Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
วิรุฬหก
•
ติดตาม
31 พ.ค. 2020 เวลา 09:32 • ปรัชญา
แนวคิดหลังยุคนวนิยม (Postmodernism)
เรียกอีกชื่อว่า "แนวคิดหลังสมัยใหม่"
2
เป็นแนวคิดทางการเมือง ปรัชญา วัฒนธรรม สังคม ดนตรี และอื่น ๆ ที่ก่อตัวขึ้นโดยมีมุมมองที่ต่างออกไปจากมุมมองทางความคิดแบบเดิม ๆ ของโลก
3
ไม่ว่าจะแนวคิดลัทธิก่อนสมัยใหม่ หรือแนวคิดลัทธิสมัยใหม่
แนวคิดหลังสมัยใหม่ถูกจัดเข้ารวมกับทฤษฎีสายวิพากษ์ (Critical Theory/Critical Scholar)
การกำเนิดของแนวคิดหลังสมัยใหม่
ในช่วงปลายสมัยใหม่ของภูมิปัญญาตะวันตก มีความเชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างถูกสร้างขึ้นเพื่อความทันสมัย บางครั้งก็เรียกรวมๆว่าความคิดแบบสมัยใหม่นิยม (modernism)
กล่าวได้ว่าความคิดทันสมัยมีรากเหง้ามาจากทฤษฎีความคิดในยุคภูมิปัญญา (enlightenment)
2
มีแชล ฟูโก้ (Michel Foucault)
นักคิด นักปรัชญาการเมืองในยุคสมัยใหม่แข่งขันกันนำเสนอวิสัยทัศน์ที่เกี่ยวกับชีวิตที่ดี สังคมที่ดี ที่สำคัญคือ แนวคิดเสรีนิยม (liberalism) ที่เห็นว่าปัจเจกบุคคลต้องสละประโยชน์ส่วนตัว หาทางสร้างระบบการเมืองเสรีประชาธิปไตยขึ้นมารองรับ กับแนวคิดมาร์กซิสม์ ที่ต่างต้องการสร้างโลกใหม่ที่ไม่ตกอยู่ภายใต้การขูดรีดจากระบบทุนนิยม
ความเชื่อในยุคสมัยใหม่กล่าวได้ว่ามีศรัทธาแรงกล้าต่อความก้าวหน้า (idea of progress) การที่สังคมมีหลักพื้นฐานอันประกอบด้วยสัจจะ ค่านิยมหลัก และความเชื่อมั่นเรื่องสังคมก้าวหน้ารวมเรียกกันว่าแนวคิดสถาปนานิยม ที่พยายามสถาปนาความเป็นอันหนึ่งอันเดียวให้เกิดขึ้นในสังคม
ผ่านการสร้างค่านิยม, ความเชื่อต่างๆขึ้นมาครอบครองความคิดมนุษย์ในสังคม
ในเวลาต่อมาจึงเกิดความคิดหลังสมัยใหม่ (postmodern) ที่เสนอให้ปฏิเสธความแน่นอน หนึ่งเดียว นักคิดหลังสมัยใหม่ ปฏิเสธเรื่องสัจจะสมบูรณ์สูงสุดเป็นสากล โดยเห็นว่าเป็นเพียงการโอ้อวด แต่เสนอว่าไม่มีศูนย์กลางความเป็นหนึ่งเดียว และสังคมดำรงอยู่อย่างแตกต่างหลากหลาย (diversity)
ฌาร์ค แดร์ริดา (Jacques Derrida)
ความคิดและแนวคิดใดๆทั้งหมดเป็นเรื่องที่ได้รับการแสดงออกในรูปภาษา
โดยที่ภาษาหรือการใช้ภาษาสื่อความหมายนั้นล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ทางอำนาจอันซับซ้อน
ดังนั้นปรัชญาและทฤษฎีการเมืองจึงมิอาจอยู่เหนือ หรือตัดขาดจากความสัมพันธ์ทางอำนาจ เช่นกันกับมิอาจให้ความรู้ความเข้าใจได้ด้วยการเป็นกลางไม่โอนเอียง ทฤษฎีการเมืองหรือสัจจะหรือความรู้ใดๆเป็นส่วนหนึ่งโดยนัยของความสัมพันธ์ทางอำนาจที่นักวิชาการกำลังวิเคราะห์อยู่
นักคิดหลังสมัยใหม่จึงมีลักษณะตั้งข้อกังขาอย่างไม่ลดละต่อสภาพความเป็นจริงใดๆที่ดูหนักแน่นสมบูรณ์ และความเชื่อต่างๆที่พากันยึดถืออย่างไม่ลืมหูลืมตา
สิ่งสำคัญที่สุดที่ทำให้กล่าวกันว่าได้ก้าวเข้าสู่ยุคหลังสมัยใหม่ (postmodern era) คือความคิดที่ว่าสิ่งที่เป็นจริง (the real) กับสิ่งที่ปรากฏ (apparent) นั้นอาจไม่ใช่เรื่องเดียวกัน ซึ่งเป็นความคิดของฟรีดริช นิทซ์เช่ (Friedrich Wilhelm Nietzsche)นักปรัชญาอัตถิภาวะนิยม (Existentialism)
ฟรีดริช นิทซ์เช่ (Friedrich Wilhelm Nietzsche)
ซึ่งความคิดดังกล่าวเข้าไปมีอิทธิพลในวงการศิลปะในช่วงทศวรรษที่ 1920 กล่าวได้ว่าแนวคิดหลังสมัยใหม่ (postmodern) คือการเคลื่อนไหวทางความคิดและวัฒนธรรมที่ต่อต้านนิยาม, ความเชื่อ, ค่านิยม, จารีต, ประเพณีฯลฯ อาทิองค์รวม (totality), ความเป็นเหตุเป็นผล (rationality), ความเป็นสากล(universality), ความเป็นวัตถุวิสัย (objectivity) ฯลฯ
ซึ่งนักคิดหลังสมัยใหม่จะตั้งคำถามต่อสิ่งเหล่านี้ในฐานะที่ต่างเป็นเพียง “เรื่องเล่าหลัก (meta-narrative)” ที่เกิดขึ้นมาจากข้ออ้างของความเป็นสมัยใหม่ (modernity) ของแนวคิดสมัยใหม่ (modernism)
เช่นเดียวกับมิเชล ฟูโกต์ (Michel Foucault) ที่กล่าวว่า
มีแชล ฟูโก้ (Michel Foucault) เครดิตภาพ: https://blogazine.pub
วาทกรรมก็เป็นเพียงองค์ความรู้ทั้งหลายที่เชื่อถือกันมา
ซึ่งยังมีอิทธิพลอยู่ในปัจจุบันแต่ไม่มีทฤษฏีบทใดที่เป็นความจริง
“ทฤษฏีต่างๆล้วนเป็นวาทกรรม”
ความหมายของ Post-modern โพสโมเดิร์น เป็นแนวคิดที่เขี่ยกระแสให้เราตั้งคำถามย้อนกลับเข้าไปในตัวเอง เริ่มตั้งแต่คำว่า Post-modern ความหมายตรงตัวของมันเองก็คือ "หลังสมัยใหม่"
แต่มันก็ย้อนแยงในตัวเองตรงที่เนื้อหาของมันที่ไม่ใช่ประเด็นทางยุคสมัย ไม่ยึดติดอยู่กับความเป็นยุคสมัย ไม่ได้ก่อตัวขึ้นมาเพื่อสถาปนายุคใหม่สืบต่อ แต่ก่อตัวขึ้นมาภายในยุคสมัยใหม่ที่เรากำลังดำรงอยู่
เพื่อปะทะกับการดำรงอยุ่ของยุคสมัยใหม่ ท้าทายต่อองค์ความรู้ต่างๆที่ก่อตัวขึ้นมา เพื่อสร้างความเข้าใจในตนเองต่อยุคสมัยใหม่ โดยการวิพากษ์ความคิดของศิลปวัฒนธรรม สถาปัตยกรรม การเคลื่อนไหวทางสังคม และ เศรษฐกิจ-การเมือง
ซึ่งให้ความสำคัญกับการเปิดเผยสิ่งที่วาทกรรมทำให้ถูกมองว่ามันเป็นหนึ่งเดียว ว่าแท้จริงมันมีความเป็นชายขอบ ที่ถูกกลืน ถูกลดทอนไม่ให้ความสำคัญอยู่ข้างใน
*ความเป็นชายขอบ
คือ สถานะของการถูกกำหนดตัวตนในมิติสังคมอีกรูปแบบหนึ่ง
ให้มีความสำคัญเป็นเพียงกลุ่มหรือบุคคล
ที่ถูกลดคุณค่าจากตัวตนที่แท้จริงไปจากกลุ่มใหญ่ในสังคม
โดยกระบวนการของอำนาจที่มาจากศูนย์กลาง
เกริ่นๆไว้ก่อนนะครับ แฟนานุแฟนที่ติดตามสนใจปรัชญาทุกท่าน หากสนใจ ผู้เขียน จะนำแนวคิดจากนักปรัชญา Post-modern มานำเสนอต่อไป
ปรัชญา คือการตั้งคำถาม- ถามว่ารู้อะไร? ด้วยสมองหรือว่าสติปัญญา หรือว่าเรายอมสยบต่ออำนาจนิยมตั้งแต่ต้นแล้ว...
1.จันทนี เจริญศรี,(2544),โพสต์โมเดิร์นกับสังคมวิทยา.
2.ไชยันต์ ไชยพร, Postmodern: ชะตากรรมโพสต์โมเดิร์นในอุ้งมือ
นักปรัชญาการเมืองโบราณ : คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3. กีรติ บุญเจือ. ปรัชญาหลังนวยุค แนวคิดเพื่อการศึกษาแผนใหม่.
4. ม.ร.ว. รุจยา อาภากรและคณะ, อนาคตของโลกสมัยใหม่.
-วิรุฬหก-
19 บันทึก
21
2
24
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ปรัชญาสังคม Social and political Philosophy
19
21
2
24
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย