4 มิ.ย. 2020 เวลา 11:00 • ธุรกิจ
ประกอบกิจการในรูปแบบของบุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคล มีข้อดีข้อเสีย อย่างไร?
2
สิ่งสำคัญในการทำธุรกิจคือการเลือกปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย ทั้งการขออนุญาต หรือจดทะเบียนการค้าต่างๆ สำหรับคนที่เริ่มกิจการใหม่ๆแบบไม่ใหญ่มากส่วนใหญ่จะใช้รูปแบบของบุคคลธรรมดา แต่ก็มีอีกหลายธุรกิจที่เลือกจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล www.ThaiSMEsCenter.com จะพาทุกท่านไปดูรายละเอียดถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลธรรมดากับนิติบุคคลว่าต่างกันอย่างไร และธุรกิจที่เราคิดทำเหมาะกับการจดทะเบียนแบบไหน
แบบบุคคลธรรมดา
ภาพจาก freepik.com
ข้อดี
1. ใช้คนในการเริ่มก่อตั้งกิจการได้ง่าย แค่เพียง 1 คนก็สามารถจดทะเบียนธุรกิจได้
2. สามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเอง มีความคล่องตัวในการตัดสินใจสูง
3. ไม่มีการแบ่งจ่ายเงินส่วนแบ่งของกำไร เจ้าของกิจการรับผลกำไรขาดทุนแต่เพียงผู้เดียว
4. ข้อบังคับทางกฏหมายมีน้อย
5. ค่าใช้จ่ายในด้านการบริหารต่ำ
3
ข้อเสีย
1. ไม่อาจระดมความคิดจากใคร ต้องคิดเอง ทำเอง ตัดสินใจด้วยตัวเอง ซึ่งอาจจะนำไปสู่การแก้ปัญหาที่ผิดวิธีหรือไม่ทันกับกระแสความต้องการในสังคมได้
2. เป็นการเสียภาษีแบบเหมาจ่าย โดยการนำรายได้ของปีนั้นๆมาหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาจ่ายตามแต่ลักษณะธุรกิจ เมื่อหักแล้วเหลือเท่าไรค่อยนำเอามาคำนวนเพื่อเสียภาษีแม้ในปีนั้นขาดทุน ก็ต้องเสียภาษี
3. อัตราภาษีแบบก้าวหน้าเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย 1 แสนบาทแรก ยกเว้นภาษี เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย 1 แสน-5แสนบาทเสียภาษี10% เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย 5แสน-1ล้านบาทเสียภาษี20% เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย 1ล้าน-4ล้านบาทเสียภาษี30% เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย4ล้านบาทขึ้นไปเสียภาษี37%
4. ไม่สามารถนำค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจมาลดหย่อนภาษีได้
5. ความน่าเชื่อถือต่ำ ก่อให้เกิดปัญหาในการติดต่อเจรจาโดยเฉพาะหากต้องแข่งขันกับพวกที่เป็นนิติบุคคล
6. การขอสินเชื่อทำได้ยากเนื่องจากการไม่มีงบการเงินและเอกสารอื่นๆ ทำให้ธนาคารไม่เข้าใจสถานะทางธุรกิจ
7. หากธุรกิจเกิดความเสียหายเจ้าของธุรกิจเป็นผู้แบกภาระทั้งหมดไว้แต่เพียงผู้เดียว ไม่สามารถกระจายความเสี่ยงได้
8. ตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชีไม่บังคับให้ต้องจัดทำบัญชี แต่ในทางภาษีอากรต้องจัดทำบัญชีเงินสด รับ-จ่าย โดยเฉพาะการเลือกหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร (ค่าใช้จ่ายจริง)
2
แบบนิติบุคคล
1
ภาพจาก freepik.com
ข้อดี
1. มีผู้ร่วมลงทุนมากกว่า 2 คนขึ้นไป ทำให้มีเสถียรภาพและมีความน่าเชื่อถือรวมถึงยังเป็นการสร้างรากฐานองค์กรที่แข็งแรงได้
2. ได้รับยกเว้นเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ให้แก่บุคคลธรรมดา
3. ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยซึ่งมีทุนที่ชําระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาทและมีรายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 30 ล้านบาท
4. สามารถรระดมเงินทุนจากผู้เป็นหุ้นส่วน หรือผู้ถือหุ้น ทำให้สามารถมีเงินทุนหมุนเวียนในกิจการได้สูง
5. มีการประชุมระดมความคิดมันสมองเข้ามาใช้ในการดำเนินกิจการ ทำให้เกิดความหลากหลายในความคิดและมุมมอง
6. กรณีประสบผลขาดทุนสุทธิก็ไม่ต้องเสียภาษี ก็จะสามารถยกผลขาดทุนสุทธิไปหักเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีต่อไปได้ ไม่เกิน 5 รอบระยะเวลาบัญชี
7. สามารถนำค่าใช้จ่ายมาลดหย่อนภาษีได้เช่นค่าเสื่อมสภาพเครื่องจักร ค่าอบรมพนักงาน เป็นต้น
8. สามารถขอสินเชื่อจากธนาคารได้ง่ายเพราะมีเสถียรภาพในด้านเอกสารและสถานะที่ทางธนาคารได้รับทราบตลอดเวลาทำให้เข้าใจสภาพขององค์กรเป็นอย่างดี
9. นิติบุคคลจะได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐอย่างสม่ำเสมอ เช่น มาตรการช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจต่างๆ , มาตรกรจากกรมสรรพากร เป็นต้น
10. ธุรกิจดูน่าเชื่อถือ ทำให้ง่ายต่อการติดต่อประสานงาน หรือติดต่อซื้อขายกับธุรกิจรายอื่นๆ
1
ข้อเสีย
1. การมีคณะกรรมการบริหาร มีการระดมความคิด อาจทำให้เกิดความล่าช้าในการตัดสินใจ และอาจนำไปสู่การทะเลาะเบาะแว้งภายในได้
2. มีคณะกรรมการบริหาร หากต้องมีการตัดสินใจที่สำคัญๆ ต้องขอมติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น อาจทำให้ขาดความคล่องตัว
3. หากมีผลขาดทุนจากการประกอบกิจการ อาจทำให้เกิดความขัดแย้งบาดหมางกันได้
4. ต้องมีหน้าที่จัดทำบัญชี และจัดให้มีการสอบบัญชีโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น
ทำธุรกิจแบบไหนควรเป็นบุคคลธรรมดา แบบไหนควรเป็นนิติบุคคล?
ภาพจาก freepik.com
บุคคลธรรมดาส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจทั่วไปที่ไม่ซับซ้อน เช่น ซื้อมาขายไป ร้านค้าออนไลน์ แต่ลักษณะการเสียภาษีจะสูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคล เพราะคิดตามอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามลำดับขั้นบันได ถ้ามีรายได้มาก ก็จะเสียภาษีมากตามอัตราภาษีสูงสุดของกำไรหลังหักค่าใช้จ่าย
 
ส่วนธุรกิจที่ควรเป็นนิติบุคคลคือกลุ่มที่เป็น SMEs เพื่อที่จะได้รับประโยชน์จากมาตรการของภาครัฐ เช่น สิทธิในการหักลดหย่อน ไม่ว่าจะมาจากค่าวิจัยและพัฒนา ค่าฝึกอบรมพนักงาน ค่าประกันภัยและค่าประกันชีวิตพนักงาน เป็นต้น โดยเฉพาะสิทธิลดอัตราภาษี แต่ต้องเป็นกลุ่มธุรกิจขนาดเล็กที่มีเงื่อนไขตามที่สรรพากรกำหนดไว้เท่านั้น คือ มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาทและมีรายได้น้อยกว่า 30 ล้านบาทต่อปี
 
เหตุผลที่การจดทะเบียนนิติบุคคลดูจะได้มีประโยชน์มากมายแต่หลายคนก็ไม่อยากทำ เป็นเพราะความเคยชินกับการเสียภาษีแบบบุคคลธรรมดา ซึ่งนั่นอาจเป็นสิ่งที่เหมาะสมสำหรับผู้เริ่มธุรกิจ แต่เมื่อธุรกิจเริ่มโตไปเรื่อยๆ แล้ว นั่นอาจไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุดไม่ว่าจะในแง่ภาษีหรือในแง่การลงทุนอีกต่อไป รวมถึงหลายคนมองว่ากระบวนการยุ่งยาก ซับซ้อน แต่ที่จริงการจดทะเบียนนิติบุคคลถ้าหลักฐานครบถ้วนสามารถทำเสร็จได้ภายใน 1 วันเท่านั้น
1
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaiseminar
อัพเดทและติดตามข่าวสารได้ที่
Line : @thaifranchise
Twitter : @thaifranchise
โฆษณา