28 พ.ค. 2020 เวลา 12:34 • ประวัติศาสตร์
เครื่องสำอางมีมานานแค่ไหนกันนะ?
เคยสงสัยเหมือนกันไหมคะว่า เครื่องสำอางที่เราใช้เพื่อเสริมความงามนั้นมีที่มาที่ไปอย่างไร วันนี้เพจ Legendary Girls ขอมาเล่าสู่กันฟังด้วยเรื่องราวอันน่าทึ่งของเครื่องสำอางตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันค่ะ
10000 ปีก่อนคริสตกาล
'Head Cones' by National Geographic
เมื่อประมาณ 10000 ปีที่แล้ว เครื่องสำอางถือว่าเป็นสิ่งสำคัญด้านสุขอนามัยและสุขภาพของชาวอียิปต์โบราณ พวกเขามักจะใช้น้ำมันหอมและขี้ผึ้งในการทำความสะอาดผิว คงความชุ่มชื้นให้กับผิว และปกป้องผิวจากแสงแดดและลมร้อน ส่วนผสมหลักของเครื่องหอมส่วนใหญ่มักจะเป็นของที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา อย่างเช่น ยางไม้หอมเมอร์ ดอกลาเวนเดอร์ โรสแมรี่ กุหลาบ ว่านหางจระเข้ เป็นต้น
4000 ปีก่อนคริสตกาล
'Cleopatra' by Henry Rider Haggard
4000 ปีต่อมา ผู้หญิงชาวอียิปต์จะใช้ทองแดงและตะกั่วผสมกับหินมาลาฮีทเพื่อแต่งเติมสีสันให้กับใบหน้า แฟชั่นยอดฮิตในยุคนั้นก็คือการแต่งตาเป็นรูปอัลมอนด์ โดยจะใช้โคห์ลที่ทำมาจากการเผาอัลมอนด์ให้ไหม้แล้วนำไปผสมกับแร่เหล็กหลากสี ตะกั่ว ขี้เถ้า ดินเหลือง และทองแดงที่ถูกออกซิไดซ์แล้ว
3000 ปีก่อนคริสตกาล
Chinese Hanfu
เมื่อ 3000 ปีก่อนในประเทศจีน หญิงสาวมักนิยมนำกัมหรือแป้งธรรมชาติ เจลาติน ขี้ผึ้ง และไข่ มาทาเล็บมือ นอกจากนี้สีเล็บที่แตกต่างกันยังถูกนำมาเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงชนชั้นทางสังคม เช่น หากเป็นคนในราชวงศ์โจวก็จะทาเล็บสีทองและเงิน
1500 ปีก่อนคริสตกาล
Kitagawa Utamaro, Edo
เครื่องสำอางยอดนิยมเมื่อ 1500 ปีก่อนคริสตศักราชของสาวๆชาวจีนและญี่ปุ่นก็คือแป้งฝุ่นที่ทำมาจากข้าว พวกเขามักจะใช้มันเพื่อทำให้หน้าขาว นอกจากนี้ยังมีการโกนขนคิ้วให้โล่งเตียน ทาฟันเป็นสีดำหรือสีทอง และย้อมผมด้วยสีย้อมที่ได้มาจากต้นเฮนน่า โดยจะมีสีน้ำตาลแกมแดง
1000 ปีก่อนคริสตกาล
'Mummy Portrait: Woman with Necklace' found 1887 in Er-Rubaiyat, Egypt
ชาวกรีกโบราณมักแต่งหน้าให้ขาวด้วยการใช้ชอล์กหรือตะกั่ว และยังมีการใช้ดินเหลืองผสมกับแร่เหล็กสีแดงเพื่อนำมาทำเป็นลิปสติกสีสันจัดจ้าน
ยุคคริสตกาล
'Mary in bath' in a book of hours (The Hague, KB, 76 F 21, fol. 15r)
เมื่อปีค.ศ. 100 ชาวโรมันใช้แป้งข้าวบาร์เลย์กับเนยเพื่อรักษาสิว และตกแต่งเล็บมือด้วยไขมันกับเลือดของแกะ นอกจากนี้การอาบโคลนยังเป็นที่นิยม และชายชาวโรมันบางคนยังชอบย้อมผมสีบลอนด์อีกด้วย
'A Bejewelled Maiden with a Parakeet' by Kamal Muhammad
ต่อมาปีค.ศ. 300 ถึง 400 เฮนน่าเริ่มเป็นที่นิยมในอินเดีย ชาวอินเดียมักจะใช้สีจากต้นเฮนน่าในการย้อมผมและทำเมเฮนดีหรือศิลปะที่มีการออกแบบที่ซับซ้อนบนมือและเท้า มากไปกว่านั้นเฮนน่ายังถูกใช้อย่างแพร่หลายในวัฒนธรรมแอฟริกาเหนืออีกด้วย
ยุคกลาง
‘The Perfume Makers’ by Rudolf Ernst
เมื่อปี ค.ศ. 1200 หลังจากสงครามครูเสด น้ำหอมถูกนำเข้ามาที่ยุโรปครั้งแรกจากแถบตะวันออกกลาง
The 'Darnley Portrait' of Elizabeth I (c. 1575)
เมื่อปี ค.ศ. 1300 แฟชั่นยอดนิยมในอังกฤษคือการย้อมผมสีแดง ผู้หญิงจะทาไข่ขาวบนใบหน้าเพื่อทำให้หน้าดูขาวซีด
ยุคฟื้นฟูศิลปะและวิทยาการ
The Armada Portrait of Elizabeth I of England By George Gower
เมื่อปี ค.ศ. 1400-1500 อิตาลีและฝรั่งเศสกลายเป็นศูนย์กลางการผลิตเครื่องสำอางในยุโรปแต่มีเพียงขุนนางชั้นสูงเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงได้ หญิงสาวชาวยุโรปมักจะทำให้ผิวของพวกเธอขาวขึ้นโดยใช้ผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย รวมถึงสีที่ทำมาจากตะกั่วขาว ว่ากันว่าสมเด็จพระราชินีนารถอลิซาเบธฯ ที่ 1 แห่งอังกฤษเป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องการใช้สารตะกั่วขาว จนทำให้พระองค์ได้รับการขนานนามว่า “หน้ากากแห่งความเยาว์วัย” นอกจากนี้ผมบลอนด์เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น โดยส่วนผสมที่ทำให้ผมมีความสว่าง แวววาวสม่ำเสมอก็คือกำมะถันดำ สารส้ม และน้ำผึ้ง
ยุคสมัยสากลของเครื่องสำอาง
Young Elizabeth l, on her coronation date January 15,1559
ในปี ค.ศ. 1800 (2343) สังกะสีออกไซด์ถูกใช้อย่างกว้างขวางในรูปแบบของแป้งทาหน้าที่ใช้แทนตะกั่วและทองแดง หนึ่งในส่วนผสมดังกล่าวคือ Ce-ruse ซึ่งทำจากตะกั่วขาวนั้นถูกค้นพบในภายหลังว่ามีพิษและส่งผลต่อสุขภาพ เช่น กล้ามเนื้อหน้าสั่นคล้ายกับเป็นโรคพากินสัน กล้ามเนื้ออัมพาต และเสียชีวิต
Earl Christy
100 ปีให้หลัง ในช่วงรัชสมัยของราชาเอดเวิร์ด ผู้หญิงวัยกลางคนเริ่มถูกกดดันให้มีรูปลักษณ์ที่ยังดูสาวเพื่องานบริการต่างๆ ดังนั้นเครื่องสำอางจึงถูกนำมาใช้มากขึ้น แต่ก็ยังไม่ถึงขนาดเป็นที่นิยม ร้านเสริมสวยเริ่มเข้ามามีบทบาทแต่ก็ยังไม่ได้รับการยอมรับมากมายนัก เป็นเพราะว่าผู้หญิงส่วนใหญ่ไม่อยากจะยอมรับว่าพวกเขานั้นต้องการตัวช่วยจากเครื่องสำอาง เวลาเข้าร้านเสริมสวยจึงมักจะเข้าจากทางประตูหลัง
ยุคสมัยแห่งการเติบโตของอุตสาหกรรม
L'Oréal ad from 1920's
ในปี ค.ศ. 1907(2450) Eugene Schueller นักเคมีชาวฝรั่งเศสผู้คิดค้นสีย้อมผมสังเคราะห์แนวใหม่ที่มีชื่อว่า "Oréal" หลังจากนั้น 2 ปี Schueller ได้ตั้งบริษัทของเขาเองโดยใช้ชื่อว่า Société Française de Teintures Inoffensives pour Cheveux หรือ L'Oréal ในปัจจุบัน
สงครามโลกครั้งที่ 1
Maybelline Bobby Pin Advertisement 1920
ปี ค.ศ. 1915(2458) นักเคมีคนหนึ่งชื่อ T.L. Williams คิดค้นมาสคาร่าขึ้น มันถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้น้องสาวของเขาที่ไม่มั่นใจในความงามของตนเองเพื่อเธอจะได้มีดวงตาที่สวยโดดเด่น
ยุคทองแห่งปี 20s
Vogue Magazine 1957
ในปี ค.ศ. 1920 (2463) Coco Chanel ทำให้เครื่องสำอางเป็นที่นิยมมากขึ้นด้วยการบุกเบิกการแต่งตาแบบสโมคกี้อายส์ ผิวแทน ทาลิปสติกและแต่งเล็บด้วยสีแดง นี่เป็นครั้งแรกที่เครื่องสำอางและน้ำหอมเป็นที่นิยมมากขึ้นในอเมริกา
Max Factor: 2011 Getty Images
ต่อมา Max Factor ผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องสำอางชาวอเมริกัน-โปแลนด์และอดีตราชวงศ์รัสเซีย คิดค้นคำว่า "แต่งหน้า" ขึ้นมาและแนะนำ Society Makeup ออกมาสู่สาธารณชนทั่วไป ทำให้ผู้หญิงสามารถแต่งหน้าเลียนแบบดาราภาพยนตร์ที่พวกเขาชื่นชอบ นอกจากนี้ Max Factor ได้เปิดตัวลิปกลอสตัวแรกเมื่อปี 1928 อีกด้วย
ยุคเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่
Esta boca es mía
ในปี 1930(2473) กระแสที่มาแรงที่สุดในปีนี้คงหนีไม่พ้นกับผิวสีแทนสุดเริ่ด ผู้หญิงส่วนใหญ่พยายามทำให้ผิวของพวกเธอเปลี่ยนเป็นสีแทนตามแบบ Coco Chanel ที่บังเอิญถูกแดดเผาขณะไปเที่ยวที่ฝรั่งเศส
Eugene Schueller
ในปี 1936 (2479) ผู้ก่อตั้ง L’Oréal หรือ Eugene Schueller พัฒนาครีมกันแดดตัวแรก
ยุค 80s
Madonna 1980
ในปี 1980 (2523) นั้นเป็นการผลิกโฉมหน้าประวัติศาสตร์ครั้งใหญ่ของเครื่องสำอางอีกครั้ง โดยเปลี่ยนแปลงจากการแต่งหน้าที่ดูเป็นธรรมชาติไม่แน่นมากมาเป็นสีสันสดใสซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมากจากซุปเปอร์สตาร์คนดังที่มีผลงานเพลงสุดฮิต Like a virgin อย่าง Madonna และ Cyndi Lauper นักร้องสาวเสียงหวาน ลุคสโมคกี้อายที่มีสีสันฉูดฉาด เช่น สีแดงม่วง สีฟ้า สีส้ม และสีเขียว เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในยุคนี้
ยุค 90s
ปี 1990 (2533) การทดสอบเครื่องสำอางโดยนำสัตว์มาเป็นหนูทดลองยังคงเป็นประเด็นที่เผ็ดร้อนในอุตสาหกรรมความงาม ในเดือนมิถุนายนปี 1989 Avon เป็นบริษัทเครื่องสำอางรายใหญ่รายแรกของโลกที่ประกาศยุติการทดสอบผลิตภัณฑ์โดยใช้สัตว์เป็นหนูทดลองอย่างถาวร
ปัจจุบัน
ปี 2004 (2547) สหภาพยุโรป (EU) ดำเนินการห้ามไม่ให้มีการทดสอบผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางโดยนำสัตว์มาเป็นตัวทดลอง
ปี 2015 (2558) เนื่องจากความกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้น อุตสาหกรรมเครื่องสำอางได้สนับสนุนการออกพระราชบัญญัติว่าด้วยการปลอดเม็ดไมโครบีดส์ในแหล่งน้ำหรือ Microbead-Free Waters Act ซึ่งว่าด้วยการห้ามไม่ให้มีการผลิตและจำหน่ายเครื่องสำอางล้างออกที่มีเม็ดพลาสติก
ล่าสุดในปี 2020 บริษัท เครื่องสำอางญี่ปุ่น “ชิเซโด้” ได้ประกาศกลยุทธ์ใหม่ในการรับมือกับผลกระทบจากการระบาดของโรค coronavirus หรือ COVID-19 หากบริษัทไม่ฟื้นตัวในช่วงต้นของปี 2564 ที่จะถึงนี้
References
ข้อมูลเพิ่มเติม:
โฆษณา