29 พ.ค. 2020 เวลา 01:30 • ปรัชญา
สวัสดีครับ คุณผู้อ่านทุกท่าน วันนี้ผมได้มีโอกาสดูคลิปๆหนึ่ง ผู้บรรยายคือ robert waldinger เขาเปิดบรรยายด้วยคำถามที่ว่า
“ อะไรที่ทำให้เราแข็งแรง และมีความสุข ในการใช้ชีวิต “
หากตอนนี้จะต้องลงทุนสร้างตัวเองที่ดีที่สุดในอนาคต คุณจะใช้เวลาและพลังงานไปกับสิ่งใด เป็นคำถามที่ดีเลยนะครับ ว่าไหม
เร็วๆนี้มีการสำรวจคนยุค Millennials ถามพวกเขาว่า เป้าหมายสูงสุดในชีวิตคืออะไร
กว่า 80% ตอบว่า การมีฐานะที่ร่ำรวย และกว่า 50% ของคนกลุ่มนี้บอกว่า เป้าหมายอีกอย่างหนึ่งคือการมีชื่อเสียงโด่งดัง
เรามักจะถูกสอนว่าให้ทำงานหนักๆเพื่อที่จะประสบความสำเร็จมากขึ้นใช่ไหมครับ พวกเราถูกฝังหัวว่าสิ่งเหล่านี่เป็นสิ่งที่พวกเราต้องไขว่คว้าเพื่อที่จะมีชีวิตที่ดี
มันเป็นอย่างนั้นจริงๆหรือ บรรยายนี้มีคำตอบครับ...
จากการที่เขาได้ทำ วิจัยซึ่งวิจัยนี้เป็นแนวการวิจัยที่เรียกได้ว่า มีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมาก แต่โอกาสที่จะวิจัยสำเร็จมีน้อยกว่า เพราะอะไรหรอครับ ก็เพราะวิจัยนี้ กินเวลายาวนานถึง 75 ปี เก็บข้อมูลของผู้เข้าร่วมทดลองชายกว่า 724 คน และ ผู้เกี่ยวข้องกว่า 2000 คน ทั้งงบประมาณในการวิจัยที่มากมายมหาศาล เอกสารกว่าหมื่อฉบับ ใช่ครับพวกเขาทำสำเร็จ
โครงการ Harvard Study of Adult Development อาจเป็นวิจัยชีวิตมนุษย์ที่ยาวนานที่สุดเท่าที่เคยมีมา ปี 1938 พวกเขาได้เริ่มศึกษา ชีวิตของผู้เข้าร่วมวิจัย ซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือนึกศึกษาจากมหาวิทยาลัย Harvard ซึ่งพวกเข้าเหล่านั้นจบการศึกษาในปีที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 พอดีจากนั้นพวกเขาได้เข้าร่วมสงคราม และกลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มเด็กชายที่มีสถานะยากจนที่สุดในบอสตัน ได้มีการสัมพาษณ์พ่อ แม่ ครอบครัวของผู้เข้าร่วมวิจัย มีการตรวจสุขภาพต่างๆ และมีการทำแบบสอบถาม อย่างต่อเนื่องจวบจนเด็กชายเหล่านั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่
อะไรที่น่าสนใจรู้ไหมครับ ?
เด็กชายเหล่านั้นเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ในหลายๆรูปแบบ ทั้งพักงานโรงงาน ทนายความ ช่างปูน หมอ หนึ่งในนั้นเป็นประธานาธิบดีของสหรัฐในขณะที่อีกฝั่งก็มีเด็กที่เติบโตมาติดสุราเรื้อรัง บางคนเป็นโรคจิตเภท และอื่นๆ อะไรคือความแตกต่างของเด็กบางคนที่ไต่บันไดจากจุดที่ไม่มีอะไรไปจนถึงชนชั้นสูง ในขณะที่บางคนมีชีวิตที่ตรงกันข้าม
และจากผลการวิจัยกว่า 75 ปีนี้ ทำให้เห็นว่ามันไม่ได้เกี่ยวกับความร่ำรวย ความโด่งดังหรือ การทำงานหนักเลย แต่ข้อสรุปที่ได้จากการทำวิจัยกว่า 75 ปีนี้ คือ
ชีวิตที่ดี เกิดขึ้น จากความสัมพันธ์ที่ดี
ข้อคิด 3 ข้อที่เราได้เกี่ยวกับความสัมพันธ์คือ
1.ความสัมพันธ์ทางสังคม มีประโยชน์กับเรามากและความโดดเดี่ยวจะฆ่าเรา
กลายเป็นว่าคนที่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับครอบครัว กับเพื่อน คนรัก สังคม พวกเขาเหล่านั้นมีความสุข สุขภาพดี อายุยืนกว่าคนที่มีความสัมพันธืกับผู้อื่นน้อยกว่า และคนที่โดดเดี่ยวจะมีความรู้สึกที่เป็นพิษ กลายเป็นคนไม่มีความสุขสุขภาพเสื่อมตั้งแต่วัยกลางคน
แต่อย่างไรก็ตามคุณอาจรู้สึกโดดเดี่ยวทางกลางผู้คนมากกมาย หรือ โดดเดี่ยว ท่ามกลางชีวิตคู่ดังนั้น...
2.ไม่ใช่แค่จำนวนเพื่อนที่คุณมีและไม่ใช่แค่การมีความสัมพันธ์ที่จริงจัง สิ่งสำคัญคือ คุณภาพของความสัมพันธ์ใกล้ชิด
เราพบว่าคนที่อยู่ท่ามกลางความขัดแย้งส่งผลเสียต่อสุขภาพ เช่นการแต่งงานที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งบางทีการหย่าร้างกันอาจดีกว่าด้วยซ้ำ นอกจากนี้การวิจัยยังพบว่า แม้จะมีการเจ็บป่วยแต่ความสัมพันธืที่ดีจะเป็นเกราะป้องกันได้ดีกว่าการที่จะต้องโดดเดี่ยว ซึ่งจะยิ่งทวีความเจ็บป่วยให้มากขึ้น
3.ความสัมพันธ์ที่ดีไม่ได้ปกป้องแค่ร่างกายของคุณเท่านั้น ยังปกป้องสมองของคุณอีกด้วยจากการทดลอง ผู้ร่วมทดลองวัย 80 ยังคงมีความดีและเฉียบคมเกิดจากการที่เขามีความสัมพันธ์ที่ดีและมั่นคง พวกเขารู้สึกได้ว่าสามารถพึ่งพาอีกคนได้เมื่อต้องการกลับกันกับผู้ที่มีความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอีกคนไม่ได้ พวกเขามีความจำที่เสื่อมถอยกว่ามาก
แม้ว่าบางคู่นั้นจะทะเลาะกันบ่อยก็ตาม หากแต่รู้ว่าจะสามารถพึ่งพาอีกคนได้เมื่อต้องการก็เป็นผลดีต่อสุขภาพพวกเขาเช่นกัน
ดังนั้น จากที่เล่ามาทั้งหมด จึงสรุปได้ว่า
ชีวิตที่ดี เกิดขึ้น จากความสัมพันธ์ที่ดี ครับ
ขอบคุณที่อ่านมาถึงตรงนี้ หากใครอยากลองฟังคำบรรยาย ผมแปะลิ้งไว้ด้านล่างนี้ครับ
โฆษณา