2 มิ.ย. 2020 เวลา 22:35 • ครอบครัว & เด็ก
ให้เด็กรู้จักการสร้างเป้าหมายที่ท้าทาย แล้วมันจะทำให้เขาเครียดไม๊นะ
มีท่านผปค.สอบถามผู้เขียนแยกเป็นคำถามที่ลูกเป็นคนเก่ง กับอีกส่วนของคำถามที่คิดว่าลูกไม่เก่งสำหรับเด็กที่ผกค.คิดว่าไม่เก่ง มักจะถามว่า
🖍🖍ไปกดดันเด็กๆมากไปรึเปล่า ต้องให้มีเป้าหมายเพื่อต้องมาทำนั่นทำนี่
🖍🖍ลูกจะเครียดไปไม๊ ไม่อยากให้เขาเครียด
🖍🖍ยากไป ลูกคงไม่ชอบ เรียนอะไร ทักษะการตั้งเป้าหมาย เดี๋ยวถามลูกก่อนรอให้เขาชอบก่อนนะ เผื่อเขาไม่ชอบ
🖍🖍ลูกไม่ใช่เด็กเก่ง คอยดูเขาไปก่อน แล้วเขาจะไหวเหรอ
ส่วนคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกเก่ง ก็จะถามคำถามว่า🖍🖍🖍เสียเวลา ตั้งใจให้เป็นหมอ ก็รู้แล้วว่าต้องเรียนอะไร ถึงจะเป็นหมอได้ นี่แหละเป้าหมายลูกฉัน
🖍🖍ลูกเก่งแล้วได้ 4 ทุกวิชากำลังเรียนภาษาที่ 4 เพิ่มอีกด้วย เป้าหมายน่ะต้องมีอยู่แล้ว
🧷🧷และอื่นๆอีกมากมาย แต่โดยสรุปคือ เขาเรียนเก่งอยู่แล้ว และกลัวลูกเครียด(คิดว่าลูกไม่ใช่คนเก่ง)
💖💖ผู้เขียนคงตอบได้ว่า เป้าหมายที่ท้าทาย ที่มาคุยเล่าทุกวัน มันไม่ใช่แค่เรื่องเรียนเท่านั้นค่ะ จึงไม่มีเรื่องเก่งกรือไม่เก่ง IQดีหรือไม่ดีมาเกี่ยวข้องมากมาย เรื่องเหล่านั้นเป็นเพียงสิ่งมาเสริมให้เขา
📕📕แต่มันคือทั้งหมดของการมีทักษะชีวิตที่ดี ไม่ใช่เรื่องของเก่งหรือไม่เก่ง เรียกว่าไม่มีตำรามาสอนเรื่องของการใช้ชีวิต
ลองย้อนไปอ่านโพสต์ ทำอย่างไรเมื่อคุณไม่มีแต้มต่อในชีวิต ของคุณ Angela Lee Duckworth
เด็กทุกคนรู้หมดค่ะตอบได้หมดว่าตัวเอง”มีเป้าหมาย “แต่เป้าหมายที่ไม่ลงมือหรือเริ่มทำ ก็เป็นได้แค่ความฝัน เรื่องเพ้อฝัน
โลกปัจจุบัน การถามเด็กว่า โตขึ้นอยากเป็นอะไร? ดูจะเป็นคำถามที่ไม่สำคัญไปแล้ว
แต่คำถามว่า ทำอะไรได้บ้าง หรือเคยทำอะไรสำเร็จมาบ้างรึเปล่า น่าจะสำคัญกว่า
และก็มักเข้าใจว่า “การตั้งเป้าหมายไว้ “จะทำให้ไม่มีความสุข เพราะพอมีเป้าหมายก็จะรู้สึกกดดัน เครียด แม้จะมีแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ ก็มองไม่เห็น
ประมาณนั่น
หรืออาจตั้งเป้าหมายไว้ พอเริ่มลงมือปฏิบัตินานเข้าทนไม่ไหว ก็เลิกกลางคัน เลิกมันซะดื้อๆ พอเจออะไรที่มันมาบันดาลใจ ก็เริ่มใหม่ เริ่มได้สักพัก ก็จะเจอปัญหาแบบเดิมๆ วนอยู่แบบนี้ไปเรื่อยๆ
ผู้ใหญ่บางท่านจะเรียกว่า “จับจด”
พอถึงระยะเวลานึงที่โตขึ้นเริ่มเข้าสู่ระดับมหาวิทยาลัย สำหรับคนไม่เก่งที่ไม่เคยมีแผนอะไรเลย ก็มักจะได้ยินว่า เป็นอะไรก็ได้ เรียนอะไรก็ได้ให้จบๆ คณะไหนก็ได้ที่เข้าได้ขอให้จบๆ ประมาณนี้
