อัสนี วสันต์ โชติกุล
ตำนานที่ยังมีลมหายใจ
(ขออภัยถ้าอ่านไม่รู้เรื่อง ขอโทษครับ)
ที่มาของคำว่าจิ๊กโก๋อกหัก
.
ท่ามกลางกระแสคลื่นลมแห่งกาลเวลาที่ถาโถม หมุนเวียนเปลี่ยนผันทุกโมงยาม และทุกลมหายใจบนเส้นสายดนตรี มีนักดนตรีหน้าใหม่ไฟแรงมากมาย พยายามพาตัวเองเข้าสู่เส้นทางสายนี้ แต่จะมีสักกี่ศิลปินที่สามารถอยู่ยืนยง สร้างงานศิลปะแห่งเสียงเพลงเพื่อความสุขของคนฟังได้ยาวนาน จนถูกยกให้อยู่ในระดับ ตำนาน
. ✨✨✨
93 เพลง จาก 9 อัลบั้ม คือตัวเลขบ่งบอกผลงานของ อัสนี-วสันต์ ซึ่งตลอดระยะเวลากว่า 20 ปี ที่โลดแล่นอยู่บนถนนสายดนตรี..
สองพี่น้องจากที่ราบสูงผู้ซึ่งถ่ายทอด อารมณ์ ความรู้สึก รวมทั้งมุมมองความคิดผ่านท่วงทำนอง และดนตรีที่เป็นเอกลักษณ์ ทั้งเพลงเร็วจังหวะสนุกที่เต็มไปด้วยสีสัน มีชีวิตชีวา ชวนให้คนฟังสนุกนึกอยากจะขยับโยกย้ายทุกครั้งเมื่อได้ฟัง..
👸👸👸👸👸
ขณะที่เนื้อหา และลีลาการร้อง ไลน์กีตาร์บาดอารมณ์ รวมทั้งเนื้อหาที่ฟังดูจริงใจ คมคาย ในเพลงช้าก็เข้าบาดลึก สาแก่อารมณ์จิ๊กโก๋อกหักทั่วเมือง
สิ่งเหล่านี้พาให้ อัสนี-วสันต์ ข้ามขีดขั้นกาลเวลา ผ่านยุคสมัย และอยู่บนความนิยมได้ไม่เสื่อมคลาย
ถึงวันนี้เราขอพาย้อนสำรวจการเดินทางบนเส้นทางดนตรีของทั้งคู่ว่า กว่าจะยิ่งใหญ่ ขึ้นแท่นตำนานร็อคอย่างทุกวันนี้ พวกเขาผ่านอะไรมาบ้าง..
😎😎😎😎😎
เปิดประวัติ ตำนานร็อค
“ ป้อม” อัสนี โชติกุล เกิดวันที่ 9 เมษายน 2498 ขณะที่ โต๊ะ วสันต์ โชติกุล เกิดวันที่ 25 เดือน มีนาคม 2500 ทั้งคู่เป็นชาวจังหวัดเลย โดยกำเนิด และเติบโตในครอบครัวที่มีดนตรีอยู่ในหัวใจ มีคุณพ่อเป็นทนายอารมณ์สุนทรีย์ชอบเล่นไวโอลิน และเล่นประจำอยู่ในวงเครื่องสายไทยประจำจังหวัดเลยเป็นงานอดิเรก ส่วนคุณแม่เป็นคุณครู ที่รักการเล่นดนตรีเช่นกัน โดยครอบครัวอบอุ่นรักเสียงเพลง ครอบครัวนี้ มีทายาทด้วยกันทั้งหมด 4 คนด้วยกัน ซึ่ง ป้อม อัสนี เป็นพี่ชายคนที่สองในบ้าน ขณะ โต๊ะ วสันต์ เป็นทายาทคนที่ 3 ในจำนวน 4 คน ซึ่งก็ได้ซึมซับความชื่นชอบในดนตรีจากคนในครอบครัวมาเช่นกัน..
🤓🤓🤓🤓🤓
หลังจากจบการศึกษาชั้นมัธยม อัสนีเลือกที่จะมาผจญชีวิตในเมือง ซึ่งในเวลานั้นวสันต์ ผู้น้องเข้ามากรุงเทพฯ มาเรียนวิทยาลัยเพาะช่างอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งสองพี่น้องได้ฝึกปรือฝืมือทางดนตรีจนพอเล่นให้ความเพลิดเพลินกับผู้คนได้ จึงรับเล่นดนตรีตามผับ และร้านอาหารทั่วไป แนวเพลงโปรดของอัสนี คือ Rock’ n Roll ศิลปินต่างประเทศ อาทิ The Beatles และ Yes คือ คนที่อัสนีชื่นชอบในแนวดนตรี และฝีไม้ลายมือ ขณะที่ วสันต์ หลงไหลในความนุ่มนวล พริ้วไหวของแนวดนตรี โฟล์ค และแจ๊ส โดยลาร์รี่ คาร์ลตัน คือนักกีตาร์ แจ๊ส เป็นหนึ่งในนักดนตรีคนโปรดของเขา..
. 😻😻😻😻😻
สองพี่น้อง เล่นดนตรีตามผับอยู่พักใหญ่จึง เริ่มไขว่คว้าโอกาสแจ้งเกิด ด้วยการเข้าประกวด ในงานชิงแชมป์โฟล์คซองแห่งประเทศไทย เมื่อปี 2518 และด้วยฝีไม้ลายมือ และความคิดสร้างสรรค์ที่โดดเด่นของทั้งก็สามารถชนะใจคณะกรรมการ ทำให้พวกเขาคว้าแชมป์ในปีนั้นไปครอง ก่อนที่ อาจารย์วิมล จงวิไล หนึ่งในคณะกรรมการการตัดสินครั้งนั้น รู้สึกประทับใจในฝีมือทางดนตรีของสองพี่น้องจากเมืองเลยคู่นี้ จึงชักชวนให้ทำวง และเข้าห้องบันทึกเสียง และนี่… คือจุดกำเนิดของวง อิสซึ่น..
. . . . 💌💌💌💌
หลังจากหาประสบการณ์ดนตรีด้วยการนำเสนอแนวดนตรีโฟล์ค ร็อค และเล่นดนตรีกลางคืนกับวงอิสซึ่นได้ระยะหนึ่ง อัสนี หนึ่งใน 2 พี่น้อง ก็แยกตัวออกมาด้วยเพราะเหตุผลที่ อัสนีอยากจะค้นหาแนวทางใหม่ๆ ในการเล่นดนตรี ประจวบเหมาะกับที่ ‘เต๋อ’ เรวัต พุทธินันทน์ ที่ได้รู้จักพบปะกันตามประสาพี่น้องนักดนตรีก่อนหน้านี้ ได้ชักชวนให้มาเล่นกับวงดิ โอเรียนเต็ล ฟังค์ ทำให้อัสนีได้รับประสบการณ์ดนตรีอีกรูปแบบหนึ่ง ด้วยเพราะแนวทางของวง ดิ โอเรียนทัล ฟังค์ เน้นเล่นเพลงแนวฟังค์กี้ เต้นรำ..
🕺💃🕺💃👯
ขณะที่วสันต์ อยากจะโลดแล่นต่อไปในแนวทางดนตรีโฟล์ค ร็อค กับวงอิสซึ่น ต่อไป ซึ่งเขา และอิสซึ่นนำเสนอ ผลงานอัลบั้มออกสู่คนฟัง 5 ชุด โดยผลงานที่ถือว่าประสบความสำเร็จ และเป็นที่จดจำคือ ชุดสาวตางาม และสยามสแควร์ และในบางเพลงของอิสซึ่น ถูกนำมาเรียบเรียง และขับร้องใหม่ เช่น เพลง “หนึ่งมิตรชิดใกล้”..
💋💋💋💋
ในส่วนของอัสนี หลังจากที่เล่นหาประสบการณ์กับวงดิ โอเรียนทัล ฟังค์ จนถึงจุดที่สมาชิกแต่ละคนมีภาระหน้าที่ของตัวเอง และจำใจต้องแยกย้ายยุบวงไป ซึ่งด้วยการที่ป้อม อัสนี เป็นนักดนตรีที่ มุ่งมั่นตั้งใจหมั่นฝึกฝนและเรียนรู้สิ่งใหม่อยู่เสมอ แถมยังได้ขัดเกลาฝีมือทางดนตรีในช่วงที่เล่นอยู่กับวง ดิ โอเรียนทัล ฟังค์ ทำให้อัสนีกลายเป็นนักดนตรีระดับพระกาฬคนหนึ่งในวงการ จึงได้รับการทาบทามจากกลุ่ม “บัตเตอร์ฟลาย”ซึ่งเป็นกลุ่มคนดนตรีฝีมือระดับหัวกะทิในยุคนั้น มีสมาชิกวง อาทิ จิรพรรณ อังศวานนท์ สุรสีห์ อิทธิกุล ดนู ฮันตระกูล กฤษณ์ โชคทิพย์วัฒนา นำเสนองานดนตรี ร็อคที่เรียกได้ว่ามีคุณคุณภาพ และยังถือว่าโดดเด่น รวมทั้งแตกต่างในตลาดเพลง..
🌺🌺🌺🌺🌺
อัสนียังได้ร่วมกับกลุ่ม บัตเตอร์ฟลายแต่งเพลงโฆษณาอีกหลายเพลงให้กับสินค้ายี่ห้อดังต่างๆ นอกจากนี้รับเล่นดนตรีแบ็คอัพให้ศิลปินดังในยุคนั้น อย่าง วงฮ็อทเปปเปอร์ซิงเกอร์ ของ ปราจีน ทรงเผ่า ตลอดจนพลิกผันตัวเอง ขึ้นมารับบทโปรดิวเซอร์ให้กับศิลปินหลายต่อหลายคน เช่น ธเนศ วรากุลนุเคราะห์ ในอัลบั้ม “แดนศิวิไลซ์” ที่เดินทางไปบันทึกเสียงกันถึงประเทศอังกฤษ และอัสนียังได้สร้างให้วงไมโคร กลายเป็นวงอันดับขวัญใจวัยรุ่นอันดับหนึ่งพ.ศ. นั้น กับอัลบั้ม “ร็อค เล็กๆ”
🌬️🌁🌬️🌬️🌬️
“ดูโอร็อค อัสนี -วสันต์”
หลังจากผันตัวเองไปทำงานเบื้องหลังระยะหนึ่ง อัสนีก็ตัดสินใจ ทำผลงานเพลงตัวเองออกมา ดึงคราวนี้เขาได้ชวนวสันต์ มาร่วมผนึกกำลังเป็นนักดนตรีดูโอร็อค “อัสนี-วสันต์” นำเสนองานดนตรีชุดแรก “บ้าหอบฟาง” ในปี 2529 ซึ่งอัลบั้มนี้ได้รับการยอมรับจากนักวิจารณ์ว่า เป็นอัลบั้มที่ดีที่สุดชุดหนึ่งป้อม-อัสนีกลายเป็นผู้เปิดตลาดเพลงร็อค สร้างลีลาการร้องที่เป็นเอกลักษณ์ คือการลากเสียงยาว..
. 🤑🤑🤑🤑🤑
ในปี 2530 อัสนี-วสันต์ ปั้นอัลบั้ม “ผักชีโรยหน้า” ที่สร้างความสำเร็จ และชื่อเสียงอย่างล้นหลาม โดยเฉพาะเพลง กระแทกใจกลุ่มแฟนเพลง ที่เรียกตัวเองว่า “จิ๊กโก๋อกหัก”อย่าง “ก็เคยสัญญา” หรือเพลงรักนุ่มๆอย่าง “หนึ่งมิตรชิดใกล้” ซึ่งอัลบั้ม “ผักชีโรยหน้า” นี้ได้รับการยกย่องจากนักฟังเพลง และบรรดานักวิจารณ์ ในประเด็นที่ เนื้อหาเพลงสามารถสะท้อนสภาพสังคมได้อย่างคมคาย รวมถึงการคิดแนวทำนอง กีตาร์โซโลที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์
🛵🛵🛵🛵🛵
ถัดมาหนึ่งปี ทั้งคู่ได้ทำอัลบั้มใหม่ “กระดี่ได้น้ำ” และทยอยออกอัลบั้มใหม่ติดๆ กัน คือ “ฟักทอง” และ “สับปะรด” ในปี 2532 และ 2533 ตามลำดับ ซึ่งแต่ละอัลบั้มที่กล่าวมาก็สร้างเพลงฮิตอีกหลายเพลง สานต่อความสำเร็จได้อย่างต่อเนื่อง..
. 💯💯💯💯💯💯
ผลงาน
ปี 2517 - ชนะเลิศการประกวดชิงแชมป์โฟล์คซองแห่งประเทศไทย
ปี 2521 - เป็นโปรดิวเซอร์ อัลบั้ม "แดนศิวิไลซ์" ของธเนศ วรากุลนุเคราะห์
ปี 2529 - ออกอัลบั้มแรก "บ้าหอบฟาง"
ปี 2530 - อัลบั้ม "ผักชีโรยหน้า"
ปี 2531 - อัลบั้ม "กระดี่ได้น้ำ"
ปี 2532 - อัลบั้ม "ฟักทอง"
ปี 2533 - อัลบั้ม "สับปะรด"
ปี 2536 - อัลบั้ม "รุ้งกินน้ำ" รางวัลอัลบั้มยอดเยี่ยม สีสัน อะวอร์ด
ปี 2538 - ก่อตั้งบริษัท มอร์ มิวสิค จำกัด เครือแกรมมี่ ทุนจดทะเบียน 50 ล้านบาท
ปี 2540 - อัลบั้ม "บางอ้อ"
ปี 2545 - อัลบั้ม "จินตนาการ"
ปี 2549 - อัลบั้ม "เด็กเลี้ยงแกะ"
ปี 2550 - อัลบั้ม "พักร้อน" นำเพลงเก่ามาเรียบเรียงและร้องใหม่ ในแบบอคูสติก
🌹💐🥀🌷🌺🏵️
จากนั้นอัสนี-วสันต์ ได้ห่างหายจากการออกอัลบั้มไปนานถึง 3 ปี โดยให้เหตุผลว่า เป็นช่วงที่เขาต้องการพักเพื่อทบทวนตัวเอง และแสวงหาความแตกต่าง ให้กับผลงานชุดใหม่ และในที่สุดศิลปินอย่างเขาก็กลับมาสร้างสรรค์บทเพลงรับใช้สังคมในแง่มุมที่สนุกสนาน และคมคายได้อีกครั้ง ในอัลบั้มชุด “รุ้งกินน้ำ” ซึ่งอัสนีพยายามลดทอดบทบาทกีตาร์ลง และนำเครื่องดนตรีอื่นๆ เข้ามาเสริม เพื่อเฉลี่ยความน่าสนใจให้กับเครื่องดนตรีอื่นๆ รวมถึงเนื้อหา ซึ่งอัสนี-วสันต์ก็ทำได้อย่างลงตัว จนทำให้อัลบั้มนี้ ได้รับรางวัลอัลบั้มยอดเยี่ยมประจำปี 2536 จากสีสัน อวอร์ดส
ยืนหยัด ยืนยง สร้างคนดนตรี..
🦸🦸🦸🦸🦸
หลังจากผ่านการเดินทางนำเสนอผลงานทางดนตรี สั่งสมประสบการณ์และชื่อเสียงมาพอสมควร ในปี 2538 อัสนีจึงตัดสินใจเปิด บริษัท มอร์ มิวสิค เพื่อส่งเสริม สร้างสรรค์ ศิลปินรุ่นใหม่ๆ ซึ่งในที่สุดพี่ป้อมของน้องๆ นักดนตรี ก็กลายเป็นพี่ป้อมอยู่เบื้องหลังความสำเร็จของศิลปินร็อคหน้าใหม่ หลายต่อหลายคน ไม่ว่าจะเป็น โลโซ, แบล็คเฮด, ซิลลี่ ฟูลส์ และโจ-ก้อง และอีกมากมาย..
🎸🎸🎸🎸🎸
จนกระทั่งปี 2540 สองพี่น้องอัสนี-วสันต์ จึงได้ออกอัลบั้มร่วมกันอีกครั้งหนึ่ง ในชุด “บางอ้อ” และในปี 2545 สองพี่น้องเจ้าของตำนานร็อคจากที่ราบสูง ก็ได้ฤกษ์วางอัลบั้มชุดใหม่”จินตนาการ”
และในปี 2545 อัสนี-วสันต์ ได้ฤกษ์วางอัลบั้มชุดใหม่ “จินตนาการ” จากนั้นทั้งคู่ได้ว่าง เว้นการทำอัลบั้มไปถึง 4 ปี เพื่อค้นหาวัตถุดิบทางดนตรี ก่อนจะสร้างงานชุดใหม่ “เด็กเลี้ยงแกะ” ที่ยังคงเข้มข้นด้วยคุณภาพ ทั้งในแง่ของเนื้อหาที่สะท้อนมุมความคิดได้คมคาย ลึกซึ้ง แทรกอยู่ในท่วงทำนอง และดนตรีที่เป็นเอกลักษณ์..
🎉🎊🎉🎊🎉🎊
ถัดมาปี 2550 อัสนี-วสันต์ ได้หันมาทำอัลบั้ม Acoustic ชื่อ “พักร้อน” โดยให้เหตุผลว่า อยากลองหวนไปสู่จุดเริ่มต้นที่พวกเขาสองพี่น้องได้เริ่มพื้นฐานทางดนตรีด้วยแนวโฟล์คซอง ตั้งแต่
สมัยวง อิสซึ่น จึงขอนำความประทับใจ ความทรงจำดีๆ ในวันเก่าๆ
กลับมาร้องบรรเลงอีกครั้ง
นอกจากงานเพลงสะท้อนความเป็นอัสนี-วสันต์แล้ว ศิลปินจากที่ราบสูงยังทำงานเพลงเพื่อรับใช้สังคม ในวาระสำคัญต่างๆ อาทิ แต่งเพลงเชียร์ขาดใจ เพลงให้การแข่งขันกีฬาซีเกมส์ จ.เชียงใหม่ ปี 2538..
.. ⚽⚾🏀🏐🏈🎾🏸
เพลงสำเนียงประชาธิปไตย เพื่อรณรงค์ การเลือกตั้ง ปี 2548 และหากย้อนไปไกลถึง 20 ปี อัสนี ยังเคยสร้างสรรค์เพลงเพื่อส่งแวดล้อม ชื่อ “ชีวิตสัมพันธ์” ร่วมกับ คุณยืนยง โอภากุล ปี 2531 กลายเป็นเพลงระดับตำนานที่ใช้รณรงค์ สร้างจิตสำนึกให้ตระหนักถึงความสำคัญของ ธรรมชาติ ป่าเขา และสภาวะแวดล้อมมาจนถึงทุกวันนี้..
ผลงานเพลง “กรุงเทพมหานคร” จากอัลบั้มฝักทอง ที่โดดเด่นเรื่องการดีไซน์การร้อง และดนตรีนั้น เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ชาวไทยสามารถ จดจำชื่อเมืองหลวงของประเทศได้
”อัสนี-วสันต์ คอนเสิร์ต”
การแสดงสดที่ไม่เคยเสื่อมความนิยม
หากว่ากันด้วยเรื่องการแสดงสดแล้ว คอนเสิร์ต อัสนี-วสันต์ ถือว่าได้รับความนิยมจากแฟนเพลงล้นหลามทุกครั้ง ย้อนอดีตตั้งแต่ปี 2530 คอนเสิร์ต สงสารผักชี ที่ MBK Hall มาบุญครองเซ็นเตอร์ และคอนเสิร์ต เบื้อก ในปี 2531 ที่ระเบิดความสนุกปลุกให้แฟนเพลงที่แห่มาชมแน่น อินดอร์ สเตเดียม(อัสนี-วสันต์ เป็นหนึ่งใน 2 ศิลปินชาวไทยที่สามารถเปิดการแสดงในอินดอร์ สเตเดียม ในยุคนั้น) ประทับใจเป็นที่กล่าวขวัญถึงมาจน ทุกวันนี้..
. 🏅🏅🎖️🏆🥇🎗️
หลังจากนั้นอัสนี-วสันต์ ได้ยึดหัวหาด สนามกีฬาในร่มย่านหัวหมาก (อินดอร์ฯ) เปิดการแสดงคอนเสิร์ตมาต่อเนื่องอีก 2 ปี ทั้ง ตามหาฟักทอง ในปี 2532 และ ซิกัมซา ในปี 2533 ก่อนที่ อินดอร์ สเตเดียม จะเปิดซ่อม จึงย้ายวิคมาแสดงที่ MCC Hall เดอะ มอลล์ บางกะปิ ในปี 2541 กับคอนเสิร์ต เหมือนข้าวเย็น
ไล่หลังมา 3-4 ปี ประเทศไทยผุดอิมแพ็ค อารีน่า ฮอลล์ ขนาดยักษ์ที่สามารถจุคนได้เรือนหมื่น ซึ่งแน่นอนว่า ศิลปินสองพี่น้องจากที่ราบสูง ไม่พลาดมาเปิดการแสดงที่นี่ กับคอนเสิร์ต เส้นใหญ่ ในปี 2546..
🎸🎸🎸🎸🎸
กระแสความนิยมใน อัสนี-วสันต์ ยังไม่เสื่อมคลายง่ายๆ เพราะถัดมาเพียงแค่ปีเดียว พวกเขาจัดแสดงคอนเสิร์ตที่อิมแพ็ค อารีน่า อีกครั้ง เป็นคอนเสิร์ตเพื่อการกุศล Rock For The Queen ซึ่งพลังความเป็นศิลปินยังเรียกให้คนมาชมกันแน่นฮอลล์เช่นเคย..
ว่างเว้นจากการแสดงคอนเสิร์ตไป 3 ปี อัสนี-วสันต์ กลับมาเยือนอิมแพ็ค อารีน่า อีกครั้ง ในปี 2549 และเป็นการกลับมาอย่างยิ่งใหญ่บนเส้นทางการทำงานสายดนตรีตลอด 20 ปี กับ คอนเสิร์ต 20 ปี อัสนี-วสันต์ โดยเป็นศิลปินรายแรกที่สามารถเปิดการแสดงในฮอลล์ใหญ่เช่นนี้ โดยมีผู้ชมแน่นขนัดตลอด 3 รอบการแสดง..
เเละเมื่อวันที่ 17 พ.ย. ปลายปี 2550 ที่ผ่านมา อัสนี-วสันต์ ได้สร้างประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญ ให้วงการเพลงไทยด้วยการ เปิดคอนเสิร์ตสุดยิ่งใหญ่ “อัสนี-วสันต์ ร่ำไร คอนเสิร์ต” ในสนามกีฬาแห่งชาติ ราชมังคลา กีฬาสถาน เพลงที่เคยฮอต และอยู่ในความ ประทับใจ อาทิ “ยินดีไม่มีปัญหา” “บังอรเอาแต่นอน” “ได้อย่างเสียอย่าง ” “หัวใจสะออน” “เกี่ยวก้อย” “วัวลืมตัว” “แทนคำนั้น” และอีกมากมาย ถูกนำมาร้อยเรียง ร้องบรรเลงให้แฟนเพลงนับแสนคน ในสนามกีฬาแห่งชาติได้เก็บเกี่ยวความสนุก และเก็บเป็นความประทับใจไปอีกนานแสนนาน..
เเละนี้คือสไตล์เพลงจิ๊กโก๋อกหักอย่างแท้จริง
คริปภาพคอนเสิร์ต อัสนี วสันต์ 30ปี
เครดิตข้อมูล :
รักเอย..