29 พ.ค. 2020 เวลา 08:11 • สุขภาพ
ณ ตอนนี้ถือว่าเป็นช่วงโค้งสุดท้ายของมาตรการรับเงินเยียวยาจากโครงการ 'เราไม่ทิ้งกัน' ที่นำเสนอโดยรัฐบาลเพื่อเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ไวรัสระบาดทั่วโลก
โครงการเราไม่ทิ้งกันที่เปิดให้ลงทะเบียนมาตั้งแต่ช่วงเย็นของวันที่ 28 มีนาคม 2563 จนระบบล่มตั้งแต่ยังไม่เริ่ม เนื่องจากมีประชาชนเดือดร้อนต้องการเงินเยียวยากว่า 20 ล้านคน ทางกระทรวงการคลังจึงได้เพิ่มช่องทางรับเรื่อง 'เราไม่ทิ้งกัน' สำหรับประชาชนที่มีปัญหาในการใช้ระบบออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น สาขาของธนาคารกรุงไทย, ออมสิน และ ธ.ก.ส. ทั่วประเทศ รวมถึงศูนย์ดำรงธรรมอำเภอและจังหวัด โดยมีเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคอยให้คำแนะนำ และอำนวยความสะดวกให้อีกทางหนึ่งด้วย
ภายในเว็บไซต์เราไม่ทิ้งกันยังได้มีรายละเอียดเกี่ยวกับความคืบหน้าต่างๆ รวมทั้งเกร็ดความรู้เกี่ยวกับการรับเงินเยียวยา รายละเอียดเกี่ยวกับผู้พิทักษ์สิทธิ์มาตรการเยียวยา 5,000 บาท รวมทั้ง มาตรการดูแลและเยียวยาอื่นๆ และช่องทางการติดต่อสอบถามกรณีที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเอาไว้รองรับอีกด้วย
มาตรการเยียวยาด้วนเงิน 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือนรวมเป็นจำนวนเงิน 15,000 บาทในโครงการ 'เราไม่ทิ้งกัน' นั้นมีประเด็นมากมายตั้งแต่เริ่มเปิดโครงการมาจนถึงตอนนี้ โดยมีผู้ผ่านเกณฑ์รับเงินเยียวยาไปครบแล้ว 15 ล้านรายและยังมีผู้ที่ยังรอตรวจสอบสิทธิอยู่ในกลุ่มผู้ยื่นทบทวนสิทธิ 2.4 แสนรายโดยจำนวนนี้ยังไม่เสียสิทธิรับเงินเยียวยา
เหตุการณ์ไวรัสระบาดนั้นล่วงเลยมาเป็นเวลา 2 เดือนกว่าแล้ว รัฐบาลได้ผ่อนปรน 'Lockdown' บ้างและทำให้เริ่มมีหลายอาชีพที่สามารถกลับมาทำมาหากินได้ แต่ถึงแม้ว่าจะสามารถกลับมาทำมาหากินได้ก็ยังเจอพิษเศรษฐกิจทำให้ประชาชนไม่มีเงินมาใช้สอยได้เหมือนเดิมซ้ำยังมีหลายอาชีพที่ยังไม่สามารถกลับมาทำงานได้อย่างปกติ จึงทำให้เกิดคำถามขึ้นมาว่าเมื่อโครงการจบครบ 3 เดือนแล้ว จะหาช่องทางไหนมาเยียวยาปากท้องต่อกันดี
ถือว่าเป็นการย้ำเตือนใครหลายคน เมื่อเหตุการณ์ไม่ปกติคุกคามชีวิตแบบไม่ทันตั้งตัวทำให้เกิดปัญหาเรื่องการเงิน รายรับขาดหายไปรายจ่ายยังเท่าเดิม การวางแผนการเงินจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกท่านควรพิจารณาไว้
#เพื่อนวางแผน #moneycompanion
โฆษณา