2 มิ.ย. 2020 เวลา 01:00 • การศึกษา
อาทิตย์ที่แล้วได้มีโอกาสนั่งเรียนและทำ workshopกับ Dan Roam ผู้พัฒนากระบวนการสื่อสารเรื่องนวัตกรรมต่างๆ ผ่านภาพ ซึ่งทำให้เรื่องยากๆ เข้าใจได้ง่ายๆ โดยวิธีการก็ไม่ซับซ้อน จึงขอนำมาสรุปให้เพื่อนๆใน BD เผื่อเป็นประโยชน์นะครับ
คุณแดนเป็นผู้เขียนหนังสือ “Back of the napkin” และเคยช่วยให้คำปรึกษาทีมงานประธานาธิบดีโอบามา เพื่อให้สื่อสารกับประขาชนได้ง่ายขึ้นในเรื่องเกี่ยวกับโครงการสุขภาพ
....
คุณแดนได้เรียนรู้วิธีการสื่อสารด้วยภาพมาตั้งแต่เด็กๆครับ
เพราะเค้าเคยมาเป็นนักเรียนเเลกเปลี่ยนที่เมืองไทย
แต่โชคชะตาเล่นตลก ต้องเปลี่ยนครอบครัวอุปถัมภ์กระทันหัน
แน่นอนครับว่าครอบครัวใหม่ พูดภาษาอังกฤษไม่ได้เลย
แกจึงใช้การวาดภาพในการสื่อสารกับครอบครัวและ
พัฒนาจนนำมาใช้ในการสื่อสารเรื่องยากๆ ที่ซับซ้อน
ให้เข้าใจได้ง่ายๆ
....
คุณแดนทำได้ไง? เราตามไปดูพร้อมกัน
สิ่งที่คุณแดนค้นพบก็คือ สมองของเรามีส่วนประกอบที่ใช้ในการประมวล ตีความเกี่ยวกับรูปภาพมากถึง 2/3 ซึ่งทำให้การสื่อสารด้วยภาพเข้าถึงผู้คนได้เป็นอย่างดี
คุณแดนสร้างกระบวน สำหรับสื่อสารนวัตกรรม หรือโครงการต่างๆ ด้วยภาพ โดยมีวิธีการก็คือ
1. โครงสร้างของนวัตกรรมที่จะเล่า
คุณแดนแบ่งโครงสร้างของนวัตกรรมไว้สามส่วน ซึ่งคุณแกเรียกว่า the innovation equation ประกอบด้วย
• ส่วนที่เป็นอยู่ ณ ปัจจุบัน (แทนด้วย 🔲)
• ส่วนที่เราจะเปลี่ยนแปลง (แทนด้วย🔺)
• สิ่งที่ธุรกิจจะเปลี่ยนแปลงไป หลังจากใช้นวัตกรรม (แทนด้วย ⭕️)
เมื่อแบ่งโครงสร้างแบบนี้แล้ว ก็จะเป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้เราสื่อสารได้ง่ายขึ้นนั้นเอง
2. ตัวอักษรภาพที่ใช้
ที่นี้จะสื่อสารด้วยภาพก็ต้องวาดรูปใช่ไหมครับ แต่ไม่ต้องกังวลไป เพราะเทคนิคเราไม่ได้ใช่สกิลวาดรูปขนาด
อ.เฉลิมชัย นะครับ คุณแดนใช้เทคนิควาดรูปง่ายๆ
เพราะสิ่งที่คุณแดนต้องการคือเปลี่ยนจากข้อความให้เป็นรูป
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนข้อมูลนั้นเอง
อักษรภาพที่คุณแดนใช้จึงง่ายๆ ไม่ว่าจะเป็นคนแบบไม้ขีดไฟ
จุด และการเชื่อมจุดเป็นรูปทรงต่างๆเท่านั้นเอง
3. Who+What/How much/Where/When/How/Why
ขั้นตอนนี้ก็จะเป็นการเรียบเรียงลำดับเรื่องราวนวัตกรรมแล้วละครับ ซึ่งก็แบ่งเป็น 6 หัวข้อใหญ่คือ
....
•Who+What: นวัตกรรมที่ว่าคืออะไร และใครใช้
•How much: ใช้แล้วส่งผลอย่างไร ซึ่งเราอาจจะใช้กราฟไม่ว่าจะเป็นแบบแท่ง ทรงกลม ช่วยสื่อถึงึวามเปลี่ยนแปลง
•Where: ใช้ที่ไหน อาจจะวาดแผนที่ หรือสถานที่ ที่นวัตกรรมของเราจะมีประโยชน์
•When: ใช้บอกลำดับขั้นตอนของการใช้นวัตกรรมว่าเริ่มต้นอย่างไร อาจจะใช้รูปแบบของ time-line ช่วยเล่าก็ได้
•How: กระบวนการหรือขั้นตอนในการสร้างนวัตกรรม
•Why: ทำไมถึงต้องมีนวัตกรรมนี้ ซึ่งเราสามารถนำ “the innovation equation” มาใช้ได้เลย
....
แค่นี้เราก็จะได้ภาพรวมของนวัตกรรมที่เราต้องการจะสื่อสาร และข้อสรุปที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมนั้นๆในแบบของรูปภาพ ซึ่งสามารถบรรจุอยู่บนกรดาษ A4 เพียง 1 แผ่น
Project ผมเองที่ลองสมมุติขึ้นมาตอนทำ workshop กับคุณแดน ทั้งหมดใช้เวลา 8 นาที
พอจะเดาออกไหมครับว่า Innovation ที่ผมพยายามจะสื่อสารคือสินค้าอะไร? มีประโยชน์อย่างไร? เหมาะกับใคร?
เห็นด้วยไหมครับว่า รูปภาพสามารถช่วยให้เราจดจำสิ่งต่างๆได้ง่ายขึ้น อย่างน้อยผมเชื่อว่าเพื่อนๆ น่าจะจำได้ว่า “The Innovation Equation” ประกอบด้วยเะไรบ้าง จริงไหมครับ??
ถ้างั้นอย่ารอช้า หากระดาษสักแผ่นมาวาดรูปกันเถอะ 👨‍🎨
สามารถตามไปดูการใข้ภาพในการอธิบายเรื่อง Obamacare
ซึ่งเป็นกฎหมาย ระเบียบวิธีการหนากว่า 20000 หน้าด้วยภาพวาดบนกระดาษทิชชู่กันได้ตามลิงค์เลยครับ
โฆษณา