2.1 ชนิดที่มีฤทธิ์ขับเสมหะ(Expectorants)
👉ยากลุ่มนี้จะไปทำให้เกิดการระคายกระเพาะอาหาร แล้วส่งผลให้เพิ่มการสร้างสารหลั่งที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบ จึงทำให้เสมหะที่เดิมมีความเหนียวข้น ถูกสารน้ำทำให้มีความหนืดลดลง จึงสามารถไอเอาเสมหะออกได้ง่ายขึ้น
❗แต่ในระยะแรกของการใช้ยาขับเสมหะ จะมีปริมาณเสมหะมากขึ้น และไอมากขึ้น เพื่อขับเสมหะออกจากทางเดินอากาศ จนเมื่อไอกำจัดเสมหะออกหมด/น้อยลง อาการไอจะลดลง
👉 ตัวอย่างของยาขับเสมหะ คือ Guaifenesin, ammonium chloride, ammonia, senega, sodium citrate, ipecacuanh
👉ผลิตภัณฑ์ในตลาดเช่น Fenesin®, Robitussin®, MUCHES®, Icolid®, Terco-D®
2.2 ชนิดที่มีฤทธิ์ละลายเสมหะ (Mucolytics)
👉เหมาะกับคนที่ไอมีเสมหะข้นเหนียวมากๆ
👉ยากลุ่มนี้จะไปทำลายโครงสร้างของเสมหะส่วนที่ทำให้เสมหะเหนียว แต่ไม่ได้ไปเพิ่มปริมาณของเสมหะ เป็นเพียงทำให้ความข้นหนืดของเสมหะลดลง จึงไอเอาเสมหะออกได้ง่ายขึ้น
👉ตัวอย่างของยาละลายเสมหะ
💁อะเซทิลซิสเทอีน (Acetylcysteine; Acetin® Fluimucil®, Flucil®, Mucil®, Muclear®) หรือเอ็น-อะเซทิลซิสเทอีน (N-acetylcysteine; NacLong®)
💁คาร์โบซิสเทอีน (Carbocysteine; Amicof®, Expetan®/Expetan-Kids®/Expetan-R®, Flemex®/Flemex Kids®)
💁บรอมเฮกซีน (Bromhexine; Bisolvon®, Bisolvon® Syrup, Bisoltab®, Bromcolex®, Bromxin®, Bromxine®)
💁แอมบร็อกซอล (Ambroxol; Mucolid®, Mucosolvan®, Mucosolvan-SR®)