็น 4️⃣ ระดับ
1
ระดับที่ 1 : ผิวหนังไม่มีการฉีกขาด แต่เป็นรอยเเดง กดบริเวณรอยแดงไม่จางหายภายใน 30 นาที
ระดับที่ 2 : ผิวหนังส่วนบนหลุดออก ฉีกขาดเป็นเเผลตื้น มีรอยเเดงบริเวณเนื้อเยื่อรอบๆ มีอาการปวด บวด แดง ร้อน มีสิ่งขับหลั่งจากเเผลปริมาณเล็กน้อยหรือปานกลาง
ระดับที่ 3 : มีการทำลายผิวหนังถึงชั้นไขมันใต้ผิวหนัง รอยเเผลลึกเป็นหลุมโพรง มีสิ่งขับหลั่งออกจากเเผลมาก กลิ่นเหม็น
ระดับที่ 4 : มีการทำลายถึงเส้นเอ็น กล้ามเนื้อ กระดูก เเผลเป็นโพรง มีสิ่งขับหลั่งออกจากแผลมาก มีกลิ่นเหม็น
📌การดูแลแผลกดทับที่บ้าน📌
1️⃣ ล้างแผลกดทับด้วยน้ำเกลือและเช็ดรอบแผลด้วยแอลกอฮอล์ หลังจากนั้นซับให้เเผลแห้ง ควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำยา povidone-iodine เช็ดแผลโดยไม่จำเป็น
2️⃣ ใส่ hydrogel ลงบนแผลกดทับหนา 3-5 มิลลิเมตรเพื่อแยกเนื้อตายออกและ/หรือให้ความชุ่มชื้นกับแผลเพื่อให้เเผลหายเร็ว
ตัวอย่าง Hydrogel จาก https://www.ruangwitmedical.com
3️⃣ ปิดแผ่นซึมซับ และยึดแผ่นซึมซับด้วยแผ่นฟิล์มกันน้ำได้ เพื่อที่จะอาบน้ำคนไข้ได้ และยังป้องกันอุจจาระและปัสสาวะได้ในกรณีที่แผลกดทับอยู่ใกล้รูเปิดของทวาร
ตัวอย่างแผ่นซับ จาก https://www.scharoen.com
4️⃣ ในกรณีที่แผลกดทับมีเนื้อตายอยู่ให้ทำแผลใหม่วันละ 1 ครั้ง หากเนื้อตายหลุดออกเเล้ว ให้ทำแผลใหม่ 3 วัน/ครั้ง หรือตามความเหมาะสม
5️⃣ หากพบแผลลุกลาม หรือคนไข้มีภาวะเเทรกซ้อน เช่น เบาหวาน แผลติดเชื้อ ควรปรึกษาเเพทย์
อย่าลืม ‼️
🔺พลิกตะแคงตัวทุก 2 ชั่วโมง
🔺ใช้หมอนนุ่มรองตามปุ่มกระดูก
🔺ดูแลความสะอาดผิวหนังไม่ให้เปียกชื้น
1
🔺ตรวจสภาพผิวหนังทุกครั้งที่พลิกตะเเคงตัว
🔺หากพบรอยแดงหรือผิวหนังถลอกด้านใด ควรหลีกเลี่ยงการนอนทับผิวหนังบริเวณนั้น
อ้างอิง : เอกสารการสอน เรื่อง การทำแผลและดูแลแผล (Wound Care and Dressing) โดย ภก.ธีรวุฒิ พงศ์เศรษฐไพศาล
6 บันทึก
12
7
6
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
รู้ไว้ใช่ว่า
6
12
7
6
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย