Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Academia
•
ติดตาม
31 พ.ค. 2020 เวลา 10:30 • การศึกษา
เทคนิคการเป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ที่ดี
อยากแบ่งปันประสบการณ์การเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ เห็นนิสิต นักศึกษาหลายคนเป็นกังวลเมื่อต้องเรียนในระดับบัณฑิตศึกษา ในช่วงปีแรกกับการเรียนรายวิชาต่างๆ และเมื่อขึ้นชั้นปีที่สองต้องทำวิทยานิพนธ์ เฉกเช่นการศึกษาเนื้อหา ตำรา งานวิจัยของผู้อื่นแล้ว ต้องมาพิสูจน์ด้วยตนเองว่างานที่ตนศึกษานั้นจะได้รับการยอมรับหรือไม่
การทำวิทยานิพนธ์เริ่มจากการค้นคว้าหาความรู้ สร้างโจทย์วิจัย แต่อย่างไรก็ตามการทำวิทยานิพนธ์ต้องมีอาจารย์ที่ปรึกษา ซึ่งเปรียบเสมือนพี่เลี้ยงทางวิชาการที่คอยให้ข้อเสนอแนะทั้งทางวิชาการและวิชาคน รวมทั้งต้องคอยให้กำลังใจและกระตุ้นให้ทำวิทยานิพนธ์อย่างต่อเนื่องจนกว่าจะบรรลุแต่ละขั้นของการเรียนรู้
วันนี้อยากแบ่งปันประสบการณ์ในฐานะที่เคยผ่านการทำวิทยานิพนธ์ และเมื่อต้องมาเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ เผื่อบางท่านจะได้นำไปใช้บ้างในโอกาสต่อไป จึงขอหยิบยกคุณลักษณะของการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ที่ดีมาฝากครับ
1. ต้องมีการวางเงื่อนไข (Conditioning) การวางเงื่อนไขในการรับข้อเสนอแนะ เงื่อนไขการส่งงาน และที่สำคัญอย่าลืมเสริมแรง เมื่อลูกศิษย์ทำงานได้ตามที่ตกลง แต่ถ้าหากไม่เป็นไปตามเป้าอาจมีการเสริมแรงทางลบบ้าง
2. ต้องเคารพผู้ที่มาปรึกษา (Respect) การจะเป็นที่ปรึกษาที่ดีต้องมีความเคารพในผู้ที่มาปรึกษา เพราะบางครั้งลูกศิษย์บางคนอาจอาวุโสและมีประสบการณ์มากกว่าเราในบางเรื่องก็เป็นได้ พึงระลึกเสมอว่าการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์คือการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างอาจารย์กับลูกศิษย์
3. ต้องตั้งใจรับฟัง (Listen) อย่าถือว่าอาจารย์มีความรู้มากกว่าลูกศิษย์เสมอไป การฟังอาจทำให้ได้ข้อคิดและเรียนรู้พัฒนาตนเองไปด้วย บางครั้งอาจต้องฟังเรื่องส่วนตัวบ้าง เรื่องชีวิตประจำวันบ้าง ถ้าหากมุ่งแต่จะถกหรือฟังวิทยานิพนธ์อย่างเดียวอาจทำให้เกิดความเครียดได้
4. ต้องมอบหมายงาน (Assign) ให้ลูกศิษย์ได้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมตามสมควร และทำตารางการทำวิทยานิพนธ์ เพื่อเป็นข้อกำหนดในการทำงานให้เสร็จทันตามเงื่อนเวลา ไม่ว่าจะเป็นการสอบเค้าโครง การสร้างเครื่องมือวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การเขียนวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ และการนำเสนอหรือเผยแพร่วิทยานิพนธ์ในรูปแบบบทความวิจัย
5. ต้องตั้งคำถามเป็น (Ask questions) คำถามกระตุ้นกระบวนการคิด ซึ่งช่วยพัฒนาวิธีการเรียนรู้ของนิสิต/นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาได้ดี คำถามควรกระตุ้นกระบวนการคิดขั้นสูง โดยเฉพาะ การคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ ฯลฯ ซึ่งหัวใจสำคัญของการศึกษาเล่าเรียนในระดับนี้ นอกจากจะพัฒนาวิชาการแล้ว ยังต้องพัฒนากระบวนการคิด กระบวนการทำงาน และกระบวนการใช้ชีวิต ซึ่งการตั้งคำถามจะช่วยพัฒนาศักยภาพให้เกิดการสะท้อนคุณลักษณะของความเป็นบัณฑิตศึกษา
1
6. ต้องมีจรรยาบรรณ (Be ethical) อาจารย์ที่ปรึกษาที่ดีต้องรักษาความลับความคับข้องกังวลใจของลูกศิษย์ได้ ไม่นำเรื่องราวของลูกศิษย์ไปเล่าหรือโพสต์ให้คนอื่นต้องรับรู้ฟัง ไม่นินทาว่าร้ายลับหลังลูกศิษย์ในเรื่องที่นำมาปรึกษา และต้องสอนลูกศิษย์ให้มีความซื่อสัตย์และมีจรรยาบรรณทางวิชาการ เช่น การไม่คัดลอกผลงานคนอื่น การไม่สร้างข้อมูลเท็จ การไม่มีวินัยในทางวิชาการ
จากที่กล่าวมาข้างต้น ผมหวังว่าจะเป็นประโยชน์และแนวทางพื้นฐานในการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ที่ดี และยังช่วยให้ลูกศิษย์ได้บรรลุศักยภาพของตนเองในการเรียนและการทำงาน รวมทั้งยังทำให้ลูกศิษย์สำเร็จการศึกษาตามที่หลักสูตรกำหนด ก่อให้เกิดความภูมิใจในตนเองและสถาบันที่ศึกษาด้วย
1 บันทึก
7
2
3
1
7
2
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย