Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ลายไทยเพื่อการอนุรักษ์
•
ติดตาม
29 พ.ค. 2020 เวลา 23:17
😍😊😗 กระจังรวนครับ 😗😍😊
😎 กระจัง เป็นลายไทยแบบหนึ่ง เป็นรูปบังคับเรียกว่าตัวกระจัง ลักษณะรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า คล้ายกลีบบัวหรือตาอ้อย ขอบด้านข้างมีรอยบากอย่างน้อยข้างละ ๑ รอย ตรงกลางมีไส้ทำเป็นรูปกลีบบัวหรือตาอ้อยขนาดย่อม ซ้อนลงอีกชั้นหนึ่ง ลายกระจังอาจนำไปผูกลายให้เป็นแบบต่างๆ ออกไปได้
😉 ลักษณะของลายกระจัง มีดังนี้
กระจังตาอ้อย เป็นลายกระจัง รูปร่างคล้ายตาตรงข้อของต้นอ้อยก่อนที่จะแตกเป็นลำต้นอ้อย ส่วนมากจึงเรียกแม่ลายนี้ว่า “กระจังตาอ้อย” เป็นกระจังขนาดเล็ก ใช้ติดเรียงเป็นแถวหน้า
😅 กระจังโกลน คือลายกระจังซึ่งเกิดจากการฉลุไม้ให้เป็นรูปทรงกระจัง แต่ไม่แกะหรือสลักลายละเอียด
😎 กระจังปฏิญาณ เป็นลวดลายที่ผูกขึ้นโดยอาศัยรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วเป็นรูปบังคับ ลักษณะคล้ายกระจังตาอ้อย ต่างกันตรงด้านข้างทั้งสองด้านแบ่งเขียนหรือปั้นเป็นตัวเหงาหันหน้าออกทั้งคู่ ส่วนปลายลวดลายเขียนอย่างปลายกระจังทั่วไป กระจังปฏิญาณมีขนาดใหญ่กว่ากระจังแบบอื่น มักทำไว้ที่หลังตู้ หลังเบญจา หลังฐานหรือแท่น ข้างฐานหรือแท่น เป็นต้น
😄 กระจังเจิม คือลายกระจังที่มีรูปร่างคล้ายกระจังปฏิญาณ แต่ขนาดเล็กกว่าและไม่สะบัดปลาย นิยมใช้เข้าชุดกับกระจังตาอ้อยและกระจังปฏิญาณในการตกแต่งประดับลายบนฐานต่างๆ เช่น เรียงเป็นแถวที่สองหลังกระจังตาอ้อย คือวางสับหว่างระหว่างตัวกระจัง แต่ต้องยึดทรงของสถาปัตยกรรมเป็นหลัก
😁 กระจังฐานพระ คือชุดเครื่องประดับเชิงกรอบหน้าบัน ทอดอยู่ระหว่างแปหัวเสากับปิดหน้าขื่อ กระจังฐานพระประกอบด้วยย่อเก็จเป็นกระเปาะอยู่ตรงส่วนกลาง ตอนบนของฐานพระเป็นกระจังปฏิญาณ ใต้ฐานพระส่วนใหญ่เป็นกระจังรวน
กระจังใบเทศ จัดอยู่ในประเภทกระจังตาอ้อย กระจังเจิม และกระจังปฏิญาณ แต่การผูกลวดลายละเอียด มีการแบ่งและบากเป็นลักษณะใบเทศ
🤣 กระจังฟันปลา คือกระจังที่มีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมเรียงต่อๆ กันไปอย่างฟันปลา แต่ไม่มีลวดลายภายใน “กระจังฟันหนึ่ง” ก็เรียก ถ้ามีรอยบาก ข้างละ ๑ รอย เรียก “กระจังฟันสาม” กระจังฟันสามนี้ถ้านำไปฉลุแล้วกรุด้วยกระดาษสีเรียกว่า “กระจังบายศรี” ถ้ามีรอยบาก ข้างละ ๒ รอย เรียก “กระจังฟันห้า” กระจังฟันปลาเหล่านี้ใช้มากในการกระหนาบแม่ลายในการแทงหยวก หรือกลบตีนลายในสิ่งก่อสร้าง และเป็นลายพื้นฐานสำหรับการแทงหยวก กระจังทั้ง ๒ แบบนี้จึงจัดอยู่ในประเภท “กระจังหยวก”
😍😊😗 กระจังรวน 😗😍😊 คือกระจังเจิมหรือกระจังปฏิญาณซึ่งทำให้ปลายปัดไปทางใดทางหนึ่ง บางทีก็ทำให้ปลายสะบัดอ่อนไหวคล้ายปลายกระหนก เนื่องจากกระจังแบบนี้ทำส่วนปลายปัดไปด้านข้างจึงทำให้ดูเอนไม่ตรง กระจังรวนนี้ใช้ประดับบนหลังหน้ากระดานข้างราชรถประกอบเกริน หรือใต้ฐานพระที่ส่วนล่างของหน้าบันเป็นต้น
😋 กระจังหลังฐาน คือชุดกระจัง ซึ่งประกอบด้วย กระจังตาอ้อย กระจังเจิม และกระจังปฏิญาณ ปักรายประดับตกแต่งบนหลังฐานต่างๆ เช่น รัตนบัลลังก์ ฐานเอวขันธ์ (ฐานรอบโบสถ์) ฐานเชิงเสา โดยปักอยู่บนลวดเหนือหน้ากระดาน มี ๓ แถว แถวหน้าปักกระจังตาอ้อย แถวที่ ๒ ปักกระจังเจิม แถวที่ ๓ ปักกระจังปฏิญาณเป็นชั้นๆ ขึ้นไป
😆 กระจังหลังสิงห์ คือชุดกระจัง ซึ่งประกอบด้วยกระจัง ๓ แถว แถวแรกเป็นกระจังตาอ้อยขนาดเล็ก แถวที่ ๒ เป็นกระจังตาอ้อยขนาดใหญ่ และแถวที่ ๓ เป็นกระจังเจิม กระจังชุดนี้ปักรายบนหลังฐานเท้าสิงห์ จึงเรียก กระจังหลังสิงห์
😘 กระจังหู เป็นคำใช้เรียกกระจังซึ่งมีลักษณะมองเห็นเป็นครึ่งตัว มักอยู่บนฐาน หรือหน้ากระดาน ตอนหักมุม หรือกระจังตัวสุดท้ายของลาย
สำหรับกระจังนี้น่าจะชื่อ กระจังรวนมาร์ชแมลโลว์ครับ😁
ที่มาข้อมูล สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคกลาง
มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์
http://www.sookjai.com/index.php?topic=59262.0
😍 ลายไทยเพื่อการอนุรักษ์ ไม่ใช้ในเชิงพานิชย์มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาแบบไม่แสวงหากำไร 😍
1 บันทึก
16
6
2
1
16
6
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย