27 พ.ค. 2020 เวลา 03:51 • การศึกษา
วิวัฒนาการของตัวอักษรจีน 汉字的演变与发展
4
จีนมีประวัติศาสตร์ยาวนานถึง 5000 ปี กว่าจะมาเป็นตัวอักษรจีนที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ก็มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนามาตามยุคสมัย จนกลายเป็นที่ยอมรับและใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งตัวอักษรจีนมีวิวัฒนาการตามลำดับต่อไปนี้
1
1. 甲骨文 อักษรกระดองเต่า / อักษรบนกระดูกสัตว์ เป็นอักษรโบราณที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดส่วนมากอยู่ในรูปของบันทึกการทํานายที่ใช้มีดแกะสลักหรือจารลงบนกระดองเต่าหรือกระดูกสัตว์ มีลักษณะเป็นอักษรภาพ บางครั้งตัวอักษรเดียวกันแต่มีวิธีเขียนต่างกัน ยังไม่มีความเป็นเอกภาพ
1
甲骨文 อักษรกระดองเต่า / อักษรบนกระดูกสัตว์
2. 金文 อักษรโลหะ/สําริด มีความเป็นระเบียบมากกว่าอักษรในแบบแรก ใช้ในสมัยราชวงศ์ซางถึงราชวงศ์โจว มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งคือ 钟鼎文 หมายถึงอักษรที่หลอมลงบนภาชนะทองเหลืองหรือสําริด ตัวแทนภาชนะสําริดในยุคนั้นมี 鼎 ซึ่งคล้ายกระถางสามขา และตัวแทนจากเครื่องดนตรีที่ทําจากโลหะ คือ 钟 ระฆัง อักษรนี้มีลายเส้นที่หนาหนัก ร่องลายเส้นราบเรียบที่ได้จากการหลอม ไม่ใช่การสลักลงบนเนื้อโลหะ ส่วนมากเป็น คําสั่งการของชนชั้นผู้นํา พิธีการบูชาบรรพบุรุษบันทึกการทําสงคราม เป็นต้น
金文 อักษรโลหะ/สําริด
3. 篆书 อักษรจ้วน หลังจาก 秦始皇 ได้รวมแผ่นดินจีนเข้าด้วยกันในปี ค.ศ. 221 แล้ว จากนั้นก็ได้ทําการปฏิรูประบบตัวอักษรครั้งใหญ่ โดยสร้างมาตรฐานรูปแบบตัวอักษรให้เป็นหนึ่งเดียวกันทั่วประเทศ อักษรจ้วนมีรูปทรงอักษรเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าทรงสูง เป็นการสร้างพื้นฐานลักษณะ “อักษรสี่เหลี่ยม” ขนาดตัวอักษรสมํ่าเสมอเท่ากัน อักษรที่ดูเหมือนภาพวาดได้หายไป เป็นการปฏิรูปตัวอักษรจีนอย่างยิ่งใหญ่เป็นครั้งแรก และถือเป็นอักษรที่ใช้ทั่วประเทศจีนเป็นครั้งแรก
2
篆书 อักษรจ้วน
4. 隶书 ตัวอักษรลี่ซู มีการเปลี่ยนลายเส้นอักษรจากเส้นโค้งแบบ 小篆 มา เป็นเส้นตรง เปลี่ยนลายเส้นส่วนที่กลมมนเป็นหักมุม เน้นที่ความเรียบง่าย ซึ่งสมัยราชวงศ์ฉินใช้ทั้ง 篆书 และ 隶书 โดย 隶书 ไม่ถือว่าเป็นอักษรทางการ ในโอกาสที่เป็นพิธีรีตองจะใช้เฉพาะ 小篆 เท่านั้น 隶书 มีพัฒนาการมาเรื่อย ๆ จวบถึงสมัยราชวงศ์ฮั่นเรียกว่า 汉隶 ซึ่งเน้นลีลาความสวยงาม และประณีต พอถึงปลายราชวงศ์ฮั่นอักษร 汉隶 มีเหลี่ยมมุมคมชัดมากยิ่งขึ้น
1
隶书 ตัวอักษรลี่ซู
5. 草书 อักษรเฉ่าซูหรืออักษรหวัด (草 หมายถึง อย่างลวก ๆหรืออย่างหยาบ) อักษร 草书 เกิดจากการนําเอาลายเส้นที่มีแต่เดิมมาย่นย่อเหลือเพียงขีดเส้นเดียว ฉีกออกจากรูปแบบเดิมของกรอบสี่เหลี่ยมในอักษรจีน หลุดพ้นจากข้อจํากัดของขั้นตอนวิธีการขีดเขียนอักษรในแบบมาตรฐานตัวบรรจง ซึ่งตัวอักษรบรรจงอาจประกอบขึ้นจากลายเส้นสิบกว่าสาย แต่อักษร 草书 ใช้ เพียง 2 – 3 ขีดก็สามารถประกอบเป็นสัญลักษณ์เช่นเดียวกันได้
草书 อักษรเฉ่าซูหรืออักษรหวัด
6. 楷书 อักษรข่ายซูหรืออักษรบรรจง เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า 真书(อักษรจริง)หรือ 正书 (อักษรบรรจง)เป็นอักษรจีนมาตรฐานที่ใช้ในปัจจุบัน มีต้นกําเนิดในยุคปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออกแพร่หลายในสมยัราชวงศ์เว่ย จิ้นและ ราชวงศ์เหนือใต้ พัฒนามาจากพื้นฐานตัวอักษรแบบ 隶书 และ 草书 ลักษณะเด่นของ 楷书 คือมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขีดของอักษรเป็นระเบียบ เส้นพู่กันชัดเจน เมื่อเทียบกับอักษรรุ่นก่อนหน้าจะเขียนและอ่านง่ายกว่า ถือเป็นอักษรมาตรฐานของจีน
1
楷书 อักษรข่ายซูหรืออักษรบรรจง (อักษรที่ใช้ในปัจจุบัน)
7. 行书 อักษรสิงซูหรืออักษรหวัดแกมบรรจง เป็นตัวอักษรที่อยู่กึ่งกลางระหว่างอักษร 楷书 และ 草书 ปรากฏในสมัยราชวงศ์ เว่ย-จิ้น เป็นต้นมา 行书 เป็นตัวอักษรกึ่งหวัดกึ่งบรรจง กําเนิดขึ้นในราวปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก รวบรวมเอาจุดเด่นของอักษร 楷书 และ 草书 เข้าไว้ด้วยกัน แต่ไม่ประณีตบรรจงเท่า 楷书 และไม่หวัดเท่า 草书
行书 อักษรสิงซูหรืออักษรหวัดแกมบรรจง
อักษรโบราณ & อักษรปัจจุบัน 隶书 เป็นเส้นแบ่งระหว่างอักษรรุ่นเก่าและอักษรรุ่นใหม่ ยุคสมัยที่ถือเป็นอักษรโบราณได้แก่ 甲骨文、金文、小篆 ยุคสมัยที่ถือเป็นอักษรยุคปัจจุบันได้แก่ 隶书 และ 楷书 ส่วนอักษร 草书 และ 行书 เป็นเพียงพัฒนาการของรูปแบบตัวอักษรไม่ใช่วิวัฒนาการของตัวอักษรจีนโดยรวม
วิวัฒนาการของตัวอักษรจีน 汉字的演变与发展
สรุปย่อ
1. 甲骨文 อักษรภาพ บางครั้งตัวเดียวกันแต่เขียนต่างกัน ยังไม่มีความเป็นเอกภาพ
5
2. 金文 ลายเส้นหนาหนัก ร่องลายเส้นราบเรียบ มีระเบียบมากกว่าแบบแรก
1
3. 篆书 อักษรสี่เหลี่ยม ขนาดตัวอักษรสมํ่าเสมอเท่ากัน ใช้ทั่วประเทศจีนเป็นครั้งแรก
2
4. 隶书 เปลี่ยนจากเส้นโค้งเป็นเส้นตรง ส่วนที่กลมมนเป็นหักมุม มีเหลี่ยมมุมคมชัด เน้นความเรียบง่าย
3
5. 楷书 อักษรแบบบรรจง มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส เป็นอักษรจีนมาตรฐานที่ใช้ในปัจจุบัน
1
6. 草书 อักษรหวัด เอาลายเส้นที่มีแต่เดิมมาย่นย่อเหลือเพียงขีดเส้นเดียว
1
7. 行书 อักษรกึ่งหวัดกึ่งบรรจง
1
โฆษณา