Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
นายช่างรับประกัน
•
ติดตาม
1 มิ.ย. 2020 เวลา 01:56 • ธุรกิจ
3 เทคนิคในการประหยัดค่าไฟ
เครื่องปรับอากาศ คือ เครื่องทำความเย็น โดยการนำอากาศเย็นจากเครื่องปรับอากาศมาแลกเปลี่ยนความร้อนกับอากาศร้อนที่อยู่ในห้อง ทำให้อากาศในห้องเย็นลง
ดังนั้น สิ่งที่เราต้องพิจารณาคือ อะไรคือตัวที่ทำให้เกิดความร้อนในห้องบ้าง ถ้าเราเอาความร้อนออกจากห้อง หรือป้องกันความร้อนไม่ให้เข้ามาในห้องเพิ่มได้มากเท่าไหร่ ก็ย่อมทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานน้อยลง ค่าไฟก็ย่อมต้องลดลงด้วย และยิ่งเลือกเครื่องที่กินกำลังไฟน้อยก็ช่วยให้ประหยัดไฟได้อีกต่อหนึ่ง
เห็นไหมครับ มีหลายวิธีที่เราสามารถนำไปจัดการให้ค่าไฟของเราลดลงได้อย่างแน่นอน ได้เวลาไปดูกันแล้วว่า มีรายละเอียดอะไรบ้าง
เทคนิคที่ 1: ป้องกันไม่ให้ความร้อนเข้ามาในห้อง
1.1 ผนังห้อง
ผนังห้อง เป็นตัวกั้นไม่ให้ความร้อนเข้ามาในห้องได้ แต่ตัวมันเองยังมีคุณสมบัติในการถ่ายเทความร้อนอยู่ จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่ประเภทของวัสดุที่ใช้ ซึ่งถ้าอากาศอีกฝั่งหนึ่งของผนังมีอุณหภูมิสูงกว่าอากาศฝั่งในห้องแล้ว ผนังจะถ่ายเทความร้อนจากอีกฝั่งเข้ามาในห้อง
… ฟังดูอาจจะไม่รู้สึกเท่าไหร่ แต่จะบอกว่า มันเป็นตัวหลักสำคัญของการคำนวณปริมาณความร้อนที่เครื่องปรับอากาศต้องใช้เลยล่ะ เพราะผนังมันจะถ่ายเทความร้อนอย่างต่อเนื่อง จนกว่าอากาศทั้งสองฝั่งของผนังจะเท่าหรือใกล้เคียงกัน
… ตอนนี้หลายๆคนคงเห็นแล้วว่า มันแทบเป็นไปไม่ได้เลย ที่ผนังทั้งสองฝั่งจะมีอุณหภูมิเท่าหรือใกล้เคียงกัน เพราะอุณหภูมิในห้องเราเปิดเครื่องปรับอากาศ เพื่อให้อุณหภูมิลดลง อากาศในห้องจะได้เย็นกว่าข้างนอกงัย
… ไม่ต้องตกใจไปครับ แม้จะบอกไว้ก่อนหน้านี้ว่า วัสดุแต่ละประเภทจะคุณสมบัติในการถ่ายเทความร้อนแตกต่างกัน ในอีกมิติหนึ่ง เราเรียก คุณสมบัติการถ่ายเทความร้อนว่าเป็น คุณสมบัติในการป้องกันความร้อน ได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับประเภทของวัสดุที่ใช้ทำผนังนั้น มีคุณสมบัติในการป้องกันความร้อนได้มากน้อยต่างกันไป
ในที่นี้ เราจะไม่พูดถึงผนังกั้นระหว่าง อากาศภายในห้อง กับ อากาศภายในบ้านหรือตัวอาคาร เพราะเราถือว่าอุณหภูมิอากาศภายในบ้านหรือตัวอาคาร ไม่สูงมาก เมื่อเทียบกับอุณหภูมิของอากาศภายนอกบ้านหรือตัวอาคาร
ดังนั้น เราจะพูดถึงเฉพาะผนังที่กั้นระหว่าง อากาศภายในห้อง กับ อากาศภายนอกบ้านหรือตัวอาคาร ซึ่งมีอุณหภูมิสูงกว่ากันค่อนข้างมากเป็นนัยสำคัญ
คอนกรีต
ใช้อิฐแดง อิฐมวลเบา ผนังสองชั้น ค่า k แตกต่างกัน ความสามารถในการป้องกันความร้อนก็ต่างกัน
กระจก
ติดฟิล์ม แบบสองชั้น ค่า k ไม่ดีเท่าไหร่ แต่สวยงามกว่า เห็นวิวข้างนอก แต่เวลาใช้งานต้องระมัดระวังมากกว่านิดหน่อย
ฉากกั้นห้อง
ราคาถูก กันความร้อนไม่ดีเท่าไหร่ แต่ก็ถือว่า ช่วยได้เยอะ มีดีกว่าไม่มี
โฟม
