3 มิ.ย. 2020 เวลา 05:24 • ความคิดเห็น
เหตุใดจึงอ้ำอึ้งกับการใช้ความรุนแรงในอเมริกา
จัสติน ทรูโด เงียบไป 22 วินาที เมื่อถูกนักข่าวถามถึง reaction ของทรัมป์ต่อผู้ประท้วงกรณีที่จอร์จ ฟรอยด์ แล้วในมี่สุดก็รวมรวมสติอารมณ์ได้ แล้วก็ตอบไปโดยเลี่ยงที่จะกล่าวถึงทรัมป์ แต่บอกว่า เราทั้งหมดก็ได้เห็นสิ่งที่น่ากลัวและน่าสพรึงขวัญเกิดขึ้นในอเมริกา .....แล้วก็ว่า "ไม่ใช่แค่ที่อเมริกาที่มีการเหยียดผิวเหยียดเชื้อชาติ แต่แคนาดาก็เช่นกันที่คนดำและคนผิวสีที่ไม่ได้รับการปฏิบัติที่เป็นธรรมเกิดขึ้นทุกวัน" และมีความตอนหนึ่งที่ว่า "ถึงเวาลาแล้วที่เราจะต้องรับฟัง ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องรวมคนเข้าด้วยกัน และถึงเวลาที่จะเรียนรู้ว่าความไม่เป็นธรรมยังคงมีอยู่ทั้งๆที่ควรมีความก้าวหน้าไปได้ตั้งหลายปีและหลายทศวรรษแล้ว"
ซึ่งภายใต้ ข่าวนี้ก็มีคอมเมนต์มากมาย (ตามภาพ) เช่น บางคนก็บอกว่าเป็นคำตอบที่ฉลาดดี แต่บางคนก็ว่า ไม่กล้าพูดอะไรสินะ เพราะจริงๆแล้วทรูโดเองก็เคยเป็นพวกเหยียดผิวเหมือนกัน แล้วก็เอาภาพที่เขาทาหน้าดำมาลง บางคอมเมนต์ก็บอกว่า น่าแปลกใจเวลาเรื่องการปราบปรามการประท้วงในเอเชีย พวกผู้นำยุโรปและอเมริกาเหนือออกตัวกันเร็วมาก แต่พอตอนนี้ทำไมถึงช้ากันนักล่ะ
เคยได้ยินหลายๆคนในไทยคนตั้งข้อสังเกตกับองค์กรพิทักษ์สิทธิมนุษยชนอย่าง Human Rights Watch ที่มักเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วเสมอกับเหตุการณ์ในไทยหรือเอเชียว่า ตอนนี้ทำไมถึงไม่ขยับหรือเรียกร้องใดๆในเรื่องความรุนแรงที่เกิดขึ้นที่สหรัฐฯ เช่นเดียวกันกับรัฐบาลอังกฤษที่ประกาศให้สัญชาติฮ่องกงสามพันคน สะท้อนการไม่เห็นด้วยที่จีนใช้ความรุนแรงกับผู้ประท้วง แต่ในระดับผู้นำไม่ได้ส่งสัญญาณหรือแสดงการคัดค้านใดๆที่ทรัมป์จัดการกับผู้ประท้วงด้วยความรุนแรงในอเมริกาหรือไม่ได้ออกมาแสดงความเสียใจเรื่อง
จอร์จ ฟรอยด์ด้วยซ้ำ
ขณะเดียวกัน คนในทวิตเตอร์ได้หยิบเอาทวิตฯของวุฒิสมาชิก Tom Cotton แห่งพรรครีพับริกัน ที่ครั้งหนึ่งเคยทวีตกรณีฮ่องกงว่า การใช้ความรุนแรงต่อผู้ประท้วงที่ฮ่องกงเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ ...บลาๆๆ ตามภาพ แต่ในขณะที่วันนี้ทวีตถึงผู้ประท้วงที่อเมริกาที่สะท้อนให้เห็นว่า ต้องการปราบปรามด้วยความรุนแรง .... (ตามภาพข้างล่าง) โดยมีผู้คนไปแสดงความเห็นใต้ทวีตมากมายเช่นกัน ซึ่งก็สะท้อนให้เห็นว่า ในสถานการณ์ที่คล้ายกันแต่พอเรื่องราวเกิดขึ้นใกล้ตัวเองหรือโดยพรรคพวกของตัวเองการรักความเป๋นธรรมและการไม่นิยมความรุนแรงกลับหายไป การเคารพในสิทธิมนุษยชนที่เคยเป็นจุดยืนก็ไม่ได้ถูกนำมาใช้กันเสียแล้ว มาตรฐานเหล่านั้นอยู่ที่ไหน
เห็นจะมีก็แต่ อาร์คบิช้อป หรืออัครสังฆราชวิลตัน เกรโกรี ที่ออกแถลงการณ์ประณามการเดินทางไปยังวิหารแห่งชาติ เซนต์ จอห์น ปอล ที่ 2 ของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เมื่อวันอังคารที่ 2 มิ.ย. 2563 โดยใช้แก๊สน้ำตาเข้าใส่ฝูงชนที่ชุมนุมกันอยู่ด้วยความสงบเพื่อเปิดทาง โดยในแถลงการณ์ระบุว่า“รู้สึกว่าเป็นที่น่าสับสนและน่าตำหนิอย่างมาก ที่สถานที่ทางศาสนาของคาทอลิกใดๆ ยอมให้ตัวเองถูกควบคุมและใช้ไปในทางที่ผิดอย่างมหันต์ ซึ่งขัดต่อหลักศาสนาของเรา ที่ขอให้ปกป้องสิทธิของทุกคน แม้จะเป็นคนที่เราไม่เห็นด้วยก็ตาม”
อัครสังฆราช วิลตัน เกรโกรี ยังระบุอีกว่า พระองค์จะไม่มีทางให้อภัยการใช้แก๊สน้ำตาและเครื่องป้องปรามอื่นๆ เพื่อปิดปาก ปราบปราม หรือ ข่มขู่ผู้ประท้วงให้หวาดกลัว เพื่อสร้างโอกาสในการถ่ายรูปหน้าสถานที่แห่งการสักการะและสันติอย่างแน่นอน
จะว่าไปทำไมมี หากมาดูแล้วท่านอัครสังฆราชก็เป็นคนดำเช่นกัน จนถึงบัดนี้ก็ยังไม่เห็นจากผู้นำยุโรป หรือตะวันตกคนไหนที่ออกมาเรียกร้องให้ยุติความรุนแรงในการปราบปรามผู้ประท้วงเหมือนที่เคยออกมาแทรกแซงในเอเชียเลย หรือหากเปรียบอาจเป็นไปได้ว่าเคย "ปาไม้หน้าสามออกไปแล้วตอนนี้กลับมาตีหน้าตัวเอง" เลยอึ้งกันไปหมด//
Smk The Free Spirit
โฆษณา