Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ไม่ไหวก็ต้องไหว The Productive
•
ติดตาม
31 พ.ค. 2020 เวลา 16:07 • การศึกษา
Book Review : Mindset ใช้ความคิดเอาชนะโชคชะตา
คุณชอบความสำเร็จไหมครับ เมื่อคุณสำเร็จแล้วคุณรู้สึกอย่างไร ถ้าคุณจะกลับไปล้มเหลวอีกครั้ง
เป็นคำถามง่ายๆ ใช่ไหมครับ แน่นอนว่าใครๆ ก็ชอบความสำเร็จ เพราะความรู้สึกของมันช่างยอดเยี่ยม ผู้คนรอบๆตัวต่างเยินยอในความสุดยอดของความสำเร็จ
จนไม่อยากกลับไปล้มเหลวอีก ผมก็เช่นกัน คงมีทางเลือกอยู่สองแบบที่เราไม่ต้องกลับไปล้มเหลวอีก คือฝึกฝนหาข้อผิดพลาดแล้วแก้ไขมันซะ
แต่อีกทางหนึ่งมันง่ายกว่านั้นคือไม่ทำสิ่งที่คุณรู้สึกว่ามันจะล้มเหลวอีก….หลายครั้งผมเลือกวิธีที่สองเพราะมันก็แค่ไม่ทำสิ่งนั้นและให้ความสำคัญกับสิ่งที่คิดว่ามีโอกาสสำเร็จ มันดีกว่าเป็นไหนๆ จริงไหมครับ
ทำสิ่งที่ถนัด ทำในสิ่งที่มีโอกาสสำเร็จสูง มันคือการโฟกัสใช่หรือไม่ ถ้าคนเราทำทุกๆ อย่างที่เราโดนท้าทาย เราก็คงเหนื่อยแย่สินะครับ
หนังสือ : ใช้ความคิดเอาชนะโชคชะตา : Mindset
ผู้เขียน : Carol S. Dweck (แครอล เอส ดเว็ค), Ph.D.
ผู้แปล : พรรณี ชูจิรวงศ์
หนังสือเล่มนี้อธิบายและแบ่งแยกกรอบคิดของคนเราออกเป็น 2 แบบ คือ กรอบคิดแบบพัฒนาได้(growth mindset) กับ กรอบคิดแบบพัฒนาไม่ได้(fixed mindset) โดยการนำผลจากงานวิจัยของผู้เขียน และเคสของคนดังหลายคน มายกตัวอย่างประกอบให้เห็นข้อดีและข้อเสียของกรอบคิดทั้ง 2 แบบ และชี้ให้เห็นว่าถ้าคนเรามีกรอบคิดแบบพัฒนาได้ เราจะสามารถดึงศักยภาพของตัวเองออกมาได้มากเพียงไหน ผมขอใช้คำว่ามันต้องลองดูสักตั้ง
จุดที่แย่ของกรอบคิดแบบพัฒนาไม่ได้(fixed mindset) ที่ผมคิดว่าสำคัญมากคือคนกลุ่มนี้จะไม่ยอมล้มเหลว ยึดติดกับความสำเร็จเดิมๆ เป็นนานๆเข้า เขาก็จะโกหก ปิดบังจุดอ่อนของตัวเอง โยนความผิดให้เป็นของคนอื่น ตัวผมเองเคยเป็นมาทั้งหมดแล้วครับ ผมเคยเรียนดี แต่ก็มีภาคเรียนหนึ่งผมติดเกมมากผมจึงโกหกที่บ้านว่าเกรดยังโอเคอยู่ จนกระทั้งเกรดส่งไปถึงที่บ้าน ผมก็แก้ตัวอีกว่าเกรด F ในราวิชาแคลคูลัส ใครๆก็ได้กัน อีกทั้งยังย้ำอีกว่าเรียนไปก็ไม่ได้ใช้ประโยชน์ ผมไม่คิดแม้แต่จะถามตัวเองว่าทบทวนแบบฝึกหัดมากพอหรือยัง เราขาดเรียนมากเกินไปไหม เล่นเกมเยอะไปแล้วหรือเปล่า
กรอบคิดแบบนี้สามารถติดตัวใครก็ตามที่เป็นพวก fixed mindset ไปจนตายได้หากไม่รีบแก้ไขอย่างเร่งด่วนก่อนที่จะสายเกินไป เช่น