ส่วนเด็กเก่ง แม้ได้เข้าเรียนตามที่หวังไว้ ก็ใช่ว่าเป้าหมายนั้นทำให้มีความสุขเสมอไป
แต่จริงๆแล้ว สาเหตุหลักของมัน ไม่ใช่เรื่องของเป้าหมายที่ตั้งไว้ ว่ามันสูงเกินเอื้อมไป หรือยากเกินไป เป็นเด็กเก่งอยู่แล้วหรือไม่เก่ง
แต่อยู่ที่หลังจากมีเป้าหมายแล้ว คุณได้ทำอะไรลงไปแล้วบ้าง หรือยังไม่ทำอะไรเลย
การกระทำในปัจจุบันต่างหากที่เป็นสาเหตุให้คุณพยายามอดทน อึด ทำมันต่อ หรือยอมเลิกมันไป
สิ่งนี้ต่างหากที่เราควรชี้ให้เด็กๆมองเห็น
🔴การที่มีความมุ่งมั่นไปให้ถึงเป้าหมาย
โดยไม่ยอมแพ้
กับ
🔴การยึดติดในเป้าหมาย ต่างกันนะคะ เราต้องแยกออกจากกัน
🌺🌺ถ้าเรามุ่งมั่น มีวินัยในตัวเอง มีความมานะอดทน มองแต่ปัจจุบัน ไม่คาดหวังผลลัพธ์ปลายทาง ระหว่างทางอาจต้องมีเดินอ้อมบ้าง ทางไปตรงๆมันไปไม่ได้ เก่งน้อยกว่าแต่ EQ ดีกว่า ก็จะมีทางเดินไปถึงเป้าหมายนั้นได้ ไม่ต้องพุ่งชน
ขอแค่เดินไปถึง เพียงใช้เป้าหมายเพื่อกำหนดทิศทาง และวางแผนวิธีการ เมื่อลงมือกระทำตามแผน ก็จะใส่ใจกับปัจจุบันอย่างเดียว แก้ปัญหาไปทีละปม ก้าวไปทีละก้าวด้วยความมั่นคง
💁‍♂️💁‍♂️แต่ถ้า เรายึดติดกับเป้าหมายเมื่อไหร่ เราจะคาดหวังแต่ว่า จะต้องได้เป้าหมายนั้นอย่างเดียวเท่านั้น ระหว่างทางเจออุปสรรค ทางเดินอ้อมไปไม่มีไม่เคยคิด มีแต่ทางตรงเท่านั้น ถ้าติดตรงขั้นตอนไหน จะท้อใจ แม้จะแก้ปัญหาได้ ก็จะเดินสู่เป้าหมายอย่างไม่มีความสุข
ในกรณีที่เป็นคนเก่ง แม้จะสามารถแก้ปัญหาได้ทีละจุดก็ตาม เขาก็จะไม่มีความสุขแม้วันที่ถึงเป้าหมายแล้ว
ส่วนคนไม่เก่ง ทั้งในการแก้ปัญหา หรือผ่านอุปสรรคไปไม่ได้ ก็จะหยุดและไม่มีความสุขเลย
🌺🌺สรุปก็คือ เป้าหมายไม่ได้ให้เราไว้ยึดติด แค่เพียงกำหนดไว้เป็นจุดหมายให้เรามีทิศทางเดิน เมื่อถึงเวลาเจออุปสรรค ก็ค่อยๆแก้และปล่อยวางผลลัพธ์ที่ได้ไม่ตามเป้าย่อยๆนั้นไป หาวิธีเดินอ้อมมันไป เพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย
ผู้เขียนจึงเห็นว่าเรื่องสำคัญ นั่นรวมถึงเรื่อง mindset การสอนทักษะให้เด็กตั้งเป้าหมายที่ท้าทาย จึงจะต้องพูดถึงเรื่องของmindset เข้าไปด้วย
พอเขียนมาถึงตอนนี้ ทำให้นึกถึง คำสอนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชการที่ 9 ที่ตรัสไว้เกี่ยวกับ “ข้อบกพร่องของคนเก่ง” ดังนี้
******************************************** 
 
“...การสอนให้คนเก่งนี้ ถ้าดูเฉพาะบางแง่บางมุม อาจเห็นว่าดี ว่าสอดคล้องต้องกับสมัยเร่งพัฒนา แต่ถ้ามองให้ถี่ถ้วนรอบด้านแล้ว จะเห็นว่าการมุ่งสอนคนให้เก่งเป็นเกณฑ์ อาจทำให้เกิดจุดบกพร่องต่างๆ ขึ้นในตัวบุคคลได้ไม่น้อย ที่สำคัญก็มี
 
       ข้อหนึ่ง บกพร่องในความคิดพิจารณาที่รอบคอบและกว้างไกล เพราะใจร้อน เร่งจะทำการให้เสร็จโดยเร็ว เป็นเหตุให้การงานผิดพลาด ขัดข้อง และล้มเหลว
 
       ข้อสอง บกพร่องในความนับถือและเกรงใจผู้อื่น เพราะถือว่าตนเป็นเลิศ เป็นเหตุให้เย่อหยิ่ง มองข้ามความสำคัญของบุคคลอื่น และมักก่อความขัดแย้ง ทำลายไมตรีจิต มิตรภาพ ตลอดจนความสามัคคีระหว่างกัน
 
       ข้อสาม บกพร่องในความมัธยัสถ์ พอเหมาะพอดีในการกระทำทั้งปวง เพราะมุ่งหน้าแต่จะทำตัวให้เด่น ให้ก้าวหน้า เป็นเหตุให้เห็นแก่ตัว เอารัดเอาเปรียบ
 
       ข้อสี่ บกพร่องในจริยธรรมและความรู้จักผิดชอบชั่วดี เพราะมุ่งแต่จะแสวงหาประโยชน์เฉพาะตัวให้เพิ่มพูนขึ้น เป็นเหตุให้ทำความผิดและความชั่วทุจริตได้ โดยไม่รู้สึกสะดุ้งสะเทือน
 
       ผู้ที่มีจุดบกพร่องดังกล่าวนี้ เห็นกันอยู่ว่ามักจับเหตุจับผล จับหลักการไม่ถูก ส่วนใหญ่จึงประสบปัญหาและความผิดพลาด ไม่อาจสร้างความเจริญก้าวหน้าที่มั่นคงแท้จริง ให้แก่ตนแก่บ้านเมืองได้ตามเป้าหมาย
 
       ดังนั้น นอกจากจะสอนคนให้เก่งแล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอบรมให้ดีพร้อมกันไปด้วย ประเทศของเราจึงจะได้คนที่มีคุณภาพพร้อม คือทั้งเก่งทั้งดี มาเป็นกำลังของบ้านเมือง กล่าวคือ ให้ความเก่งเป็นปัจจัยและพลังสำหรับการสร้างสรรค์ ให้ความดีเป็นปัจจัยและพลังประคับประคองนำความเก่งให้เป็นไปในทางที่ถูก ที่ควร ที่อำนวยผลเป็นประโยชน์อันพึงประสงค์แต่ฝ่ายเดียว...”
พระราชดำรัส โดย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
พระราชทานในพิธีทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ของ ๕ สถาบัน
ณ ศาลาดุสิดาลัย พระราชวังดุสิต วันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๒
*********************************************
จากพระราชดำรัสดังกล่าว ทำให้เห็นว่า การสร้างหรือทำอะไร หรือการตั้งเป้ากมายให้ท้าทาย ก็ตาม ใครๆก็ทำได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นคนเก่งเท่านั้น
ตัวอย่างที่ผู้เขียนได้หยิบยกมาเล่า เรื่องของ ตาต้าที่มีเป้าหมายแต่เด็ก อยากเป็นแชมป์โลกในการแข่งขันหุ่นยนต์
💖💖น้องเล่าให้ฟังว่า ตลอดเวลาหลายปีตั้งแต่เรียนอนุบาลจนจบมัธยม 6 การแข่งขันของเขา มีทั้งแพ้ทั้งชนะหลายครั้งสลับกันไป
กว่าจะเป็นแชมป์ประเทศไทยไปแข่งในเวทีระดับโลก ไม่ได้ใช้ความเก่งแต่ใช้ความพยายามล้วนๆ ซ้อมครั้งแล้วครั้งเล่า ใช้ความอดทนเพราะต้องเรียนหนักทั้งในโรงเรียนและเรียนภาษาที่ 3 เพื่อเตรียมตัวไปเรียนต่อต่างประเทศ(เป้าหมายถัดไปของเขา)
📕📕วางแผนการตั้งแต่ต้นปีเพื่อแข่งให้ชนะตอนปลายปี
จะได้เป็นตัวแทนทีมชาติไทย ไปแข่งต่อในเวทีโลกมีหลายครั้งรุ่นน้องที่มาจากโรงเรียนอื่นแซงหน้าขึ้นไปก่อน ก็ไม่เคยย่อท้อ มองแต่ในปัจจุบันว่าต้องพยายามให้ถึงที่สุด แก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ จนวันนึงสามารถได้รางวัลในเวทีระดับโลกกลับมา
ผู้เขียนจึงมองว่า
เด็กที่เป็นคนเก่งมักมองข้ามความสามารถด้านการสร้างสัมพันธ์กับคนอื่น
คนเก่งจำนวนไม่น้อยคิดว่า การมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่น ไม่ใช่สิ่งจำเป็น เพียงแค่ทำหน้าที่ของตนให้สำเร็จลุล่วงได้ ก็เพียงพอแล้ว เพราะฉันเก่งแล้ว
เด็กที่เป็นคนเก่งมักคิดว่าการทำงานเป็นทีม ชักช้าน่ารำคาญ ทำคนเดียว ไปคนเดียว เก่งคนเดียว
เมื่อฉันสามารถเข้าใจทุกอย่างได้อย่างรวดเร็วก็ทำคนเดียวเสียเลย
นี่ก็เป็นอีกเหตุ เพราะบางทีการมีกิจกรรมเป็นทีมที่ดี เราอาจมีไอเดียดีๆเพื่อทำให้เราเดินไปถึงเป้าหมายได้โดยง่าย
เด็กที่เป็นคนเก่งส่วนใหญ่ ไม่ยอมพึ่งพาหรือขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น เพราะมีEgo สูง
บางทีการยึดติดกับความฉลาดมากเกินไป จะทำให้พยายามหลีกหนีจากสถานการณ์ที่ตนเองไม่รู้ เพราะรู้สึกว่า ความไม่รู้นั้นเป็นสิ่งที่รับไม่ได้ ในขณะเดียวกันก็จะไม่ยอมขอความช่วยเหลือจากใคร
อยากไปให้ถึงเป้าหมาย ต้องยอมทำตัวเป็นน้ำแค่ครึ่งแก้ว อุปสรรคต่างๆจะผ่านไปได้ด้วยดี
เด็กเก่งมักเบื่อง่าย กับกิจกรรมทั่วไป อยากจะเน้นแต่วิชาการ ไม่อยากรับรู้กับสิ่งต่างๆรอบๆตัว
แต่คนฉลาดมักช่างสงสัยและชอบเรียนรู้
ดังนั้นต่างกันกับคนเก่ง คนเก่งเมื่อทำอะไรซ้ำๆ ไปสักระยะก็อาจรู้สึกเบื่อหน่าย ไม่อยากทำต่อ เริ่มทำอะไรไปสักพักก็เลิก เปลี่ยนไปทำอย่างอื่น
ยิ่งถ้าไม่กำหนดเป้าหมายไว้ ยิ่งไม่มีทิศทางในการเดิน ในโพสต์นี้ผู้เจียนก็ยังคงคิดเหมือนเดิมว่า เก่งหรือไม่ ไม่ได้ทำให้ประสบความสำเร็จ แต่อยู่ที่ความอึด ความอดทน ความมีวินัยและความเพียรหรือGRIT ที่เคยพูดถึงนั่นเอง
เพราะคนเก่ง นึกแต่ว่าตัวเองเก่ง ก็อาจจะมีข้อบกพร่องบางอย่าง แต่คนมีความพยายาม ยังไงก็จะตะเกียกตะกายไปหาเป้าหมายได้
😇😇ไม่เครียดหรอกค่ะถ้าจะฝึกทักษะนี้ให้กับเด็กๆ
แต่ถ้าไม่มีทักษะนี้ การต้องเผชิญอยู่ในโลกผันผวนณ.ปัจจุบันอาจทำให้เครียดได้
โฆษณา