น้ำหนักเบา กันความร้อนได้ดี
1.2 เพดานหรือหลังคาห้อง
เพดาน
สำหรับห้องที่ไม่ได้อยู่ชั้นบนสุดของบ้านหรืออาคาร ถ้าเราไม่กั้นฝ้าเพดาน ก็เท่ากับเราทำความเย็นของห้องทั้งหมด ถ้าห้องสูง 3 เมตร เราก็ทำความเย็นทั้ง 3 เมตรเลย แต่ถ้ากั้นฝ้าเพดานลงมาเหลือ 2.7 เมตร เท่ากับเราลดภาระของเครื่องปรับอากาศลงมากได้ถึง 10% โดยประมาณ
หลังคา
หลักที่ใช้พิจารณาคือ อยู่ชั้นบนสุดของบ้านหรืออาคาร หรือเปล่า ถ้าใช่ ก็ต้องเข้าใจก่อนว่า เพดานห้องนั้นติดต่อกับอากาศภายนอก ที่มีอุณหภูมิสูงกว่ามาก โดยเฉพาะในเวลากลางวัน เวลาเที่ยงถึงบ่ายสองโมง ซึ่งความร้อนจะถูกถ่ายเข้ามาในห้องอย่างต่อเนื่อง ทำให้ห้องนี้จะกินไฟมากกว่าห้องอื่นที่เหมือนกันทุกอย่าง
แม้อย่างนั้น เราก็ยังสามารถหาวัสดุมาช่วยป้องกันการถ่ายเทความร้อนเข้ามาในห้องผ่านฝ้าเพดานได้ หลากหลายรูปแบบ แล้วแต่ประเภทของวัสดุ ยิ่งป้องกันได้ดี ราคาก็ยิ่งสูงต
สำหรับห้องที่อยู่ชั้นบนสุดของบ้านหรืออาคาร มีวัสดุหลากหลายสามารถนำมาใช้ป้องกันความร้อนจากหลังคาลงมายังห้องได้
1.3 ทิศ
ทิศที่ส่งผลให้ความร้อนถ่ายเทเข้ามาในห้องได้มากที่สุด คือ ทิศตะวันตก ครอบคลุมไปถึงทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และทิศตะวันตกเฉียงใต้ ส่งผลถึงค่าไฟของเครื่องปรับอากาศแบบมีนัยสำคัญมากๆ
ดังนั้น แนะนำว่า เลี่ยงได้ให้เลี่ยง เลี่ยงไม่ได้ก็ยอมเสียเงินกับการหาวิธีป้องกันความร้อน ไม่ให้เข้ามาถึงตัวบ้านหรือตัวอาคารได้ง่ายๆ เช่น ปลูกต้นไม้ที่ให้ร่มเงาเยอะๆ แต่ถ้าปลูกไม่ได้ก็ให้ใช้กระจกติดฟิล์มอย่างดีที่กันความร้อนได้มากสุด
เทคนิคที่ 2: เอาความร้อนออกจากห้อง
การใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ในห้องที่ต้องการทำความเย็น เป็นการเพิ่มปริมาณความร้อน ทำให้เครื่องปรับอากาศต้องใช้ไฟในการนำความร้อนออกจากห้องมากขึ้น ซึ่งทำให้เสียค่าไฟมากขึ้นนั่นเอง เครื่องใช้ไฟฟ้าอะไรบ้างที่เพิ่มความร้อนเยอะๆ ลองนึกไปด้วยกันนะครับ เช่น
เตารีด
ลองนึกดูนะครับว่า ตอนรีดผ้ามีความร้อนออกมามหาศาลเลย จริงไหมครับ ถ้ารีดผ้าในห้องที่เปิดเครื่องปรับอากาศ จะทำให้เครื่องทำงานหนักเพิ่มขึ้นอีกเยอะเลยจริงมั๊ย ค่าไฟก็ไม่ต้องพูดถึง พุ่งปรี๊ดแน่นอน
เครื่องซักผ้า, เครื่องอบผ้า, ตู้เย็น, ไมโครเวฟ, หม้อหุงข้าว, หม้อทอดไร้น้ำมัน, เตาอบ, กาต้มน้ำร้อน, หม้อสุกี้, คอมพิวเตอร์, โน๊ตบุ๊ค, หลอดไฟ ฯลฯ จะเห็นว่า เครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้ ส่งออกความร้อน หรือระบายความร้อนจากตัวเองออกมา จะมากน้อยแล้วแต่ประเภท เพื่อระบายความร้อนที่เกิดขึ้น เป็นการป้องกันไม่ให้ตัวมันเองพังด้วย
ดังนั้นเราควรนำเครื่องใช้ไฟฟ้าออกจากห้อง แต่ถ้าพื้นที่จำกัดจำเป็นต้องเอาเครื่องใช้ไฟฟ้าไว้ในห้อง ก็อย่าเปิดใช้งานขณะเปิดเครื่องปรับอากาศ หรือให้ใช้งานหลังจากปิดแอร์แล้วก็จะดีที่สุด แต่ถ้าไม่ได้จริงๆ ก็ให้ใช้งานก่อนเปิดเครื่องปรับอากาศนานๆ
