2 มิ.ย. 2020 เวลา 04:47 • สุขภาพ
ของโปรดลูกชิด ชวนคิดก่อนทาน
ลูกชิดเป็นผลไม้ที่นิยมนำมาแปรรูปเป็นของหวาน ทานเป็นเครื่องเคียงกับไอศกรีม น้ำแข็งไส หรือทำลอยแก้วเป็นที่นิยม แต่ก่อนกิน มีใครเคยสงสัยไหมว่า หน้าตาของต้นลูกชิดเป็นแบบไหน ทำยังไง มีที่มาที่ไปอย่างไร ถ้าเป็นคนต่างจังหวัดก็อาจจะรู้จักดี แต่สำหรับคนในเมืองที่มีโอกาสทานอย่างเดียว ก็มีอีกหลายคนที่ยังไม่รู้จัก วันนี้เรามาทำความรู้จักลูกชิดกันครับ
ลูกชิด แท้จริงแล้วเป็นเนื้อที่ได้มาจากต้นตาว เป็นผลอ่อนปาล์มชนิดเดียวที่มีชื่อเวลาจะทานไม่ตรงกับชื่อต้น สมัยก่อนลูกชิดคือชื่อเรียกลูกของต้นจาก เพราะจะทำให้มีความหมายเป็นมงคลกว่า แต่ต่อมาลูกต้นตาวที่มีลักษณะเนื้อคล้ายกับลูกจากได้มีคนเรียกว่าลูกชิดเช่นเดียวกัน จึงทำให้ลูกชิดกลายเป็นชื่อของลูกต้นตาวเพราะเป็นที่นิยมมากกว่า และลูกของต้นจากก็ใช่ชื่อว่าลูกจากดังเดิม
ตาวหรือต๋าว (Arenga westerhoutii Griff.)
แต่บางแหลงข้อมูลระบุว่าชื่อวิทยาศาสตร์ของคาวคือ Avenga pinnata
เพราะพืชสองชนิดนี้มีความคล้ายกันมาก แต่ในที่นี้แอดขอใช้ชื่อ Arenga westerhoutii Griff. นะครับ (อ้างอิง http://www.qsbg.org/database/plantdb/lcd/living-specimen.asp?id=4895 )
ตาวเป็นพืชตระกูลปาล์ม มีลำต้นเดี่ยวตั้งตรงคล้ายกับมะพร้าวและปาล์มน้ำมัน แหล่งการจายพันธุ์ในไทย พบมากในป่าดิบชื้นทางภาคเหนือ เช่น อุตรดิตถ์ น่าน ดอกตัวผูและดอกตัวเมียแยกกัน สามารถนำต้นไปใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่น แป้งที่สะสมในลำต้นใช้เลี้ยงสัตว์ ยอดอ่อนใช้ประกอบอาหาร ใบทำเป็นหลังคา หรือเครื่องจักรสาน ดอกเพศผู้ทำน้ำตาลสด ผลอ่อนนำมาทานนั่นก็คือลูกชิดนี่เอง
ตาวต้องใช้เวลาสะสมอาหารถึง10-20ปี จึงจะออกดอกออกผล ตาวจะออกดอกตั้งแต่ยอดลงมา ออกดอกได้7-8ทลาย ภายในเวลา7-8ปี ในช่วงกระจายพันธุ์เมื่อทลายสุดท้ายสุขแก่แล้ว ต้นแม่ก็จะยืนต้นตาย ผลตาวที่นำไปทำลูกชิดต้องมีอายุตั้งแต่ออกดอก ประมาณ3ปี ตาว1ทลายมีไม่น้อยกว่า3000ผล
ถือว่าเยอะมาก ใน1ผลจะมี3เมล็ดนั่นคืส่วนของลูกชิดนั้นเอง
ชาวบ้านที่หาตามขาย จะเข้าไปหาตามป่าเขาแล้วเอาเฉพาะลูกชดิกลับบ้าน กระบวนการวิธีการเอาลูกชิดก็จะทำอยู่ในป่า โดยการตัดหัวลูกตาวแล้วนำไปต้ม(ยางของตาวมีพิษ)แล้วใช้อุปกรณ์ช่วยหนีบ หนีบเอาเฉพาะเนื้อออกมาจากลูก แล้วนำกลับบ้าน สมัยก่อนชาวบ้านเข้าป่าไปหาตาวที เขาเข้าไปกินอยู่เป็นอาทิตย์เลยนะ😮😮
สุดท้ายนี้ก็ฝากกดไลค์กดติดตามเพจด้วยนะครับ จะคอยนำเสนอสาระดีๆเกี่ยวกับต้นไม้อยู่เรื่อยๆ
โฆษณา