#การสะตุเหล็ก
วันนี้เราจะมาพูดถึง
"การสะตุเหล็ก" หรือ "การสะตุสนิมเหล็ก"
เพื่อนำไปใช้ในการปรุงยาตำรับต่างๆ ครับ
ขออภัย ในคลิปนี้อาจจะอธิบายแบบเร็วๆ
เพราะตอนถ่ายคลิป ต้องแข่งกับเตาไฟ
กับบรรยากาศหน้าบ้านที่มีรถวิ่งเสียงดังตลอด
การสะตุธาตุวัตถุจำพวก "เหล็ก"
วิธีทำ ก็คือให้เอาเหล็กที่จะนำมาสะตุนั้น
ไปบดให้ละเอียด หรือเอามากร่างออกด้วยตะไบ
จากนั้นเอาไปใส่ในภาชนะดินเผา แล้วเอาไปตั้งไฟ
บีบน้ำมะนาวหรือน้ำมะกรูดก็ได้ครับ
บีบลงไปจนท่วมเหล็กนั้นเลย
ตั้งไฟจนกว่าน้ำมะนาวหรือน้ำมะกรูดจะเดือดแล้วแห้งไป
ทำซ้ำๆ แบบนี้อย่างน้อย 7 ครั้งนะครับ
หรือจะทำมากกว่า 7 ครั้งก็ได้
จนกว่าจะได้เหล็กที่กรอบดีแล้ว
ค่อยนำเอาไปผสมยาได้ครับ
เหล็กที่นิยมมาปรุงยา
ก็จะมีสนิมเหล็ก ตะกรันเหล็ก เขม่าเหล็ก และเหล็กแท่งทั่วไปครับ
แต่ที่สำคัญ
คือก่อนที่จะนำมาปรุงยาจะต้องสะตุเสียก่อน
ตามวิธีที่บอกไปข้างต้นครับ
เหล็ก โดยธรรมชาติจะมีสีขาว ไม่มีกลิ่น
แต่ถ้าเป็นสนิมเหล็กจะมีสีแดงไหม้
เหล็ก รสฝาดเย็น
เขม่าเหล็ก รสเผ็ดฝาดเย็น
สนิมเหล็ก รสฝาดหวานเย็น
ตะกรันเหล็ก รสฝาดเย็น
สรรพคุณทางยา
บำรุงโลหิต แก้โลหิตจาง แก้โรคตับพิการ ตับโต
ตับทรุด ม้ามหย่อนแลบออกมาตามชายโครง แก้คุดทะราด
"พิกัดเบญจเหล็ก" ในตำรับยา
คือ การจำกัดจำนวนตัวยาที่มีชื่อว่าเหล็ก 5 อย่าง
ได้แก่ พญามือเหล็ก แก่นขี้เหล็ก
เถาวัลย์เหล็ก ว่านสากเหล็ก และสนิมเหล็ก