27 พ.ค. 2020 เวลา 05:42 • ธุรกิจ
กรณีศึกษา เหตุผลที่โบรคเกอร์ AECS ต้องหยุดกิจการ กับคำถามที่ว่า หุ้นและเงินในพอร์ต จะเป็นอย่างไร ❓
 
ข่าวใหญ่วันนี้ ‼️
บล.เออีซี หรือ AEC แจ้งตลาดหลักทรัพย์ โดยชี้แจงการแก้ปัญหาการระงับการดำเนินธุรกิจ เนื่องจากเงินสภาพคล่องสุทธิ (NC)และมีอัตราส่วนเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (NCR) น้อยกว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนด
ซึ่งก่อนอื่นขออธิบาย NC มันคือเงินทุนที่มีสภาพคล่อง ใช้สำหรับหมุนเวียนที่ใช้ในการทำธุรกิจหลักทรัพย์ ส่วน NRC นั้นก็คือสัดส่วนสภาพคล่องของทุนต่อธุรกรรมต่างๆที่ทำซึ่งต้องมีอยู่สูงระดับหนึ่ง เพื่อไม่ให้ธุรกรรมต่างๆมัน “ช็อต”
1
สาเหตุที่ทำให้เงินกองทุน NC และ NCR ของโบรกเกอร์ AEC ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด เนื่องจากว่าในการคำนวณเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิกำหนดให้บริษัทหลักทรัพย์ที่มีการลงทุนในสัดส่วนที่สูงเมื่อเปรียบเทียบกับ NC ของบริษัทฯ จะต้องคำนวณ Large Exposure Risk - "LER" หรือความเสี่ยงของสินทรัพย์ที่บริษัทถืออยู่ ซึ่งจะประเมินเป็น % ลดหลั่นกันไป เช่นเงินสด ตั๋วแลกเงิน พวกนี้จะ 100 % ในกรณีอื่นเช่น สินทรัพย์ลงทุน ลูกหนี้ต่างๆ ก็จะคิดลดลงมาตามความเสี่ยงของสินทรัพย์นั้นๆ
ความโชคร้ายของ AEC คือ ทางโบรคได้มีการลงทุนในหุ้นกู้ THAI (ที่ถูกลด credit rating จาก A เป็น C อย่างกะทันหัน) และหุ้นกู้อื่นที่ถือถึงแม้จะเป็น Investment grade ที่สูงมากในระดับไม่ต่ำกว่า BBB ถึง AA ได้แก่ หุ้นกู้ PTTGC SGP BAM BTS EA FPT ซึ่งเป็นหุ้นกู้ที่มีฐานะการเงินมั่นคงเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และหุ้นกู้ TUC ซึ่งเป็นหุ้นกู้ของบริษัท ทรูมูฟเอชยูนิเวอร์แซลคอมมิวนิเคชั่น จำกัด (เป็นบริษัทย่อยของบมจ.ทรูคอร์ปอเรชั่น สัดส่วนการถือหุ้นอยู่ 100%) และหุ้นกู้ TBEV ซึ่งเป็นหุ้นกู้ของบริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์
1
แต่ด้วยการลงทุนในหุ้นกู้ข้างต้นมีมูลค่าในแต่ละรายการในสัดส่วนที่สูงเกินกว่าร้อยละ 75 เมื่อเทียบกับ NC ของบริษัทฯ จึงเป็นเหตุให้บริษัทฯ ต้องคำนวณค่าความเสี่ยง LER ใหม่โดยปรับค่าความเสี่ยงของหุ้นกู้ที่มีการลงทุนในสัดส่วนที่สูงเกินกว่าร้อยละ 75 เมื่อเทียบกับ NC ของบริษัทฯ เป็น 100% ทำให้หุ้นกู้ดังกล่าวไม่สามารถนับเป็น liquid asset ตามหลักการ NC ได้ทั้งจำนวนถึงแม้ว่าผู้ออกหุ้นกู้ดังกล่าวยังมีฐานะการเงินมั่นคงและมี credit rating ดีและยังคงคาดว่าจะได้รับการชำระหนี้คืน
ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ระดับ NC และ NCR ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด จนเป็นเหตุให้บริษัทต้องหยุดการดำเนินธุรกิจชั่วคราว โดยต้องส่งแผนแก้ไขแก่ กลต. ภายในระยะเวลา 30 วัน
คำถามที่สำคัญคือ หุ้นและเงินสดที่อยู่ในพอร์ทจะเป็นอย่างไร ❓
หลายคนยังเข้าใจผิดว่าหุ้นที่เราซื้อขายอยู่กับ Broker ซึ่งแท้จริงแล้วแล้ว Broker เป็นแค่นายหน้าคอยอำนวยความสะดวกให้ จัดหาเครื่องไม้เครื่องมือให้ เป็นทางผ่านเพื่อให้ซื้อหุ้น TFEX ได้สะดวกยิ่งขึ่น
แต่หลักทรัพย์ที่เราถือจะไปอยู่ที่ ศูนยรับฝากหลักทรัพย์ TSD ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ ตลท. ซึ่งจะทำหน้าที่เก็บหุ้น และดูแลผลประโยชน์อื่นๆเช่นปันผล ของนักลงทุนทุกท่าน หุ้นที่ซื้อไว้ ไม่หายไปแน่นอน
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.set.or.th/tsd/th/tsd.html
ส่วนเงินสด(ถ้ามี) ส่วนนี้ยังคงอยู่ในบัญชีของ Broker ก็ได้รับความคุ้มครองตามกองทุนคุ้มครองผู้ลงทุนในหลักทรัพย์ (Securities Investor Protection Fund หรือ SIPF) ซึ่งเป็นกองทุนที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยร่วมกับบริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิก ของตลาดหลักทรัพย์ฯ ( โบรกเกอร์ ) จำนวนหนึ่งซึ่งสมัครเป็นสมาชิกของกองทุนฯ จัดตั้งขึ้น เพื่อเป็นหลักประกันความมั่นใจให้กับผู้ลงทุนที่ซื้อขายหลักทรัพย์ผ่าน โบรกเกอร์ที่เป็นสมาชิก กองทุนฯ ว่าจะได้รับความคุ้มครองทรัพย์สินที่มอบไว้ในความดูแลของโบรกเกอร์ที่เป็น สมาชิกกองทุน โดยได้รับการจ่ายเงินชดเชยจากกองทุนตามหลักเกณฑ์ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนด ซึ่งเป็นคนละส่วนกับ พรบ. คุ้มครองเงินฝาก
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.set.or.th/th/regulations/protection/sipf_p1.html
ซึ่งงานทางกลต. ก็ออกมาให้ข่าวว่าปัญหานี้เป็นปัญหาเฉพาะตัวของบริษัท การเงินภาพรวมของโบรคเกอร์ยังแข็งแกร่งยังไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนกฏเกณฑ์ใดๆ
ก็เป็นอีกหนึ่งกรณี ศึกษาว่าบริษัทการเงินขนาดใหญ่ ยัง “ล้ม” เพราะมีการประเมิน “ความเสี่ยง” ที่ตำเกินไป และอีกข้อที่สำคัญก็คือ “สภาพคล่อง” ที่ต้องมีในการทำธุรกิจ
1
สวัสดีครับ
ติดตามบทความดีๆของพวกเราได้ทาง WEBSITE
หรือ FACEBOOK เพจ หุ้นพอร์ทระเบิด
- - - -
ผู้สนับสนุน
สนใจเปิดพอร์ท หุ้น TFEX SBL BLOCKTRADE กับโบรคเกอร์ KTBST
ค่าธรรมเนียมเรทพิเศษ
พร้อมรับสิทธิพิเศษมากมาย
- ทีมงานมืออาชีพคอยให้บริการ
- โปรแกรม EFIN//ASPEN
- โปรแกรม SUPPORT อื่นๆเช่น MT4//MODEL TRADE//KTBST SMART และอื่นอีกมากมาย
กรอกรายละเอียดได้เลย 👇
โฆษณา