ขยายความว่า
ขันธ์ ๕ คือเรา ไม่มีขันธ์๕ ไม่มีเรา แบ่งออกเป็นหมวดคือ
- หมวดกาย มีรูปเป็นที่ตั้งด้วยธาตุทั้ง๔ มีรูปที่ซ้อนด้านในเรียกอุปทายรูป(อาศัย) มี ๒๔ เป็นตัวการทำหน้าที่ให้ระบบธาตุ ๔ สมบูรณ์ เรื่องนี้กล่าวไปแล้วในจิตนิยามไปอ่านย้อนหลังได้นะคะ รูปอาศัยนี้ทางอายุรเวท และการแพทย์ทิเบตมักกล่าวไปในทางตรีธาตุ
- หมวดใจ ธรรมชาติเรามีจิตปรุงแต่งเรื่องราวต่างๆ มีจิตไว้สั่งกาย ดังนั้นตัวรู้ในจิตจึงมี ๔ กอง(หมวด) คือ
- กองเวทนาขันธ์๓ ทุกข์ สุข ไม่ทุกข์ไม่สุข(กาย-ใจ มีดีใจ เสียใจ เฉยๆ)
- กองสัญญาขันธ์๖ จำได้หมายรู้ทาง จักขุ โสต ฆานะ ชิวหา กาย และมโน
- กองสังขารขันธ์ เป็นคุณสมบัติของจิตปรุงแต่ง มี จิต เจตสิก ,ดี-ชั่ว,อกุศล,โสภณเจตสิก
- กองวิญญาณขันธ์ ความรู้แจ้งทางอารมณ์จากประสาททั้ง๕
ก็กล่าวไปแล้วเช่นกัน ถ้าขยายมากแบบธาตุวินิจฉัยเราก็ต้องเรียน จิตและเจตสิกกันต่อไป ในส่วนนี้ไม่ขอเล่าเพราะยากเกินไปค่ะ
เมื่อตั้งขึ้นแล้ว เราก็ขึ้นกับการเลี้ยงดูลักษณะนิสัย เรียก
- จริต ๖ ซึ่งในแผนโบราณท่านก็ให้ดูที่น้ำเลี้ยงหัวใจด้วยมี ราคะจริต โทสะจริต โมหะจริต สัทธาจริต พุทธจริต และวิตกจริต จริตเหล่านี้จะกลายเป็นนิสัยเราต่อไป
- เมื่อละไม่ได้ก็เกิดทิฏฐิ(เจตสิก) ๕๒ อย่างที่เราอาจไม่รู้ตัวเองเลย
- เมื่อสิ่งที่เราชอบและชังจะเกิดเป็นอคติ ๔ มีสอนไว้ในข้อเตือนใจหมอเมื่อเริ่มรักษาคนไข้ มี๑.ลำเอียง เพราะรักใคร่กัน เรียกฉันทาคติ ๒. ลำเอียง เพราะไม่ชอบกัน เรียกโทสาคติ ๓. ลำเอียง เพราะเขลา เรียกโมหาคติ ๔. ลำเอียง เพราะกลัว เรียกภยาคติ
- สิ่งที่กล่าวสรุปทางจิตมาเป็นมูลเหตุแห่งอกุศลด้วย โลภะ โทสะ โมหะ ถ้าเชื่อมกายในอุปทายรููปก็เป็นขบวนการตรีธาตุ คือ ปิตตะ วาตะ เสมหะ นั้นเอง(เป็นเรื่องจิตป่วยกายป่วย)
และต่อไปในแผนโบราณจะเรียกตัวรู้นี้ว่า อภิญญาณธาตุ
เมื่อเรียนรู้เรื่องนี้แล้ว มาเรียนลักษณะธาตุที่เป็นปรมัตตามหลักความจริงในเรื่องมองสภาวะธาตุเท่านั้น