27 พ.ค. 2020 เวลา 02:30 • ประวัติศาสตร์
Prinkipo Orphanage: ตึกไม้ที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป
อาคารไม้ที่ดูง่อนแง่นจวนเจียนจะล้มครืนหลังนี้ เป็นอาคารที่ทำจากไม้ที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป และมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก
https://www.wmf.org/project/rum-orphanage
ตึกหลังนี้สร้างขึ้นบนเนินเขาเตี้ยๆ บนเกาะ Büyükada ซึ่งเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในหมู่เกาะ "Princes' Islands"
หมู่เกาะ Princes' Islands ประกอบไปด้วยเกาะเล็กใหญ่จำนวน 9 เกาะ ทั้งหมดนี้ตั้งอยู่ในทะเลมาร์มาร่า (Marmara) ใกล้ชายฝั่งอิสตัลบูล ประเทศตุรกี
http://www.tourmakerturkey.com/princes-islands.html
ในอดีต ตึกไม้ทั้งหลังถูกใช้เป็นสถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้าที่ชื่อว่า "Prinkipo Orphanage"
Photo credit: Emre onemci/Shutterstock.com
Prinkipo Orphanage หรือบ้างก็เรียก Prinkipo Greek Orthodox Orphanage ยังรู้จักกันในอีกชื่อว่า "Rum Orphanage" เพราะแรกเริ่มเดิมที มันไม่ใช่สถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้า แต่เป็นโรงแรมและบ่อนคาสิโนระดับหรูหราลักซูรี่
หลังเปิดตัวโรงแรมได้ไม่นานก็ถูกแจ้งยึดเพราะขอใบอนุญาตไม่ผ่าน มันจึงกลายไปเป็นสถานสงเคราะห์และรับเลี้ยงเด็กกำพร้าแทน
Photo credit: Dima Moroz/Shutterstock.com
ที่นี่เปิดรับเลี้ยงเด็กๆ ที่นับถือนิกายกรีกออร์ธอด็อกซ์ (Greek Orthodox) นานถึง 65 ปี จนกระทั่งรัฐบาลตุรกีสั่งปิดทำการในปี 1964
นับแต่นั้นเป็นต้นมา ตึกทั้งหลัง ซึ่งประกอบไปด้วยห้องมากมายถึง 206 ห้อง และพื้นที่โดยรอบรวมทั้งหมด 20,000 ตารางเมตร ก็ถูกทิ้งร้างไร้ผู้ดูแลเป็นเวลานานถึงครึ่งศตวรรษ
https://www.cnnturk.com/turkiye/buyukada-rum-yetimhanesi-icin-restorasyon-hazirligi?page=2
https://www.facebook.com/notdefterimdenvy/posts/2220247458264126/
อาคารสูง 6 ชั้นแห่งนี้สร้างขึ้นด้วยฝีมือของนายอเล็กซานเดอร์ วาลรูรี่ (Alexander Vallaury) สถาปนิกชื่อดังเชื้อสายฝรั่งเศส-ออตโตมัน ในปี 1898
วาลรูรี่ได้รับมอบหมายให้สร้างโรงแรม สำหรับผู้โดยสารรถไฟขบวนหรู "ดิ โอเรียนท์เอกซ์เพรส (The Orient Express)" จากบริษัท "Compagnie Internationale des Wagons-Lits"
https://en.wikipedia.org/wiki/Orient_Express
Compagnie Internationale des Wagons-Lits คือบริษัทสัญชาติอังกฤษที่ตั้งใจปฏิวัติการเดินทางโดยรถไฟให้มีความสะดวกสบาย หรูหรา และปลอดภัย โดยเปิดบริการเดินรถในเส้นทางจากกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ถึงกรุงอิสตันบูล ประเทศตุรกี
https://en.wikipedia.org/wiki/Orient_Express
วาลรูรี่จึงผุดไอเดีย "โรงแรมระดับ 5 ดาวครบวงจร" สำหรับรอบรับผู้โดยสารจากยุโรปจำนวนมากที่จะเดินทางมายังกรุงอิสตันบูลในช่วง "Belle Époque" หรือ “Golden Age” ยุคทองของยุโรป
https://fiveminutehistory.com/10-fascinating-facts-about-the-belle-epoque/
Belle Époque หรือ Golden Age เป็นยุคสมัยหลังการสิ้นสุดของสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย ใน ค.ศ. 1871 จนถึงการเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นยุคสมัยที่ยุโรปตะวันตกมีความสงบสุข มีความก้าวหน้าในเทคโนโลยี เศรษฐกิจมีการเติบโต และการเฟื่องฟูของศิลปะต่างๆเป็นอย่างมาก
โดยคำว่ายุคสวยงามเป็นคำจัดกัดความที่เกิดขึ้นภายหลัง เพื่อเปรียบเทียบกับยุคสมัยแห่งสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและครั้งที่สองที่ดำเนินต่อเนื่องหลังจากยุคนี้นั่นเอง (Via wikipedia)
หลังสร้างเสร็จเรียบร้อย ปรากฏว่าสุลต่านอับดุล ฮามิด ที่ 2 (Abdul Hamid II) แห่งจักรวรรดิออตโตมัน ปฏิเสธที่จะเซ็นต์ออกใบอนุญาตให้ เนื่องจากทรงเห็นว่าการพนันเป็นสิ่งผิดศีลธรรม
https://en.wikipedia.org/wiki/Abdul_Hamid_II
บริษัทจึงขายตึกทั้งหลังให้กับภรรยานายธนาคารผู้นับถือศาสนาคริสต์นิกาย กรีก ออร์ธอด็อกซ์ นางเอเลนี่ ซารีฟี (Eleni Zarifi)
http://www.christopherlong.co.uk/gen/zarifigen/fg04/fg04_456.html
เอเลนี่ บริจาคตึกให้กับสภาอัครบิดรแห่งคอนสแตนติโนเปิล (Ecumenical Patriarchate of Constantinople) ซึ่งได้เปลี่ยนตึกดังกล่าวเป็นสถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้าในที่สุด
สภาอัครบิดรแห่งคอนสแตนติโนเปิล (Ecumenical Patriarchate of Constantinople) เป็นตำแหน่งอัครบิดรที่สำคัญที่สุดตำแหน่งหนึ่งในคริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ได้รับยกย่องว่าเป็นบุคคลอันดับหนึ่งแห่งคริสตจักรออร์ทอดอกซ์
สภาอัครบิดรแห่งคอนสแตนติโนเปิลต้องอยู่ภายใต้อำนาจของจักรวรรดิออตโตมัน หลังจากเสียกรุงคอนสแตนติโนเปิลในปี ค.ศ. 1453
เมื่อจักรวรรดิออตโตมันล่มสลายกลายเป็นประเทศตุรกีในปัจจุบัน อัครบิดรแห่งคอนสแตนติโนเปิลก็ต้องขึ้นต่อรัฐบาลตุรกี และมีกฎหมายกำหนดให้ผู้จะดำรงตำแหน่งอัครบิดรนี้ต้องเป็นชาวตุรกีเท่านั้น (Via Wikipedia)
http://www.patriarchateofconstantinople.com/index.html
Prinkipo orphanage กลายไปเป็นบ้านของเด็กๆ ชาวคริสต์นิกายกรีก ออร์ธอด็อกซ์ จำนวนถึง 5,800 คน ในช่วงปี 1903 - 1964 ก่อนที่จะถูกบังคับให้ปิดตัวลงจากเหตุความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างตุรกีและกรีซ เกี่ยวกับข้อพิพาทแย่งชิงเกาะไซปรัสในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
ปี 1997 รัฐบาลตุรกียึดตึกหลังนี้ไปเป็นสมบัติของชาติ ก่อนที่จะคืนให้แก่อัครบิดรแห่งคอนสแตนติโนเปิลในปี 2010 ตามคำสั่งของศาล
https://www.wikiwand.com/en/Prinkipo_Greek_Orthodox_Orphanage#/Gallery
https://www.wikiwand.com/en/Prinkipo_Greek_Orthodox_Orphanage#/Gallery
https://www.wikiwand.com/en/Prinkipo_Greek_Orthodox_Orphanage#/Gallery
https://www.wikiwand.com/en/Prinkipo_Greek_Orthodox_Orphanage#/Gallery
ปี 2018 องค์กรพิทักษ์มรดกทางวัฒนธรรมชั้นนำของยุโรป (Europa Nostra) และธนาคารเพื่อการลงทุนของยุโรป (European Investment Bank) ได้เสนอให้ตึก Prinkipo orphanage เป็นหนึ่งในเจ็ดสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ที่กำลังจะสูญหายและอยู่ในสภาวะเป็นอันตรายถูกคุกคาม
สภาอัครบิดรแห่งคอนสแตนติโนเปิล มีความต้องการที่จะบูรณะและซ่อมแซมอาคารหลังเก่านี้เช่นกัน แต่ขาดแคลนเงินทุนในการซ่อมบำรุงเนื่องจากเหตุตึงเครียดทางการเมืองระหว่างตุรกีและกรีซตั้งแต่ปี 1974
นอกจากนี้ยังมีโบราณสถานสำคัญหลายแห่งที่ได้รับผลกระทบจากข้อพิพาทดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นโบราณสถานจากยุคไบแซนไทน์ หรือกรีก ล้วนถูกระงับหรือถูกเลื่อนแผนการบูรณะ ปฏิสังขร ไปจนกว่าจะหาข้อยุติระหว่างประเทศได้
https://www.wikiwand.com/en/Prinkipo_Greek_Orthodox_Orphanage#/Gallery
ปัจจุบัน การเจรจารวมชาติไซปรัส ระหว่างรัฐบาลตุรกีและกรีซยังไม่เป็นผลสำเร็จ เนื่องจากมีจุดเปราะบางในการรวมชาติหลายประการ ทั้งเขตแดน ทรัพยากร และความปลอดภัยของประชากรต่างเชื้อสาย
เราได้แต่หวังว่า จะมีสัญญาณที่ดีที่ทำให้ความตึงเครียดระหว่างสองประเทศลดน้อยลง ก่อนที่โบราณสถานเก่าแก่จะเหลือแต่เพียงรากฐานให้คนรุ่นหลังได้รับชม
เรียนรู้เพิ่มเติม: ข้อพิพาทกรณีไซปรัส

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา