2 มิ.ย. 2020 เวลา 02:09 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
10 สิ่งเกี่ยวกับแกแล็กซี่ทางช้างเผือกที่คุณอาจจะยังไม่เคยรู้
แกแล็กซี่ทางช้างเผือก บ้านหลังใหญ่ที่เราอาศัยอยู่ คุณรู้หรือไม่? ว่าโลกของเรานั้นตั้งอยู่บนแกแล็กซี่ทางช้างเผือก เราอยู่ตรงส่วนไหนของบ้านหลังนี้? แล้วหน้าตาของบ้านหลังนี้เป็นอย่าง? ผมจะนำคุณไปเรียนรู้ กับ 10สิ่งที่คุณอาจไม่เคยรู้เกี่ยวกับแกแล็กซี่ทางช้างเผือก
ภาพของศูนย์กลางดาราจักรทางช้างเผือก ในท้องฟ้ายามค่ำคืนด้านบนของหอดูดาวพาราเนล ที่มาhttps://th.m.wikipedia.org/wiki
1. ทางช้างเผือก เป็นหนึ่งในพันล้านแกแล็กซี่ ในจักรวาลที่สามารถคำนวณได้คราว ๆ ใช่แล้วคุณฟังไม่ผิด แค่หนึ่งในพันล้าน และนั้นยังนับไม่ทั้งหมด ซึ่งประกอบไปด้วยระบบสุริยะ กลุ่มดาวขนาดเล็กใหญ่ แก๊ส และเศษฝุ่น ที่มีอยู่ในอวกาศ โดยมีแรงดึงดูดระหว่างกันอยู่
2. จากจุดที่เราอยู่ เรามองเห็นแกแล็กซี่ทางช้างเผือกจากทางด้านข้าง ซึ่งเป็นลักษณะเกลียวแนวขวาง โดยเส้นของเกลียวจะโค้งวนกระจายตัว ออกจากศูนย์กลางของแกแล็กซี่คล้ายกับก้นหอย โดนเกลียวที่ว่า นักดาราศาสตร์เรียกกันว่า แขน
3. ภาพแแล็คซี่ทางช้างเผือกมุมบน ที่เราเห็น ไม่ใช่ของจริง เป็นเพียงภาพจำลองเท่านั้น ปัจจุบันเรายังไม่สามารถถ่ายภาพแกแล็กซี่ทางช้างเผือกจากมุมด้านบนได้ เพราะโลกของเราตั้งอยู่ขอบรอบนอกของแกแล็กซี่ทางช้างเผือก นั้นจึงเป็นไปได้ยากที่เราจะถ่ายภาพมุมบนของแกแล็กซี่ได้
ภาพจำลองแกแล็กซี่ทางช้างเผือก ที่มาhttps://sites.google.com/site
4. ระบบสุริยะของเรานั้น ตั้งอยู่ที่ขอบรอบนอกของแกแล็กซี่ทางช้างเผือก ซึ่งห่างจากใจกลางของแกแล็กซี่ถึง 28,000 ปีแสงเลยทีเดียว ไกลมาก ๆ
5.กาแล็คซี่ทางช้างเผือก มี่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 100,000-120,000 ปีแสง ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันของเรา หากเราต้องการที่จะเดินทาง จากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่งของกาแล็คซี่ทางช้างเผือก เราต้องใช้เวลาหลายพันล้านปีเลยที่เดียวถึงจะเดินทางไปถึงได้
6. ดาวฤกษ์ขนาดใหญ่ ที่อยู่ในเกลียวแขนของกาแล็คซี่ทางช้างเผือก จะมีการเผาไหม้และส่องสว่างมากกว่าดาวฤกษ์ที่อยู่ไกลออกไป ทำให้เรามองเห็นเกลียวแขนของแกแล็กซี่ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
7.กาแล็คซี่ทางช้างเผือก ประกอบไปด้วยพลังงานต่าง ๆ มากมาย เช่น แสงอินฟราเรด คลื่นวิทยุ รังสีแกมม่า สสารมืด และรังสีเอกซ์ โดยแสงที่เราเห็นบนแกแล็กซี่ทางช้างเผือก ก็เป็นแสงของพลังงานที่มาจากดาวฤกษ์ ปลดปล่อยพลังงานต่าง ๆ ออกมา
8. หากเราออกไปเที่ยวกลางคืน หรือไปตามหาสถานที่ที่จะทำให้มองเห็นแกแล็กซี่ทางช้างเผือกบนต้องฟ้า ดวงดาวทั้งหมดที่เราสามารถมองเห็นได้บนท้องฟ้านั้น เป็นเพียงแค่ 0.0000025% ของดวงในแกแล็กซี่ทางช้างเผือก
9. เมื่อเปรียบเทียบกับแกแล็กซี่ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่มนุษย์เราสามารถค้นพบได้ อย่าง แกแล็กซี่ IC 1101 แล้ว แกแล็กซี่ทางช้างเผือกของเราเป็นเพียงแกแล็กซี่ขนาดกลาง ๆ เท่านั้น โดยแกแล็กซี่ IC 1101 อาจมีดวงดาวมากถึง 1 ร้อยล้านล้านดวง ซึ่งกาแล็คซี่ทางช้างเผือกของเรามีดวงดาวประมาณ 1 แสนถึง 4 แสนล้านดวงเท่านั้น
ภาพถ่ายแกแล็กซี่ IC 1101 เมื่อ June 1995 ถ่ายโดย Hubble Space Telescope ที่มา https://en.m.wikipedia.org/wiki/IC_1101
10. กาแล็คซี่เล็ก ๆ เพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้ กับกาแล็คซี่ทางช้างเผือกของเรามากที่สุด หรือเรียกว่าเป็นบริวารของกาแล็คซี่ทางช้างเผือก ได้แก่แกแล็กซี่กลุ่มเมฆแม็กเจลแลนใหญ่ โดยอยู่ไกลออกไป 170,000 ปีแสง และกาแล็กซี่กลุ่มเมฆแม็กเจลแลนเล็ก โดยเราสามารถเห็นกาแล็คซี่ทั้งสองได้เฉพาะจากซีกโลกใต้ จึงเป็นที่รู้จักในหมู่นักดูดาว ทางซีกโลกใต้มานาน แต่เพิ่งได้รับการบันทึกจนเป็นที่รู้จักกัน เมื่อปีค.ศ.1519 โดยกัปตันเฟอร์ดินานด์ แม็กเจลแลน ( Ferdinand Magellan ) ผู้นำเรือออกเดินทางรอบโลก จึงใช้ชื่อของเขาเป็นชื่อของแกแล็กซี่นี้ เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ค้นพบ
ภาพ กาแล็กซีแม็กเจลแลน ที่มา http://www.thaispaceweather.com/news/October07/071003A_02.jpg
ภาพของ เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน (Ferdinand Magellan)ที่มา https://th.m.wikipedia.org/wiki
ขนาดนี่คือบ้านของเราเอง เราก็ยังไม่รู้จักหรือสำรวจทุกซอกทุกมุมของบ้านหลังนี้ได้เลย ถ้าเทียบกับแกแล็กซี่ที่เราอาศัยอยู่แล้ว มนุษย์อย่างเรา นั้นเล็กจิ๋วมาก ๆ เปรียบได้เป็นแค่เศษฝุ่นในแกแล็กซี่เท่านั้นเอง
I AM
อย่างน้อยทุกครั้งที่มองดาวบนฟ้า เราก็ยังมองดาวบนท้องฟ้าเดียวกัน
โฆษณา