เครื่องใช้ไฟฟ้าที่สามารถนำมาไว้ในห้องได้
เรามาดูกันว่า เครื่องใช้ไฟฟ้าอะไรบ้างที่เราสามารถนำมาไว้ในห้องได้ เช่น พัดลมดูดอากาศ เหมาะมากสำหรับใช้ดูดความร้อนออกจากห้องก่อนเปิดเครื่องปรับอากาศ ซึ่งช่วยลดภาระค่าไฟได้พอสมควร แต่ถ้าเปิดพร้อมกับเครื่องปรับอากาศ แม้ตัวมันเองจะไม่ได้กระจายความร้อนให้ห้อง แต่มันนำอากาศที่อยู่ภายนอก ซึ่งมีอุณหภูมิสูงเข้ามาในห้อง เป็นการเพิ่มความร้อนให้กับห้องในทางอ้อม ที่สำคัญยังนำฝุ่นและความชื้นเข้ามาเพิ่มในห้องด้วย
นอกจากนั้นก็เป็นเครื่องฟอกอากาศ ที่เหมาะสำหรับเอาไว้ในห้อง เพื่อเพิ่มคุณภาพของอากาศให้เราหายใจได้สะอาด และปลอดภัยต่อสุภาพร่างกายมากขึ้นด้วย
เทคนิคที่ 3: เลือกประหยัดไฟ เบอร์ 5 ( 1-2-3 ดาว )
3.1 อินเวอร์เตอร์
จริงๆ แล้ว เครื่องปรับอากาศที่เป็นแบบอินเวอร์เตอร์ ได้เข้ามาในเมืองไทยยี่สิบกว่าปีแล้ว แต่เข้ามาในรูปแบบของ ระบบที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ที่เรียกว่า Variable Refrigerant Flow (VRF) หรือ Variable Refrigerant Volume (VRV) ซึ่งใช้คอมเพรสเซอร์แบบอินเวอร์เตอร์ และใช้คอมพิวเตอร์เชื่อมต่อเพื่อควบคุม สั่งการ และแก้ปัญหาได้ด้วย ไว้มีโอกาสจะมาเล่าเรื่องนี้ให้อ่านต่อไปนะครับ
หลังจากระบบดังกล่าวได้เข้ามาทำตลาดในเมืองไทยอย่างจริงจัง สัก 4-5 ปี ก็ได้โอกาสที่เครื่องปรับอากาศขนาดเล็ก แบบติดผนัง คอมเพรสเซอร์แบบอินเวอร์เตอร์ ได้ถูกนำเข้ามาทำตลาดซะที ถึงตอนนี้ก็ไม่ต่ำกว่า 15 ปีแล้ว ทั้งๆที่ตอนนั้นในประเทศญี่ปุ่น เขาใช้ระบบอินเวอร์เตอร์กันเกิน 90% แล้ว
ประเด็นปัญหาของอินเวอร์เตอร์ที่ได้ยินมา มี 2 อย่าง คือ ไม่เย็น/ไม่ฉ่ำ กับ แผงคอนโทรลราคาสูง เรามาดูอย่างแรกคือ ไม่เย็น/ไม่ฉ่ำ อันนี้แน่นอนครับ เพราะอินเวอร์เตอร์เขาจะปรับเปลี่ยนปริมาณน้ำยาให้เหมาะสมกับความร้อนที่อยู่ในห้อง ซึ่งข้อนี้กลายเป็นข้อดีที่สุดของระบบนี้ เพราะมันทำให้ประหยัดค่าไฟมากๆๆๆ ส่วนประเด็นที่สอง แผงคอนโทรลราคาสูง ผมถามหน่อยว่า ปกติแผงมันก็จะมีระยะเวลารับประกันอยู่ และไม่ได้เสียง่ายๆ บางครั้งอาจเกิดจากระบบไฟฟ้าขัดข้อง หรือเกิดน้ำกระเด็นเข้าไปตอนล้างแอร์ก็ได้
ดังนั้น แนะนำให้เลือกเครื่องปรับอากาศแบบอินเวอร์เตอร์ ที่ได้ 1-2-3 ดาว ยิ่งดาวเยอะแสดงว่า ยิ่งประหยัดไฟเยอะ
3.2 การใช้งาน
หลักที่กระทบกับค่าไฟ ก็คือ การตั้งอุณหภูมิ แนะนำให้ลองปรับอุณหภูมิลงไปที่ต่ำสุดก่อน แล้วค่อยๆปรับอุณหภูมิขึ้นมาเรื่อยๆ ทีละหนึ่งองศา แล้วคอยดูว่ายังเย็นอยู่หรือเปล่า ถ้ายังเย็นอยู่ก็ปรับขึ้นไปอีกหนึ่งองศา ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนถึงอุณหภูมิที่เรารู้สึกว่า ไม่ค่อยเย็นแล้ว ก็ปรับลงไปที่จุดที่เราเย็นสบาย แม้อุณหภูมิที่เราตั้งสำหรับอินเวอร์เตอร์อาจจะต่ำกว่าแบบทั่วไปที่ไม่ใช่อินเวอร์เตอร์ก็ตาม ค่าไฟก็จะกินตามปริมาณความร้อนที่มีอยู่เท่านั้น
3 บันทึก
17
13
7
3
17
13
7
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย