2 มิ.ย. 2020 เวลา 14:06 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
Nose-Wheel Bar Marking
เรียกว่าเจ้า T-mark, T-Bar, Stop bar, Stop line, Nose-Wheel Bar Marking หรือ ชื่อเล่นอีกหลายๆชื่อที่ไม่ได้เอ่ยมา ณ ที่นี้ครับ
หลังจากที่ผมได้ให้ความรู้คร่าวๆเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่โบกเครื่องบินไปในโพสก่อนหน้านี้แล้ว คำถามต่อมาคือ
พวกเขารู้ได้ยังไงว่าควรจะโบกไปถึงตรงไหน?
แบบไหนคือเข้าซอง?
แบบไหนคือจุดที่ต้องหยุด? (ไม่สามารถชี้ได้แบบส้มหยุดแน่นอน)
แถมเครื่องบินแต่ละรุ่นก็ขนาดไม่เท่ากันซะด้วย
ซึ่งแน่นอนถ้าหากมีคำถามเกิดขึ้น ผมก็นำคำตอบมาให้แล้วเช่นกัน สิ่งๆนั้นที่ช่วยบ่งบอกว่าตรงไหนคือจุดที่เครื่องบินควรจะหยุดนั่นก็คือ "Nose-Wheel Bar Marking" (เป็นส่วนหนึ่งของ Aircraft Stand Marking) นั่นเอง
เครื่องหมายต่างๆที่อยู่ใน Aircraft Stand ครับ
ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าสีต่างๆที่เขาใช้ทาลงบนพื้นในสนามบินนั้น เราจะเรียกว่า "Marking" ครับ และที่จอดเครื่องบิน เราก็จะเรียกมันว่า "Aircraft Stand" เพราะงั้นสีที่ทาลงไปบนลานจอดเราเลยเรียกว่า Aircraft Stand Marking
และแน่นอน Marking ที่อยู่ในลานจอดนั้นมีอยู่จำนวนไม่น้อย ยิ่งในสนามบินใหญ่ๆนั้นก็มีมากมายเสียเหลือเกินจนตาลาย แต่วันนี้เราจะมาโฟกัสกันที่เส้นที่บอกให้เครื่องบิน "หยุด" กันครับ
บน Norse-wheel bar marking จะบ่งบอกจุดที่ต้องจอดของเครื่องบินแต่ละรุ่น(aircraft type indication) ไว้ครับ
เจ้าเส้นๆนี้ มีชื่อเรียกหลายชื่อมาก เช่น “T-Mark”, “T-Bar”, “Nose-Wheel Bar Marking”, “Stop line” ฯลฯ (เนื่องจากจะใช้ล้อหน้าเป็นเกณฑ์ ซึ่ง Nose wheel หมายถึงล้อหน้าครับ) แถมเจ้าเส้นนี้ก็อาจจะไม่ต้องมีอยู่ทุกสนามบินก็ได้ ถ้าหากว่าสนามบินนั้นมีแค่เครื่องบินเล็กๆ มาใช้บริการเพียงอย่างเดียว (เท่ากับลดต้นทุนในการทาสีของเจ้าของสนามบินไปในตัว) จึงทำให้มันไม่มีชื่อใช้ที่ตายตัวเพราะไม่ได้มีกฎเกณฑ์มาตรฐานมากำหนดไว้ครับ
การจอดโดยเน้นให้ส่วนหน้าของปีกเครื่องบินรุ่นต่างๆให้อยู่จุดเดียวกัน(รูปบน)กับการจอดโดยใช้ล้อหน้าเป็นเกณฑ์อย่างเดียว (รูปล่าง)
แล้วพวกเขาจะตัดสินได้อย่างไรว่าตรงไหนเป็นจุดจอดที่เหมาะสม ซึ่งกฎเกณฑ์ตรงนี้ก็ต้องบอกอีกครับว่า "แล้วแต่" จะทาเลยครับ แต่ทาง FAA ของสหรัฐอเมริกา ก็ได้กำหนดแนวทาง (Guideline) ในการจอดไว้ให้ครับบ
-บ้างอาจจะพิจารณาจากอุปกรณ์ภาคพื้นที่ต้องใช้เมื่อเครื่องบินมาจอด เลยต้องเน้นให้ "ส่วนหน้าของปีกเครื่องบิน"มาอยู่ในจุดเดียวกันง่ายต่อการเชื่อต่ออุปกรณ์ภาคพื้น ทำให้เครื่องบินบางรุ่นอาจจะต้องจอดลึกหน่อย บางรุ่นก็ตื้นหน่อย
-บ้างก็ใช้เส้นเดียวไปเลย จะได้ไม่ต้องเสียเวลาโบกเครื่องบินนาน
-บ้างก็เน้นว่าให้เหมาะสมต่อการเชื่อต่อ Jet bridge (สะพานเทียบที่ให้ผู้โดยสารขึ้นเครื่อง หรือลงจากเครื่อง)
หรือจะพิจรณารวมปัจจัยทั้งสามข้อบนไปเลยก็มีครับ
(สามารถคลิกลิงค์ด้านล่างเพื่อศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ครับ)
ขนาดเราพูดถึงเส้นที่ให้หยุด (Nose-wheel bar marking) เพียงอย่างเดียวยังไม่รวมเส้นอื่นๆที่แสดงให้ดูในรูป รายละเอียดก็เยอะแยะแล้วครับ(ส่วนนึงก็ย่อมาแล้วนะครับ) คงพอทำให้หลายๆคนเข้าใจแล้วว่ากว่าจะมาเป็นสนามบินสนามบินหนึ่งได้นั้น มีความซับซ้อนขนาดไหน แม้แต่เรื่องการทาสีลงบนพื้น
Photo from www.Airsight.de
อย่าลืมกดติดตามเพจ บินเลี่ยน เพจแบ่งปันความรู้ด้านการบินแบบย่อยง่ายนะครับ
References
โฆษณา