ถ้าคุณเป็นครูจำพวก fixed mindset คุณก็จะสอนให้เด็กเห็นคุณค่าของเกรดมากกว่าความพยายาม
ถ้าคุณเป็นนักศึกษาระดับหัวกะทิพวกที่มี fixed mindset คุณก็จะไม่ลงวิชาที่คุณไม่ถนัดเพราะอาจทำให้เกรดไม่ดี ถึงแม้ว่าวิชานั้นอาจมีประโยชน์กับสายงานของคุณในอนาคตก็ตาม
ถ้าคุณเป็นกองหน้าตัวเป้าแบบที่มี fixed mindset คุณก็จะต่อว่าไม่พอใจโค๊ชเมื่อเปลี่ยนตำแหน่งให้คุณไปเล่นในตำแหน่งอื่นๆ ถึงแม้ว่าทีมจะมีความจำเป็นต้องปรับกลยุทธ
ตัวอย่างเหล่านี้ยังรวมถึงคำถามข้างต้นที่ว่า พวก growth mindset จะต้องลองทำทุกอย่างที่ท้าทายหรือไม่ สำหรับผมคำตอบคือไม่ครับ ผมคิดว่าการเลือกทำกิจกรรมต่างๆ ต้องพิจรณาจากความเหมาะสม เช่นถ้าอายุยังน้อยความรับผิดชอบยังน้อย ไม่ผิดที่จะขอเงินพ่อแม่ซื้อหนังสือหลายๆเล่ม ลงเรียนพิเศษหลายๆ คอร์ส แต่เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่แล้วก็ควรจะเลือกทำแต่สิ่งที่จำเป็นและเป็นประโยชน์กับสายงาน เช่นการพัฒนาตัวเอง ให้เป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านใดด้านหนึ่ง ไม่ใช่ว่าอยากจะทำมันเสียทุกอย่าง
ผมคิดว่าช่วงเวลาก่อนอายุ 35 ยังพอที่จะลองอะไรตามที่คุณอยากลองได้อยู่ครับ แต่ถ้ามากกว่านั้นก็ควรจะโฟกัสเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านใดด้าหนึ่งได้แล้วและพัฒนาตัวเองไปทางสายงานนั้นๆ อย่างต่อเนื่อง
ผมเคยโพสถามความคิดเห็นของเพื่อนๆ ว่าพวกเขาจะเลือกทำสิ่งไหนก่อน ระหว่างสิ่งที่ถนัด กับสิ่งที่ชอบ ส่วนมากให้ความสำคัญกับ Passion คือสิ่งที่อยากทำหรือสิ่งที่ชอบครับ
ผมขอบอกแบบนี้ครับ ถ้าทำในสิ่งที่ชอบ แล้วมันไม่มีเรื่องต้นทุนเข้ามาเกี่ยวก็ทำไปเถอะครับแต่ถ้าต้นทุนมันมากจนเกินไป การทำในสิ่งที่ถนัดก็จะสามารถเริ่มต้นได้เร็วและมีโอกาสที่จะสำเร็จมากกว่า
เช่น คุณเคยไปเรียนต่างประเทศมา 2 ปี ภาษาอังกฤษของคุณมีทักษะอยู่ในระดับดี สื่อสารได้ แต่วันหนึ่งคุณดู YouTube แล้วเป็นการสอนภาษาเกาหลี ทำให้คุณรู้สึกว่ามันน่าจะสนุก และเกาหลีเป็นประเทศที่คุณหลงไหลในวัฒนธรรมของเขา คุณเลยอยากจะเรียนภาษาเกาหลี กับครูเกาหลี ที่ประเทศเกาหลี ตั้งแต่ระดับเริ่มต้น ผมคิดว่าก็คงใช้เวลาหลายปีและเงินหลายล้านนะครับ แต่ถ้าเวลาเยอะ เงินเยอะก็ไม่ว่ากันนะครับ
ถ้าเทียบกับ คุณทำวีดีโอสอนภาษาอังกฤษที่คุณพอจะมีความรู้อยู่ หรือเล่าประสบการณ์ ข้อคิดการใช้ชีวิตในต่างประเทศ นำเสนอให้เข้าถึงได้ง่าย ในภาษาที่คุณมีทักษะในระดับดีอยู่แล้ว และถ้าคุณทำได้อย่างต่อเนื่อง จากระดับดีอาจเลื่อนขั้นไปสู่ “ระดับดีเลิศ” ก็เป็นไปได้ แล้วถ้าโชคดีคลิปที่ทำมีคนชอบ คุณอากมีรายได้เพิ่มขึ้นจาก YouTube ก็ได้ เป็นค่าขนมไปเที่ยวเกาหลี หรือประเทศอื่นๆ ที่คุณอาจจะชอบเพิ่มในภายหลัง
ถ้าอย่างนั้นสรุปได้ว่า ต้องให้ทำในสิ่งเดิมๆ ที่ถนัดอยู่แล้วใช่ไหม แต่มันดูย้อนแย้งกับตอนเปิดบทความนี้นะที่ผมบอกว่า กรอบคิดแบบพัฒนาได้(growth mindset) ควรลองทำในสิ่งท้าทายใหม่ๆ จริงครับมันย้อนแย้งกัน ผมจะอธิบายต่อ
การอ่านหนังสือเล่มใดเล่มหนึ่ง 7 วัน 14 วัน หรือเป็นเดือน มีโอกาสที่คุณจะซึมซับกับแนวคิดแบบเดียวกันกับผู้เขียนครับ ซึ่งบางครั้งเขาอาจยังนำเสนอได้ไม่รอบด้าน คุณจะเชื่อหมดใจว่าที่เขียนมาทั้งหมดมันใช่เลย (เพราะอย่างน้อยฉันก็เสียเงินซื้อหนังสือที่เจ๋งที่สุดเล่มนี้มา ทำไมฉันจะไม่เชื่อตามที่เขาเขียนล่ะ)
คุณมิ้นท์ เพจ “i roam alone” กล่าวไว้ในคลิปหนึ่งว่า ขอบคุณการลองของตัวเอง เพราะการกล้าลองสิ่งใหม่ๆ เป็นหนึ่งในปัจจัยความสำเร็จของ “i roam alone” แต่เดี๋ยวก่อนนะครับ เราต้องอย่าลืมคำว่าโอกาสของแต่ละคนด้วย การลองของเขาอาจไม่มีข้อจำกัดที่จำเป็นเช่น มีเวลา มีทุน และ ไม่มีภาระอื่นๆ
คุณไม่สามารถอ้างได้ว่าคุณลาออกจากมหาวิทยาลัยเพราะคุณจะยิ่งใหญ่แบบ มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก และคนดังอีกหลายคนที่ไม่จบมหาวิทยาลัย โอกาสและปัจจัยแวดล้อมของแต่ละคนแตกต่างกันอย่างคาดไม่ถึงครับ บางทีการที่เขาตัดสินใจแบบนั้นคนฉลาดพวกนี้เขาอาจกำลังมั่นใจในบางอย่างที่เขาค้นพบอยู่ก็ได้
ผมจำเป็นต้องเคลียร์ประเด็นข้างต้นเสียก่อนที่จะเล่าต่อถึงเนื้อหาในหนังสือนะครับ อาจใช้เวลามากในตอนแรกแต่ก็เชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อท่านผู้อ่านบทความแน่นอนครับ
ฉะนั้น การทดลองและพยายามตามความท้าทายใหม่ๆ ควรเป็นไปอย่างเหมาะสม ซึ่งแต่ละคนก็แตกต่างกันมากในเรื่องปัจจัยแวดล้อมแบบนี้
ผมขอยกตัวอย่างจากในเล่มที่ผมชอบที่สุดมาสักหนึ่งตัวอย่างที่ผมชอบที่สุดคือ มีเด็กอยู่ 2 กลุ่ม แต่เด็กทั้งหมดมีระดับ IQ ใกล้เคียงกัน ครูได้มอบหมายให้ทำข้อสอบที่มีความยากเกินวัยของพวกเขา ปรากฎว่าค่าเฉลี่ยคะแนนของเด็กสองกลุ่มนี้ได้เท่ากัน ผลลัพธ์คะแนนสอบแทบไม่แตกต่าง
แต่จุดที่ต่างกันก็คือ กลุ่มแรก ครูบอกกับเด็กว่า “เพราะพวกเธอเก่งพวกเธอจึงทำข้อสอบได้ ยอดเยี่ยมมากๆ” กลุ่มที่สอง ครูบอกกับเด็กว่า “เพราะพวกเธอมีความพยายามพวกเธอจึงทำข้อสอบได้ ยอดเยี่ยมมากๆ” เชื่อไหมครับแค่คำชมที่แตกต่างกันแค่นิดเดียว “เพราะความเก่ง” กับ “เพราะความพยายาม” ให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันอย่างน่าตกใจในระยะยาว
สัปดาห์ถัดมา ครูบอกว่าจะเอาแบบฝึกหัดที่ยากขึ้นเรื่อยๆ มาให้ทำอีก สัปดาห์ละ 1 ครั้งตลอดทั้งเทอม สิ่งที่เกิดขึ้นคือ กลุ่มแรก ที่ได้รับคำชมว่าเก่งบ่อยทุกครั้งที่ได้คะแนนดี เริ่มถอดใจไม่อยากทำแบบฝึกหัดอีกต่อไปแล้ว ส่วนกลุ่มที่สองครูปลูกฝังเรื่องความพยายามไม่เคยเอ่ยชมว่าเก่งเลยสักครั้ง เด็กกลุ่มนี้ยังคงสนุกกับข้อสอบที่มีความท้าทายอยู่เสมอ และเมื่อพวกเขาถึงระดับที่ยากเกินกว่าที่จะทำได้เขากลับไปถามครูว่า หนูจะทำข้อสอบพวกนี้ได้หนูจะต้องรู้อะไรเพิ่มบ้างช่วยสอนหนูหน่อย
เหตุการณ์นี้ผมสรุปว่า นี่คือความอันตรายของคำชม เพราะมันทำให้เด็กๆ ที่ยังไม่มีวุฒิภาวะเพียงพอจะหลงระเริงไปกับความรู้สึกที่ยอดเยี่ยมของความสำเร็จและคำเยินยอจนพวกเขารับไม่ได้ที่จะเสียคุณค่านี้ไปด้วยการทำข้อสอบที่ยากขึ้น หลังจากการประเมินแล้วว่าพวกเขาน่าจะทำออกมาได้ไม่ดีเหมือนเดิม นี่คือการปลูกฝังให้เด็กเป็น คนประเภท fixed mindset พวกเราหลายคนโตมากับระบบการศึกษาแบบนี้ใช่ไหมครับ
แต่เด็กกลุ่มที่สองครูเน้นย้ำกับพวกเขาให้เห็นถึงคุณค่าของความพยายาม ทำให้พวกเขายังคงพยายามอยู่เรื่อยๆ ตามศักยภาพที่ตัวเองจะทำได้อย่างดีที่สุด เด็กกลุ่มนี้จะเติบโตและลองความท้าทายใหม่ๆ ตามที่มันความจะเป็นไปได้อย่างดีที่สุด นี่คือ growth mindset
เป็นแบบนี้แล้วพอเห็นข้อแตกต่างของ fixed mindset และ growth mindset กันหรือยังครับ ยิ่งอ่านเล่มนี้ก็ยิ่งตกใจและประหลาดใจมากขึ้นเรื่อยๆ ว่าหลายอย่างที่เราเคยเจอในชีวิต เราโดนสั่งสอนมาแบบ fixed mindset ฉะนั้น ชีวิตไม่มีคำว่าสายครับ
ลองพัฒนาตัวเองให้คิดแบบ growth mindset มันก็จะดีกับตัวเองและคนรอบๆตัวของเรามากๆเลยครับ
บันทึก
2
2
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
รีวิวหนังสือ
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย