30 พ.ค. 2020 เวลา 04:40 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
"Deflection ของ Retaining Walls"
การออกแบบกำแพงกันดินแบบในรูปที่ 1 มักจะใช้สมมุติฐาน active soil pressure กระทำต่อกำแพง กรณีไม่ปล่อยให้มีน้ำสะสมหลังกำแพง เช่นติดตั้ง weep holes, active soil pressure จะคำนวณมาจาก total unit weight ของดินถมหลังกำแพง
หากมีน้ำด้วย ท่านจะต้องแยกแรงดันดินแบบ effective และแรงดันน้ำออกจากกันเพื่อกระทำต่อกำแพง นอกจากนี้อาจมีแรงอย่างอื่นที่กระทำต่อกำแพงอีกเช่น แรงผลักจาก surcharge แรงด้านข้าง P และโมเมนต์กระทำ M แรง P และ M สามารถเกิดได้จากแรงลม
การคำนวณ deflection ของกำแพงมีประโยชน์ในการตรวจสอบ serviceability ของกำแพง รวมทั้งตรวจสอบสมมุติฐาน active soil pressure ที่ใช้ในการคำนวณ
ซึ่งสามารถทำได้อย่างรวดเร็วโดยอาศัยสูตรของคานยื่นในรูปที่ 2 ในการคำนวณ moment, shear รวมทั้ง deflection ผลของแรงกระทำใน 4 รูปแบบที่แตกต่างกันสามารถนำมารวมกันได้ด้วยหลักการ superposition
แรงกระทำที่ใช้คำนวณ deflection จะต้องไม่มีตัวคูณเพิ่มแรงสำหรับแรงดันดินและแรงดันน้ำ แต่ว่าหากเป็นแรงแบบ live load เช่นแรงผลักกำแพงจาก surcharge แรง P และแรง M ก็ต้องจำแนกก่อนว่า live load ใดเป็น live load หลัก และ live load ใดเป็น live load รอง และใช้ตัวคูณลดแรงตาม code เนื่องจาก live load เหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นพร้อมกันตลอดเวลา
รูปที่ 3 ใช้ตรวจสอบว่า active soil pressure สามารถ mobilize ได้จริงหรือไม่ ซึ่งขึ้นอยู่กับความแน่นของดินถมหลังกำแพง และ deflection ของกำแพงตามที่คำนวณได้ในรูปที่ 2 โดยทั่วไปแล้ว active soil pressure สามารถพัฒนาได้ง่ายกว่า passive soil pressure มาก
deflection ที่คำนวณได้เป็นของกำแพงอย่างเดียว ยังไม่ได้พิจารณา tilting ของทั้งระบบ
อย่าลืมตรวจสอบ overturning, sliding, bearing และ global stability ด้วยครับ
อ้างอิง
เพจวิศวกรรมฐานราก
โฆษณา