Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
รู้ทั่วไป Whatever
•
ติดตาม
28 พ.ค. 2020 เวลา 10:50 • การศึกษา
ประเทศอินโดนีเซียใช้อักษรเกาหลีด้วยหรือ?
เด็กคนหนึ่งนั่งเขียนอักษรคันจิ อยู่ริมระเบียงหน้าบ้าน แต่เมื่อสังเกตให้ดีแล้ว ตัวอักษรที่เขียนนั้นไม่ใช่อักษรคันจิแม้แต่น้อย เพราะนั่นคืออักษรฮันกึลที่ใช้เขียนภาษาเกาหลี เพื่อนๆจะเห็นป้ายต่างๆที่เขียนด้วยอักษรภาษาเกาหลีเกือบทุกที่ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งในประเทศอินโดนีเซีย.
หมู่บ้านแห่งนี้ชื่อว่า หมู่บ้านการ์ยาบารู บนเกาะบูตน จังหวัดสุลาเวสีเต็งการา ประเทศอินโดนีเซีย จากเมืองเบาเบาเดินทางไปถึงหมู่บ้านแห่งนี้มุ่งหน้าสู่ตะวันออกเป็นระยะทาง 20 กิโลเมตร. มีประชากรที่อาศัยอยู่ที่หมู่บ้านแห่งนี้ประมาณ 80,000 คน ซึ่งเป็นชาวเจียเจีย.
ชาวบ้านที่นี่ ตั้งแต่เด็กเล็กจนถึงผู้ใหญ่ มีความคล่องแคล่วในการเขียนด้วยตัวอักษรเกาหลีเป็นอย่างดี เพื่อนๆจะเห็นป้ายบอกทางต่างๆที่เขียนด้วยอักษรเกาหลีแทบทุกที่ในหมู่บ้านแห่งนี้. บนป้ายบอกทางต่างๆจะเขียนเป็นอักษรละตินและจะมีอักษรเกาหลีตามมาด้วยเสมอ.
Photo : https://kumparan.com
ชาวเจียเจียแทบทุกครัวเรือนจะใช้อักษรฮันกึลในการเขียนภาษาของตนเอง. โรงเรียนที่หมู่บ้านแห่งนี้จะมีการเรียนการสอนการเขียนอักษรฮันกึล และเปิดสอนภาษาเกาหลีให้แก่เด็กมัธยม.
การเขียนในลักษณะนี้เกิดขึ้นช่วงแรกเริ่มปี 2000 ซึ่งนายกเทศมนตรี MZ. Amirul Tamin ท่านได้ดำรงตำแหน่งในสมัยนั้น. ท่านต้องการอนุรักษณ์ภาษาท้องถิ่นให้อยู่คงตลอดไป เพราะในปัจจุบันนี้ภาษาถิ่นในทุกส่วนของอินโดนีเซียเริ่มจะสูญหายไปตามกาลเวลา.
เหตุผลหลักก็คือชาวเจียเจียไม่มีระบบการเขียนในภาษาของตัวเอง จนถูกกลืนไปกับภาษาหลักของประเทศนี้ไป. นายกเทศมนตรี Amirul ท่านเริ่มตระหนักเรื่องภาษาของชาวเจียเจียที่ไม่มีระบบการเขียนเป็นของตัวเอง ท่านคิดว่าถ้าภาษาเจียเจียไม่มีระบบการเขียนแบบนี้ อีกต่อไปภาษานี้ก็อาจจะสูญหายไปได้.
Photo : https://kumparan.com
ด้วยเหตุนี้เองทางหน่วยงานของเมืองเบาเบา ได้สรรหาอักษรที่เข้ากับภาษาเจียเจีย ในเริ่มแรกระดมความคิดว่าจะใช้อักษรอาหรับเหมือนกับภาษาโวลีโย ( ภาษาส่วนใหญ่บนเกาะบูตน ) จากการวิเคราะห์แล้วอักษรอาหรับบางตัวไม่สามารถเทียบเสียงภาษาเจียเจียได้.
ในปี 2005 มีการทำงานร่วมกันกับ Masyarakat Pernaskahan Nusantara (Manassa) และมีการจัดประชุมสัมมนาเกี่ยวกับทรัพยากรสารสนเทศ ณ เมืองเบาเบา. ในการประชุมครั้งนั้นมีศาสตราจารย์ชุนเทฮยุน จากเกาหลีใต้ ท่านได้ฟังบรรยายแล้วรู้สึกสนใจเกี่ยวกับความหลากหลายของภาษาและประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นบนเกาะบูตนแห่งนี้.
ศาสตราจารย์ชุนเทฮยุน ใช้เวลาในการศึกษาเกี่ยวกับชาวเจียเจีย ซึ่งในตอนนั้นไม่มีระบบการเขียนเป็นของตัวเอง. ท่านมองว่าภาษาเจียเจียมีระบบการออกเสียงและโครงสร้างภาษาคล้ายกับภาษาเกาหลี. สามปีต่อมา มีองค์กรทางด้านสังคมจากเกาหลีใต้ ชื่อว่า Hunminjeongeum Research Institute. เดินทางมายังเกาะบูตนโดยการชักชวนของศาสตราจารย์ชุนเทฮยุน ทางด้านองค์กรเริ่มทำการเผยแพร่การใช้อักษรฮันกึลแก่ชุมชนชาวเจียเจียซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยเป็นเวลาหลายปี.
Photo : https://travel.tribunnews.com
หลังจากนั้นองค์กรจากเกาหลีใต้นี้ ได้ทำงานร่วมกันกับหน่วยงานท้องถิ่นในการทำสื่อการเรียนการสอนภาษาเจียเจียในรูปแบบการเขียนอักษรฮันกึล. ได้เปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาจนถึงมัธยมศึกษา. ตั้งแต่นั้นชื่อเจียเจียได้เป็นที่รู้จักในสากล ในประเทศเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และเดินทางข้ามทวีปไปถึงอังกฤษ และสหรัฐอเมริกา อีกด้วย.
จากการพัฒนาอักษรฮันกึลให้เข้ากับภาษาเจียเจียนั้น ทำให้ปัจจุบันนี้มีการแปลเอกสารภาษาเจียเจีย ไปเป็นสามภาษา ได้แก่ ภาษาอินโดนีเซีย ภาษาเกาหลี และภาษาอังกฤษ.
จากความพยายามดำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ชาวเจียเจียในการใช้ตัวอักษรเกาหลีนั้น นักเรียน ครู แม้กระทั่งหน่วยงานในเมืองเบาเบา ได้รับเชิญไปประเทศเกาหลี เพื่อเป็นประจักษ์ว่าภาษาเจียเจียได้ใช้อักษรฮันกึลในการเขียนเอกสารในภาษาเจียเจียแล้ว หลังจากนั้นครูจากเกาหลีใต้ได้ถูกส่งมาสอนหลักการเขียนอักษรฮันกึลให้แก่ชุมชน.
Photo : http://kenali-negrimu.blogspot.com
ภาษาแต่ภาษานั้นสำคัญต่อการพัฒนาสังคมและอนุรักษ์วัฒนธรรมของท้องถิ่นนั้นๆ เพื่อดำรงไว้ให้แก่เด็กรุ่นต่อไป
yas-generalknowledge.com
General Knowledge
เยี่ยมชม
9 บันทึก
100
19
8
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Diversity Of Culture
9
100
19
8
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย