29 พ.ค. 2020 เวลา 03:59 • การศึกษา
เราจะสอนวรรณคดีอย่างไรให้สนุก ไม่น่าเบื่อ ผู้เรียนชอบและสนใจที่จะเรียนรู้กับเรา
วันนี้เราจะมาแนะนำหนังสือและเทคนิคการสอนที่ทำให้ผู้เรียนอยากเรียนวรรณคดีที่ว่ากันว่าน่าเบื่อนักหนา ให้กลายเป็นวรรณคดีที่น่าอ่าน น่าเรียนรู้มากขึ้น ตามมาดูกันเลยค่ะ
#วรรณคดีไดเจสต์
คัดสรรความแสบจากเรื่องราวแซ่บ ๆ ในวรรณคดี
เหตุผลที่ทุกคนควรอ่านเล่มนี้ ไม่ใช่เฉพาะครูภาษาไทย เท่านั้น แต่เป็นหนังสือที่คุณคู่ควร เด็กอ่านได้ ผู้ใหญ่อ่านดี
เพราะวรรณคดีหลายเรื่องได้ถูกไดเจสต์ หรือย่อยเรื่องราว เนื้อหาที่สนุกมาเป็นหนังสือหน้าตาน่ารัก ภาพประกอบสุดเจ๋ง ให้คุณผู้อ่านได้อ่านและหัวเราะไปกับเรื่องราวนี้กัน
หลาย ๆ ท่านที่ไม่ได้คลุกคลีกับวงการวรรณคดีไทย เพียงแต่รู้เนื้อเรื่องคร่าว ๆ เท่านั้น เราก็ขอเเนะนำว่าให้เก็บเล่มนี้ไว้กับมือ เพราะบางเรื่องในวรรณคดี เราอาจไม่รู้ เช่น ...
- การเกิดสุดอนาถของตัวละคร
- 5 อันดับ นางในวรรณคดีที่ปากจัด (มาก) อ่านแล้วยิ้มจริง ๆ ค่ะ และคิดในใจว่า นางเอกก็ใช่จะเรียบร้อยเสมอไปนะ !
- ๔ เหตุผลที่ทำให้หนุ่ม ๆ ในวรรณคดีหันมาแต่งหญิง เป็นต้น
เราเชื่อว่าหากคุณผู้อ่านได้ลองอ่านหนังสือแล่มนี้แล้วจะไม่อยากวางลงเลย ด้วยเนื้อหาที่เข้มข้น ปนฮา และอาจทำให้ผู้อ่านหลาย ๆ คน ร้อง "เฮ้ย"
นอกจากนี้ หนังสือเล่มนี้การันตีได้ว่ามีคุณภาพ เพราะผู้เขียนเป็น ยูทูปเบอร์ในดวงใจของเรา ที่ขึ้นชื่อเรื่องว่าเป็นยูทูปเบอร์สายวรรณคดี Point of View ที่มีผู้ติดตามมากมายบทแพลตฟอร์มยูทูบ
และการวิเคราะห์ของผู้เขียนเอง ทำให้เรามองตัวละครในวรรณคดีที่หยิบยกมาได้หลากหลายมุม เป็นการฝึกคิดไปในตัวด้วย หนังสือเล่มนี้จึงเหมาะสมกับผู้เรียนที่สนใจในวรรณคดี และคุณครูที่อยากเปลี่ยนการสอนวรรณคดีที่น่าเบื่อ โดยย่อยให้น่าอ่านก็สามารถหยิบยกหนังสือเล่มนี้เป็นไอเดียในการสอนได้
เราวกกลับมากันที่เทคนิคการสอนวรรณคดีอย่างไรให้สนุกกันดีกว่าค่ะ
การจะสอนวรรณคดีให้สนุก ผู้เรียนได้ความรู้ ไม่ใช่สอนแต่เนื้อเรื่อง และฉันทลักษณ์การประพันธ์ หรือประวัติผู้แต่งเฉย ๆ
แต่เราต้องสอนผู้เรียนได้วิเคราะห์ มองวรรณคดีในแง่มุมอื่น ๆ บ้าง
เช่น การใช้ เทคนิคหมวก 6 ใบ หรือ Six Thinking Hat
เทคนิคนี้เหมาะกับผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลายไปจนถึงรับดับชั้นมัธยมเลยค่ะ
และเป็นเทคนิคที่ให้ผู้เรียนได้วิเคราะห์เรื่องราว เนื้อหาของวรรณคดีในแง่มุมต่าง ๆ ตามสีของหมวก
การฝึกให้ผู้เรียนได้วิเคราะห์วรรณคดีเช่นนี้ เป็นการฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ หรือ critical thinking ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญของผู้เรียนในยุค 4.0 นี้
ขอบคุณรูปภาพประกอบจาก
Point of View
#BOOVIBE
โฆษณา