Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
วันละโรค
•
ติดตาม
2 มิ.ย. 2020 เวลา 08:29 • สุขภาพ
กลับมาแล้วค่าาา กับ📍ตอนที่ 2.5 เรื่องยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อ📍หายไปนานเลย แฮะๆ😂
ก่อนอื่นเลยมาทำความรู้จักกับ “โรคติดเชื้อ” กันก่อนดีกว่า
🌟ย้ำ! ยาฆ่าเชื้อใช้กับโรคติดเชื้อ(จากแบคทีเรีย)เท่านั้น🌟 ถ้าใช้กับโรคไม่ติดเชื้อมันจะไม่มีเชื้อให้ฆ่านะคะ
โรคติดเชื้อ คือโรคที่เกิดจากการที่มีสิ่งมีชีวิตแปลกปลอมเข้ามาในร่างกายเราแล้วก่อโรคค่ะ โรคติดเชื้อมีเยอะมาก ๆ แถมมีทุกระบบในร่างกายด้วย ก็สังเกตง่าย ๆ คือโรคติดเชื้อมักมีไข้ค่ะ (แต่เป็นไข้ไม่จำเป็นต้องเป็นโรคติดเชื้อนะคะ อาจเกิดจากการอักเสบที่ไม่ติดเชื้อก็ได้ค่ะ เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เก๊าท์ ฯลฯ ทบทวนได้ที่ ตอนที่ 2.2 ยาแก้อักเสบค่ะ
https://www.facebook.com/111306537187540/posts/128881175430076/
)
.
คำว่า “เชื้อ” หรือ “เชื้อโรค” ในความหมายของเราเนี่ย จริง ๆ แล้วมีหลายตัวมาก ๆ เลยค่ะ และแต่ละเชื้อก็ต้องใช้การรักษาที่จำเพาะ ยาที่จำเพาะต่างกันไป โดยหลัก ๆ แล้วแบ่งเชื้อโรคที่ก่อโรคในคนได้เป็น 4 กลุ่ม คือ
1. แบคทีเรีย
2. ไวรัส
3. รา
4. ปรสิต
ซึ่งทั้ง 4 กลุ่มนี้ไม่เหมือนกันนะคะ เหมือนกับ ปลา นก กบ งู เป็นสัตว์น้ำ สัตว์ปีก สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน มันไม่เหมือนกันค่ะ
.
และแต่ละกลุ่มก็จะมีสิ่งมีชีวิตย่อย ๆ ลงไปอีก เช่น แบคทีเรีย มีแบคทีเรียแกรมบวก แกรมลบ ฯลฯ เหมือนปลา มีหลายสายพันธุ์ ปลานิล ปลาช่อน ปลาทู ฯลฯ ซึ่งแต่ละสิ่งมีชีวิตจะก่อโรคต่างกันออกไป การรักษาก็ต่างกัน
ยกตัวอย่างกันค่ะ
1. แบคทีเรีย เช่น แบคทีเรียชื่อ H.pyroli ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร, Streptococcus pneumoniae ทำให้เป็นปอดบวม เป็นต้น ข้อสังเกตคือถ้าติดโรคจากแบคทีเรีย มักมีหนองเขียวๆ (แต่ก็ไม่เสมอไปนะคะ)
2. ไวรัส ทำให้เกิดโรค เช่น ไข้หวัดธรรมดาทั่วไป, โรคอีสุกอีใส, ไข้หวัดใหญ่, คางทูม, หัดเยอรมัน, ปอดบวม ฯลฯ
3. รา ทำให้เกิดโรคกลาก เกลื้อน หรือบางตัวก็ทำให้ปอดบวมได้ในคนที่ภูมิคุ้มกันตำ่
4. ปรสิต เช่น พวกพยาธิต่าง ๆ บางตัวทำให้ท้องเสีย บางตัวก็ไชเท้า หรือพวกกลุ่มอะมีบา บางตัวก็ขึ้นไปสมองได้ค่ะ
คือจะเห็นว่าโรคติดเชื้อมีมากมายจริง ๆ และสิ่งมีชีวิตที่ทำให้เราเกิดโรคแต่ละตัวก็เยอะมากกกกกกกก(เรียนกันเป็นปีเป็นเทอม 😑)
ซึ่งแต่ละกลุ่มสิ่งมีชีวิตจะมียาที่คอยจัดการจำเพาะค่ะ (จะไม่ลงรายละเอียดชื่อยานะคะ) ตามนี้เลย
1. แบคทีเรีย ต้องใช้ยาฆ่าแบคทีเรีย
2. ไวรัส ส่วนใหญ่ไม่มียาฆ่าไวรัสโดยเฉพาะ มักรักษาตามอาการแล้วปล่อยให้ภูมิคุ้มกันต่อสู้กับไวรัสจนหายเอง (เช่น เป็นหวัดธรรมดา ก็ให้ยาลดน้ำมูก ลดไข้ ไม่มียาฆ่าไวรัส)
3. รา ต้องใช้ยากำจัดเชื้อรา
4. ปรสิต ใช้พวกยาฆ่าพยาธิต่าง ๆ
จะเห็นว่ายามันคนละกลุ่มหมดเลย
แต่ ! 🌟ประเด็นที่สำคัญคือ “ยาฆ่าเชื้อ” ในความหมายของเรา ๆ มักจะหมายถึง “ยาฆ่าแบคทีเรีย” ค่ะ🌟
.
เกร็ดความรู้ : จริง ๆ แล้ว ยาปฏิชีวนะ หมายถึงยาที่มีที่มาจากสิ่งมีชีวิตตัวเล็ก ๆ พวกจุลชีพต่าง ๆ (เช่น สกัดยามาจากสารที่เชื้อราสร้าง หรืออะไรทำนองนี้ค่ะ) ซึ่งยาส่วนมาก มันดันมีฤทธิ์ใช้ฆ่าแบคทีเรีย ก็เลยเรียก ๆ เหมา ๆ แทนกันไปเลยว่ายาปฏิชีวนะใช้ฆ่าแบคทีเรีย (เป็นการเรียกคำไม่ตรงนิยามเบา ๆ )
ดังนั้นสรุปง่าย ๆ คือ
📍ยาฆ่าเชื้อที่เราเรียกกันใช้ฆ่าแบคทีเรีย ฆ่าไวรัส ฆ่ารา ฆ่าปรสิตไม่ได้
📍การติดเชื้อแบคทีเรียสังเกตได้จากหนองสีเขียว ๆ แต่ก็ไม่ได้เป็นแบบนี้เสมอไป!!!
.
ทีนี้ ความน่ากลัวของยาปฏิชีวนะคือ “ถ้าใช้ไม่ถูกต้องอาจทำให้เกิดแบคทีเรียดื้อยา”
หลาย ๆ คนคงคิดว่าแบคทีเรียดื้อยาก็ไม่เห็นจะเป็นไร ก็หายาใหม่ ๆ แรง ๆ มาฆ่าสิ
.
เรื่องของเรื่องมีอยู่ว่า เจ้าพวกแบคทีเรียตัวเล็ก ๆ พวกนี้ร้ายกาจมาก ขณะที่มนุษย์ผลิตยามาฆ่าพวกมัน พวกมันก็พยายามกลายพันธุ์หนี เพื่อเอาชีวิตรอด
ยิ่งเจ้าพวกแบคทีเรียมีโอกาสได้เจอกับยาฆ่าเชื้อเท่าไหร่ มันยิ่งเป็นเหมือนกับตัวเร่งให้มันกลายพันธุ์หนีเร็วขึ้น เร็วขึ้น จนกลายเป็นว่ายาตัวเดิมไม่สามารถใช้ฆ่าเจ้าแบคทีเรียได้อีกต่อไป!!!! และการพัฒนายาฆ่าเชื้อแต่ละตัวใช้เวลานานมากและใช้ทุนเยอะมาก จนมนุษย์ก็ผลิตยาตามฆ่าแบคทีเรียพวกนี้ไม่ไหว
ผลสุดท้ายคือการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่ถูกต้อง ใช้โดยที่ไม่จำเป็นต้องใช้ กลับผลิตแบคทีเรียที่ดื้อยาทุกชนิดออกมา
-คนที่โชคร้ายติดแบคทีเรียพวกนี้เข้าไป คือ ทำอะไรต่อไม่ได้ละค่ะ ไม่มียาให้รักษา-
แล้วเชื้อที่ดื้อยาทุกขนานพวกนี้ก็มีอยู่จริง ๆ ด้วยค่ะ เหมือนกับที่ปัจจุบันเพนนิซิลินที่เคยฆ่าเชื้อได้มากมาย ทุกวันนี้ฆ่าเชื้อได้ลดลง
.
ดังนั้นจึงจะเห็นว่ามีคนออกมารณรงค์กันจำนวนมากเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันการดื้อยาค่ะ
เข้าสู่ช่วง ตัวอย่างสถานการณ์ การใช้ยาฆ่าเชื้อที่ไม่ถูกต้องและพบได้บ่อยค่า
.
1. เป็นหวัด เจ็บคอ คอแดง ไอ มีน้ำมูก มีไข้
- หลายคนเป็นหวัดก็บึ่งไปร้านยาซื้อยาฆ่าเชื้อมาก่อนเลยใช่มั้ยคะ แบบนี้ไม่ถูกต้องนะคะเพราะว่าการเป็นหวัด คอแดง ไอ ส่วนใหญ่แล้วมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัส ซึ่งสามารถหายเองได้ค่ะ(ต้องเชื่อมั่นในภูมิคุ้มกันของเรา) ไม่ต้องกินยาฆ่าเชื้อ และยาฆ่าเชื้อก็ไม่สามารถฆ่าเชื้อไวรัสได้ด้วยค่ะ แต่ว่าถ้ามีหนองด้วย มีฝ้าสีเทา หรือเจ็บคอมากๆโดยที่ไม่ไอเลย รีบไปหาหมอเลยค่าาา
- สามารถศึกษาเรื่องการเป็นหวัดกับการกินยาฆ่าเชื้อเพิ่มเติมได้ที่นี่ค่า
http://www.suanprung.go.th/ic/file/a001.pdf
- ยาแก้อักเสบ กินได้ ไม่เหมือนยาฆ่าเชื้อนะคะ ระวังสับสน สามารถติดตามรายละเอียดได้ที่นี่ค่า
https://www.facebook.com/111306537187540/posts/128881175430076/
2. ท้องเสีย อาเจียน อาหารเป็นพิษ
- อาการท้องเสียโดยเฉพาะที่มีการอาเจียนร่วมด้วยสาเหตุส่วนใหญ่ก็มาจากอาหารที่มีสารพิษปนเปื้อน(สารพิษนะคะไม่ใช่เชื้อแบคทีเรีย)และการติดเชื้อไวรัส(อีกแล้ว)ค่ะ ซึ่งอาการท้องเสียจากสาเหตุทั้งสองอย่างนี้ โดยทั่วไป มักจะหายเองในไม่กี่วันค่ะ หมั่นจิบน้ำเกลือแร่ ORS (oral rehydration salts)เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำมากเกินไปก็พอค่ะ แต่ว่าถ้าหากอาการท้องเสียเป็นหนักมาก ถ่ายปนมูกเลือด ถ่ายเป็นน้ำซาวข้าวเลยล่ะก็ ต้องรีบไปหาหมอทันทีเลยนะคะ
3. เป็นแผล
- เวลาเป็นแผลที่ไม่ได้เกิดจากสัตว์กัด ถ้าแผลขอบเรียบ ไม่ลึกมาก ไม่ได้ปนเปื้อนน้ำสกปรก ไม่มีหนอง ไม่มีกลิ่นเหม็น ดูเป็นแผลธรรมดาๆ ไม่ต้องใช้ยาฆ่าเชื้อนะคะ เพียงดูแลบาดแผลให้ถูกต้องก็พอค่ะ ซึ่งวิธีการดูแลบาดแผลทั่วไป อยู่นี่เลยค่า
https://www.bangkokpattayahospital.com/th/newsroom-th/health-articles-th/item/1008-wound-th.html
.
สรุปอีกครั้งนะคะ เป็นหวัด ท้องเสีย เป็นแผล ถ้าอาการไม่รุนแรง ไม่มีหนอง(อันเป็นสัญลักษณ์ของแบคทีเรีย) อย่ากินยาฆ่าเชื้อนะคะ เพราะจะทำให้เกิดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาในภายหลังได้ แต่ถ้าสงสัยว่าติดเชื้อแบคทีเรียแล้วล่ะก็ ไปพบคุณหมอเลยค่า
สรุปง่าย ๆ คือ
📍ยาฆ่าเชื้อ ยาแก้อักเสบ ยาลดไข้ ยาแก้ปวด ต่างกันค่ะ ใช้แทนกันไม่ได้
📍ยาฆ่าเชื้อที่เราเรียกกันใช้ฆ่าแบคทีเรีย ฆ่าไวรัส ฆ่ารา ฆ่าปรสิตไม่ได้
📍การติดเชื้อแบคทีเรียสังเกตได้จากหนองสีเหลือง ๆ เขียว ๆ แต่ก็ไม่ได้เป็นแบบนี้เสมอไป!!!
📍โรคบางโรคไม่ต้องกินยาฆ่าเชื้อก็หาย เช่น หวัด, ท้องเสีย, แผลทั่วไป ฯลฯ และการกินยาฆ่าเชื้อไม่ได้ทำให้โรคเหล่านี้หายเร็วขึ้น
📍การกินยาฆ่าเชื้อไม่ถูกวิธี นำไปสู่การดื้อยาของเชื้อ แล้วยานั้นจะใช้รักษาไม่ได้อีกต่อไป เพราะฉะนั้นเก็บยาฆาเชื้อไว้ให้คนที่ป่วยหนัก ๆ ดีกว่า
📍ยาฆ่าเชื้อไม่ควรซื้อใช้เองเด็ดขาด หากรู้สึกว่าอาการไม่ดีจริง ๆ หรือสงสัยว่าจะติดเชื้ออะไรหรือเปล่า ควรไปหาหมอค่ะ
บันทึก
3
1
3
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย