27 พ.ค. 2020 เวลา 12:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
[ Chapter 14 ] PART 3 : PM Pillar - Planned แบบไหน Maintenance แบบไหนให้ซื้อใจเครื่องจักร
หลังจาก Part ที่ 1 และ Part ที่ 2 ผมได้อธิบายพื้นฐานของเสา PM : Planned Maintenance หรือ การบำรุงรักษาตามแผนไปแล้ว ผมว่าทุกท่านก็น่าจะพอเข้าใจพื้นฐานไปแล้วบ้างไม่มากก็น้อย ส่วนใน Part นี้ผมจะมาอธิบาย Step ที่ต้องทำในส่วนของเสา PM โดยประกอบไปด้วย 6 Step หลักๆ คือ
Step 1: Assess the condition of machinery and explore the current condition ประเมินสภาพเครื่องจักรและสำรวจสภาพปัจจุบัน
Step 2: Restore deterioration and improve machine weaknesses ฟื้นฟูสภาพเสื่อมและปรับปรุงจุดอ่อนของเครื่องจักร
Step 3: create a maintenance information management system สร้างระบบบริหารการซ่อมบำรุง
Step 4: Build a periodic maintenance system สร้างระบบการบำรุงรักษาตามคาบเวลา
Step 5: Build a predictive maintenance system สร้างระบบบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์
Step 6: Assess maintenance according to the plan ประเมินการบำรุงรักษาตามแผน
โดยเรามาเริ่มจาก
Step 1 : การประเมินสภาพเครื่องจักรและการสำรวจสภาพปัจจุบัน เอาง่ายๆ คือ ต้องรู้ข้อมูลทุกอย่างตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เริ่มจาก
1.1 สร้างระบบการใช้งานสมุดบันทึกเครื่องจักร รวมถึงเอกสาร Check sheet โดยจะต้องกับไป Review ว่าของเดิมมีรึเปล่า ถ้ามีดีมั้ยใช้งานได้ดีแค่ไหน ถ้าไม่มีต้องกำหนด ต้องจัดทำเพิ่มเติมอย่างไร ทำอะไร ทำที่ไหน ทำเท่าไหร่ ใครเป็นคนต้องทำ วิธีจัดทำทำแบบไหน จะต้องกำหนด ให้ชัดเจน
1.2 ประเมินเครื่องจักร วิธีการประเมินประเมินอย่างไร มาตรฐานการประเมินมีแบบไหนเพื่อให้เรารู้สถานะเครื่องจักรของเรา ณ ปัจจุบัน รวมถึงมีการจัดระบบเครื่องจักรตามความสำคัญ เช่น การแบ่ง Rank ของเครื่องจัก A B C เป็นต้น โดย A คือ เครื่องจักรที่ไม่สามารถเกิด Breakdown ได้เลย ถ้าเกิดจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงเช่น ไม่มีสินค้าส่งลูกค้า เป็นต้น
1.3 แยกชนิดการขัดข้อง หรือการ Breakdown ว่ามีกี่ชนิดมีกี่ประเภท ให้กำหนด Description หรือ Criteria ให้ชัดเจน
1.4 สำรวจสภาพปัจจุบันการขัดข้อง จำนวนการหยุดเล็กๆ น้อยๆ หรือ Minor stoppage ความถี่การเกิด เวลาต่อครั้ง ความรุนแรงหรือผลกระทบที่ได้รับ รวมถึงทำข้อมูลสถิติด้วยเพื่อ Support การทำ MTBF และ MTTR ใครที่งงกับตัวย่อต่างๆ ย้อนกลับไปอ่าน Part ที่ 1 และ 2 กันนะครับเราคงไม่ย้อนเพราะเนื้อหามันเยอะมาก
1.5 การตั้งเป้าหมายการบำรุงรักษาต้องชัดเจน คือ KPI ,KAI ต้องชัดเจนและสอดคล้องกัน รวมถึงจะต้องมีวิธีการวัดการประเมินที่มีประสิทธิภาพ (อย่างสูง) เพื่อให้ข้อมูลถูกต้องที่สุด การทำงานเชิงวิศวกรรม เราจะไม่มองว่าเมื่อก่อน เราทำอย่างไร หรือจากประสบการณ์เป็นอย่างไร เราจะมองที่ข้อมูลสถิติที่จับต้องได้เป็นตัวเลขชัดเจน และข้อมูลที่สามารถวิเคราะห์เชิงกายภาพได้
Step ที่ 2: การฟื้นฟูสภาพเสื่อมและการปรับปรุงจุดอ่อนของเครื่องจักร คือ
2.1 การฟื้นฟูสภาพเสื่อมหมายถึงการทำให้เครื่องจักรกับมาที่ Existing condition หรือกลับมาสู่สภาพพื้นฐาน กำจัดสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการเสื่อมสภาพของเครื่องจัก โดยจะสัมพันธ์ (Pillar linkage) กับเสา AM ในการทำช่วง Step 1 Step 2 และ Step 3
*** สามารถอ่านบทความ Step 1,2 และ 3 ได้ตาม Link ด้านล่าง : [ Chapter 7 ] 7 Step Autonomous Maintenance...เปลี่ยนพนักงานฝ่ายผลิต เป็นผู้ดูแลเครื่องจักรการผลิต https://www.blockdit.com/articles/5eb6b82e2e69d20ca325e084
2.2 ปรับปรุงจุดอ่อนและปรับปรุงเครื่องจักรเพื่อยืดอายุการใช้งาน คือการทำ Kaizen เพื่อลดปัญหาการขัดข้องของเครื่องจักร หรือการนำปัญหามาทำ FA Analysis เป็นต้น
2.3 มาตรการป้องกันการเกิดซ้ำของการขัดข้องที่รุนแรง ผ่านกิจกรรม Zero breakdown activity ไม่ว่าจะเป็นการทำ FMEA กับ Machine การทำ Kaizen การเขียน MP sheet โดยรวมถึงการใช้เทคนิคการวิเคราะห์ชั้นสูง เอามาแก้ไขปัญหาเรื้อรัง ด้วย PM Analysis เป็นต้น
จากที่กล่าวมาเพียงบางส่วนของ Step 1 และ 2 เท่านั้น ผู้อ่านสามารถนำไปปรับใช้ในการทำงาน หรือ TPM (PM) ในหน่วยงานของท่าน ส่วน Step 3-6 จะมาอธิบายใน Part หน้าต่อไป วันนี้สวัสดีครับ
บทความที่เกี่ยวข้อง
1. [ Chapter 14 ] PART 1 : PM Pillar - Planned แบบไหน Maintenance แบบไหนให้ซื้อใจเครื่องจักร https://www.blockdit.com/articles/5ec400935e3bb40c64eb1cbd
2. [ Chapter 14 ] PART 2 : PM Pillar - Planned แบบไหน Maintenance แบบไหนให้ซื้อใจเครื่องจักร
#นักอุตสาหกรรม , #TheSyndicate
โฆษณา