29 พ.ค. 2020 เวลา 03:09 • ครอบครัว & เด็ก
วิธีออมเงินแบบเด็ก ๆ
ถึงแม้ว่าเป็นเด็กก็สามารถออมได้ครับ ในทางกลับกัน
ออมไว้ตั้งแต่เป็นเด็กยิ่งดีครับ โตขึ้นเขาจะได้เงินของเขา เพิ่มขึ้นทำให้เขาภูมิใจครับ
1) ใช้เท่าไหร่ เหลือเงินหยอดกระปุก
จริงๆแล้วสมการการเงินก็คือ รายได้-เงินออม=รายจ่าย
ดังนั้นวิธีนี้จึงง่ายและเบสิกมาก เพราะว่าพอใช้แล้วเหลือเท่าไหร่ก็ให้กลับมาหยอดกระปุกที่บ้าน
ไม่ต้องคิดอะไรมากมาย
2) แบงค์ใหม่ เหรียญใหม่หยอดกระปุก
เป็นธรรมดาที่เด็กๆจะชอบของที่สีสันสวยงาม
เวลาได้แบงค์หรือเหรียญใหม่ๆก็เช่นกัน
ดังนั้นเก็บเลยครับ ยิ่งเก็บก็ยิ่งมีแต่แบงค์กับเหรียญ
ใหม่ๆเยอะๆ
3) เก็บเงินทอนที่เป็นเหรียญหยอดกระปุก
ถึงแม้จะเป็นแค่เงินทอนเล็กๆน้อยๆ
แต่ถ้าเราเก็บบ่อยๆก็กลายเป็นเงินก้อนใหญ่
ได้เหมือนกันนะครับ
4) ออมเงินวันละบาท
1 ปีก็ 365 บาท สามารถซื้อเครื่องเขียนแบบเรียน
ตอนเปิดเทอมได้เลยนะครับ
5) ออมเงินเพิ่มตามเลขวันที่
อันนี้คล้าย ๆ กับวิธีที่แล้ว แค่เปลี่ยนใหม่เป็นวันที่ 1 เก็บ 1 บาท วันที่ 2 เก็บ 2 บาท เพิ่มไปเรื่อย ๆ วันที่ 30 ก็เก็บ 30 บาท แล้วพอเริ่มเดือนใหม่ก็นับหนึ่งใหม่
พอครบ 1 ปี เราจะมีเงินมากถึง 5,738 บาท เลยนะครับ
ซึ่งถ้าเป็นผู้ใหญ่อยากให้ลองขั้น advance แบบนี้ดู คือ เก็บเพิ่มไปเรื่อย ๆ ไม่ต้องนับหนึ่งใหม่ คือวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ก็เก็บไป 32 บาท จนถึงวันสิ้นปีเก็บ 365 บาท ถ้าทำแบบนี้ได้ ใน 1 ปี จะมีเงินเก็บ 66,795 บาท
6) ไป supermarket เหลือเงินหยอดกระปุก
ข้อนี้คล้ายข้อ 1 ครับ แต่อันนี้ เราไปซื้อของนอกบ้าน
แค่นี้ครับ จะเหลือเก็บมากหรือน้อยก็ขอให้เก็บ
ไปเรื่อยๆครับสักวันก็จะกลายเป็นเงินก้อนโตเองครับ
7) ต้องมี proposal ก่อนซื้อ
เมื่อก่อนถ้าใครซื้อของแบบไม่คิด ให้ลองเปลี่ยนใหม่
ถ้าจะซื้ออะไรให้ลูกถามตัวเองก่อนว่าจำเป็นไหม
มันดียังไง ถ้าได้เหตุผลสัก 3 ข้อ ค่อยซื้อ
สุดท้ายถ้าเขาหาเหตุผลไม่ได้เดี๋ยวเขาก็ไม่ซื้อเองครับ
8. สมการออมเงินที่ถูกต้อง
“รายได้ – เงินออม = รายจ่าย” ข้อนี้อาจจะใช้กับเด็กที่โตหน่อย เพราะว่าเดี๋ยวเกิดออมก่อนแล้วไม่พอใช้
จะเกิดปัผญหาอื่นตามมานะครับ แนะนำว่าให้ใช้กับเด็กที่รู้จักบริหารจัดการเงินเองเป็นพอสมควรนะครับ
แต่ถ้าเด็กคนไหนทำได้ เขาจะสามารถกำหนดเอง
ได้เลยว่า 1 เดือนหรือ 1 ปี เขาอยากมีเงินเก็บเท่าไหร่
สรุปทั้ง 8 ข้อนี้ ขึ้นอยู่กับนิสัยของเด็กและ
การปลูกฝังของพ่อแม่ อาจจะทำได้บางข้อก็ตาม
ขอให้ได้เก็บไปเรื่อยๆจนเป็นนิสัย และปล่อยให้เงิน
โตตามวัยของเขาครับ
โฆษณา