1) การใส่หน้ากากเวลาออกจากบ้าน
• วันที่ 24-25 มีค = 94.97%
• วันที่ 8-14 พค = 91%
2) การล้างมือด้วยน้ำและสบู่
• วันที่ 24-25 มีค = 92.29%
• วันที่ 8-14 พค = 83.4%
3) การทำความสะอาดมือด้วยแอลกอฮอล์
• วันที่ 24-25 มีค = 86.10%
• วันที่ 8-14 พค = 83.4%
4) การเว้นระยะห่างทางสังคม
• วันที่ 24-25 มีค = 64.37%
• วันที่ 8-14 พค = 60.7%
5) การหลีกเลี่ยงใช้มือสัมผัสใบหน้า
• วันที่ 24-25 มีค = 59.72%
• วันที่ 8-14 พค = 52.9%
วินัยในการดูแลป้องกันตนเองในด้านต่างๆข้างต้น ลดลงตั้งแต่ 2.7-8.8% ซึ่งมีนัยสำคัญ เพราะเป็นการลดลงในทุกมาตรการ
เราลองมาดูกันนะครับว่า เมื่อการ์ดเริ่มตกลง อัตราการติดเชื้อรายใหม่ในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นอย่างไรบ้าง พบว่าในช่วงเดือนพฤษภาคมนี้ (1-26 พค) มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ทั้งสิ้น 90 ราย เฉลี่ยวันละ 3.46 ราย ซึ่งดูแล้วไม่ได้มากมายจนน่าตกใจแต่อย่างใด
ถ้าอย่างนั้น เราสรุปได้มั้ยว่าการลดการ์ดลงก็ไม่เห็นเป็นอะไรมาก ก็ลดต่อลงไปอีกหน่อยก็ยังได้ ตรงนี้คงจะสรุปง่ายๆอย่างนั้นไม่ได้ เนื่องจากเวลาที่มาตรการต่างๆเริ่มดำเนินการนั้น จะไม่ได้มีผลต่อการติดเชื้อเพิ่มทันที หากแต่ว่าต้องรอดูผลอย่างน้อยที่สุด 14 วัน เท่ากับระยะฟักตัวของโรค ในที่นี้ผลของพฤติกรรมที่ผ่อนคลายลงของประชาชนซึ่งทำการสำรวจช่วงวันที่ 8-14 พฤษภาคม 2563 จะมีผลกระทบต่อจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป
แต่ด้วยข้อมูลบางอย่างที่มีการพบเพิ่มเติม (แม้จะยังยืนยัน 100% ไม่ได้) ทำให้เราต้องพิจารณาด้วยความรอบคอบระมัดระวังมากขึ้น คือ
1) มีผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการ แต่แพร่เชื้อได้เพิ่มมากขึ้น
2) ระยะฟักตัวของโรค จากภูมิภาคต่างๆทยอยพบว่ามากกว่า 14 วัน
ด้วยปรากฎการณ์ดังกล่าวข้างต้น ทำให้มีการประมาณการทางสถิติว่า ระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับการดูผลกระทบของมาตรการต่างๆ อาจต้องขยับเพิ่มมากกว่า 14 วัน เช่น เป็น 28 วัน หรือ 42 วัน เป็นต้น
การติดตามดังกล่าวสอดคล้องกับการระบาดรอบสองใน 2 ประเทศสำคัญที่สามารถควบคุมโรคให้สงบรอบที่ 1 ได้ดีนานนับเดือน คือ ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ แต่เมื่อมีความจำเป็นต้องผ่อนคลายมาตรการลงบ้าง และค่อยๆติดตามดูอย่างใกล้ชิดก็พบว่าระยะเวลา 14 วันที่จะประเมินผลหลังมีมาตรการนั้นสั้นเกินไป ในที่สุดทั้งสองประเทศดังกล่าวก็เกิดการระบาดรอบ 2 ขึ้น ด้วยความรวดเร็วรุนแรงดังนี้