3 มิ.ย. 2020 เวลา 12:23 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
13 ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจเกี่ยวกับตารางธาตุที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน
Cr. Fine Art America
1. Dmitri Mendeleyev เป็นผู้ประดิษฐ์ตารางธาตุที่ถูกพัฒนามาจนถึงปัจจุบัน
ดมีตรี เมนเดเลเยฟ (Dmitri Mendeleyev) บุคคลที่มีชื่อเสียงที่ได้ตีพิมพ์รางธาตุสมัยใหม่ขึ้น (Periodic Table) และพัฒนามาจนถึงปัจจุบัน หลายคนคิดว่าเขาเป็นคนแรกในการสร้างตารางธาตุที่เรียงตามมวลอะตอมนี้ขึ้นมา แต่รู้หรือไม่ว่า จริง ๆ แล้วมีคนที่บุกเบิกการพัฒนาตารางธาตุในแบบเดียวกับเขาก่อนหน้านั้น ชายผู้นั้นคือ โลธาร์ เมเยอร์ (Lothar Meyer)
Dmitri Mendeleyev : Cr. Wikipedia
2. ตารางธาตุที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้เกิดจากการที่ผู้คิดค้นนั้นชอบเล่นไพ่
เมนเดเลเยฟเป็นคนชอบเล่นไพ่มาก ๆ นั่นเป็นเหตุผลที่เขาชอบเขียนมวลอะตอมของธาตุไว้บนไพ่แล้วเรียงลำดับจากน้อยไปมาก ธาตุที่มีคุณสมบัติเดียวกันจะถูกเรียงเป็นหมวดหมู่และก็เรียงจากน้อยไปมาก และนี้กลายเป็นที่มาของตารางธาตุของเขา
3. ตารางธาตุของเมนเดเลเยฟสามารถทำนายธาตุที่ยังไม่ถูกคนพบได้
ตารางธาตุของเขานั้นจะมีช่องว่างไว้ สำหรับธาตุที่ยังไม่ได้รับการค้นพบ ซึ่งต่อมาเมื่อธาตุถูกค้นพบก็จะถูกบันทึกลงในตารางธาตุ ช่องว่างที่เว้นไว้ในตารางธาตุของเขานั้นสามารถทำนายน้ำหนักของธาตุได้อย่างแม่นยำ ธาตุที่ว่าก็คือ แกลเลียม และ เจอร์เมเนียม
Cr. iStock
4. ตารางธาตุของเขาก็เคยทำนายพลาด
เมนเดเลเยฟเคยปฏิเสธการมีอยู่ของ อาร์กอน ฮีเลียม นีออน คริปทอน ซีนอน และ เรดอน หลังจากการถูกค้นพบธาตุเหล่านี้ เพียงเพราะมันไม่สามารถนำไปใส่ไว้บนตารางธาตุของเขาได้
5. ก่อนจะมาเป็นตารางธาตุในปัจจุบันนั้นได้ถูกแก้ไขและพัฒนามาหลายครั้ง
เมื่อมีการค้นพบธาตุใหม่ หรือมีการปรับปรุงคุณสมบัติของธาตุนั้น หน้าที่รับผิดชอบในการแก้ไขและปรับปรุงตารางธาตุ จะเป็นของ สหภาพเคมีบริสุทธิ์และเคมีประยุกต์ระหว่างประเทศ หรือ IUPAC โดยได้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งล่าสุดเมื่อปี 2018 นี่เอง
IUPAC Cr. Justscience
6. Technetium เป็นธาตุที่ถูกสร้างขึ้นโดยมนุษย์เป็นครั้งแรก
ทุกวันนี้มีธาตุอยู่ทั้งหมด 118 ธาตุที่เป็นที่ยืนยันแล้ว เป็นธาตุที่ค้นพบในธรรมชาติทั้งหมด 90 ธาตุที่ เหลือเป็นธาตุที่สังเคราะห์ขึ้น Technetium เป็นธาตุแรกที่ถูกสังเคราะห์ และทุกวันนี้มีธาตุที่สังเคราะห์ขึ้นมาโดยฝีมือมนุษย์ทั้งหมด 24 ธาตุ
7. ตารางธาตุในปัจจุบันถูกออกแบบให้เรียงลำดับตามการเพิ่มขึ้นของเลขอะตอม
ตารางธาตุของเมนเดเลเยฟ ได้ออกแบบให้เรียงตามลำดับการเพิ่มขึ้นของ "มวลอะตอม" แต่ตารางธาตุในปัจจุบันนั้นออกแบบให้เรียงลำดับตาม "เลขอะตอม"
8. มีธาตุ 4 ธาตุได้รับการตั้งชื่อใหม่เมื่อไม่นานมานี้
เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2016 IUPAC ได้อนุมัติชื่อและสัญลักษณ์สำหรับธาตุทั้งสี่นี้ ซึ่งที่ก่อนหน้านี้มันถูกเรียกว่าธาตุที่ 113, 115, 117 และ 118 (จริง ๆ มันมีชื่อชั่วคราวแต่มันยาวมาก) จนในที่สุดมันได้ถูกตั้งชื่อว่า Nihonium (Nh), Moscovium (Mc), Tennessine (Ts), และ Oganesson (Og) ตามลำดับ
Cr. FOS media
9.ธาตุส่วนใหญ่ในตารางธาตุนั้นเป็นโลหะ
ตารางธาตุประกอบไปด้วยธาตุที่เป็นโลหะถึง 75 % ซึ่งประกอบไปด้วยกลุ่ม โลหะอัลคาไล, อัลคาไลน์ เอิร์ธ, โลหะพื้นฐาน, โลหะทรานซิชัน, แลนทานัมและแอคติไนด์ ซึ่งทั้งหมดนี้จัดเป็นโลหะทุกกลุ่ม
10.ชื่อของธาตุบางตัวถูกตั้งชื่อตามนักวิทยาศาสตร์ ดาวเคราะห์ หรือ บุคคลที่มีชื่อเสียง
Einsteinium ได้รับการตั้งชื่อตาม Albert Einstein ในขณะที่ Germanium, Americium, และ Gallium ถูกตั้งชื่อตามสถานที่ที่ถูกค้นพบ Uranium ถูกตั้งชื่อไม่นานหลังจากการค้นพบดาวยูเรนัส บางธาตุถูกตั้งชื่อตามเทพนิยาย เช่น Thorium ตั้งชื่อตามเทพเจ้าสายฟ้า ธอร์ (Thor) ในขณะเดียวกัน Titanium ถูกตั้งชื่อตามเทพไททัน (Titan) เป็นต้น
11.ธาตุบางธาตุนั้นถูกตั้งชื่อด้วยภาษากรีกซึ่งสามารถอธิบายคุณสมบัติของมันได้ด้วย
อย่างเช่น Argon (อาร์กอน) มาจากคำว่า "Argos" ในภาษากรีก แปลว่า เฉื่อย และ Bromine (โบรมีน) ธาตุที่มีกลิ่นรุนแรง มาจากคำว่า " bromos " แปลว่า กลิ่นเหม็น
12.ธาตุคาร์บอนเป็นธาตุที่สำคัญสำหรับสิ่งมีชีวิต
คาร์บอนอยู่ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ไม่ว่าจะพืชหรือสัตว์และเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงอยู่ของเรา รู้หรือไม่ว่าในร่างกายของเรามีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบประมาณร้อยละ 20 นอกจากนั้นเป็นน้ำและธาตุอื่น ๆ นอกจากนี้มันยังเป็นธาตุที่มีมากที่สุดเป็นอันดับที่สี่ของจักรวาล
Cr. Tinycard
13. จุดสิ้นสุดของตารางธาตุอาจจะไปสิ้นสุดที่ธาตุที่ 137
นักฟิสิกส์ที่ชื่อว่า Richard Feynman ทำนายว่า ถ้าธาตุที่ 137 มีอยู่จริงเราจะไม่สามารถตรวจจับมันได้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะในทางทฤษฎีแล้วอิเล็กตรอนของธาตุที่ 137 จะโคจรรอบอะตอมด้วยความเร็วแสง สมมุติว่ามีธาตุที่ 139 และอิเล็กตรอนของธาตุที่ 139 นั้นจะโคจรเร็วกว่าความเร็วแสง ซึ่งมันเป็นสิ่งที่ไม่สามารถอธิบายตามหลักการและทฤษฏีทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันได้
Periodic table : Cr. Science Note
ติดตามความรู้ดี ๆ รู้ไว้ไม่เสียหายได้ที่
Bitazza ลงทุนในคริปโต
เปิดวอลเลท เพื่อเก็บคริปโตของคุณ Click!
Reference

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา