26 พ.ค. 2020 เวลา 17:54 • ประวัติศาสตร์
เฉินโซ่ว หรือตั้งซิ่ว (ค.ศ.233-297) เป็นบัณฑิตและขุนนางชาวเสฉวน มีตัวตนจริงอยู่ในสมัยยุคสามก๊ก
โดยเนื้อหาตามบทประพันธ์เกิดจากจินตนาการ ซึ่งแท้จริงแล้วฉากสำคัญหลายฉากในจดหมายเหตุสามก๊กเช่น ในปี พ.ศ. 776 ซึ่งเป็นปีเกิดของเฉินโซ่ว
ภายหลังพระเจ้าเหี้ยนเต้สละบัลลังก์แล้ว ตระกูลของเฉินโซ่วรับราชการเป็นบริวารแก่จ๊กก๊กของพระเจ้าเล่าปี่ ซึ่งรวมทั้งเฉินโซ่วด้วย ซึ่งบันทึกทางประวัติศาสตร์รวมทั้งเรื่องราวการต่อสู้อย่างละเอียดถี่ถ้วน เป็นการบันทึกโดยตันเซ็กบิดาของเขา
ในปี พ.ศ. 806 แคว้นจ๊กก๊ก ที่ ตันซิ่ว หรือ เฉินโซ่วอาศัยอยู่ ได้ประกาศยอมแพ้ต่อแคว้นวุย ตันซิ่วและครอบครัวรวมทั้งชาวจ๊กก๊กคนอื่น ๆ จึงถูกนำตัวไปยังวุยก๊ก ขณะนั้นสุมาเจียว ซึ่งเป็นจิ้นอ๋องครองแคว้นวุยจนสิ้นพระชนม์ ต่อมา
สุมาเอี๋ยนจึงเป็นผู้สืบทอดแคว้นต่อไปและสถาปนาราชวงศ์จิ้นขึ้นแทนราชวงศ์วุย
และแย่งชิงราชบัลลังก์จากพระเจ้าโจฮวนในปี พ.ศ. 808 ก่อนจะสถาปนาตนเองเป็นพระเจ้าจิ้นหวู่ตี้แห่งราชวงศ์ใหม่ ราชวงศ์จิ้นตะวันตก 15 ปีสืบต่อมา พระเจ้าจิ้นหวู่ตี้ก็สามารถรวบรวมอาณาจักรสามก๊กให้รวมเป็นหนึ่งเดียวได้
จางหัว เสนาบดีการช่างราชสำนักจิ้น ชื่นชมสติปัญญาความสามารถ จึงช่วยให้เป็นหัวหน้าฝ่ายอาลักษณ์ ทำหน้าที่รวบรวมและเรียบเรียงประวัติศาสตร์
เฉินโซ่วลงมือเขียนพงศาวดารสามก๊ก เมื่ออายุได้ 48 ปี เขาใช้ข้อมูลจากหนังสือซู และหนังสืออู๋ซู ของราชสำนักวุย (ฝ่ายโจโฉ) และหนังสือเว่ยล่วย ประวัติวุย ที่นักบัณฑิตเขียน เป็นข้อมูลพื้นฐานในการเขียนประวัติศาสตร์แคว้นวุย และแคว้นอู๋ (ฝ่ายซุนกวน)
ส่วนข้อมูลราชสำนักสู่ (ฝ่ายเล่าปี่) ไม่ได้มีบันทึกประวัติศาสตร์และพงศาวดารเอาไว้ เฉินโซ่วเป็นศิษย์เฉียงโจ นักประวัติศาสตร์เลื่องชื่อของยุคนั้น มีนิสัยใฝ่รู้ ติดตามความข่าวคราวของแคว้นสู่ใกล้ชิด ก่อนเวลาแคว้นสู่ล่มสลายจึงลงมือรวบรวมข้อมูลเอง
ไม่ปรากฏว่า เฉินโซ่วเขียนพงศาวดารสามก๊กจบในปีไหน มีแค่บันทึกว่า เขาตายเมื่ออายุได้ 65 ปี
จางหัวชอบหนังสือพงศาวดารสามก๊กมาก กราบทูลจักรพรรดิ ให้แต่งตั้งเฉินโซ่วเป็นจงซูหลาง (เลขาธิการราชสำนัก ฝ่ายร่างพระราชกฤษฎีกา แต่ถูกเสนาบดีผู้มีอำนาจริษยา จึงได้เป็นเพียงตำแหน่งผู้เรียบเรียงพระราชพงศาวดา)
พงศาวดารจิ้นซู บันทึกว่า หลังเฉินโซ่วตาย ฟ่านจุนได้กราบทูลพระเจ้าจิ้นตี้ ยกฐานะ พงศาวดารสามก๊ก ขึ้นเป็นหนังสือประวัติศาสตร์ฉบับทางการ พระเจ้าจิ้นตี้ส่งคนไปคัดลอกถึงบ้านเฉินโซ่ว ที่เมืองลกเอี๋ยง
พงศาวดารสามก๊กฉบับเฉินโซ่ว มีฐานะเป็นหนังสือประวัติศาสตร์ฉบับสมบูรณ์ ก็ต่อเมื่อเขาตายไปหลายปีแล้ว
ค.ศ.429 สมัยพระเจ้าซ่งเหวินตี้ เผยชงจือ เลขาธิการราชสำนัก ได้เริ่มศึกษาพงศาวดารสามก๊ก โดยใช้ข้อมูลหลักของเฉินโซ่ว ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้น ข้อเขียนของเขาก็หายหกตกหล่นไปมาก
รูปจดหมายเหตุสามก๊ก
โฆษณา