6 มิ.ย. 2020 เวลา 01:00 • การศึกษา
"ลูกจ้างไม่ผ่านทดลองงาน นายจ้างต้องจ่ายเงิน!"
...บทความนี้หลายท่านอาจรู้กันอยู่แล้ว แต่ผมอยากจะนำมากล่าวแจ้งให้ทราบอีกครั้ง เพื่อที่จะได้ให้นายจ้างสำนึกและทำให้ถูกต้อง มิฉะนั้นนายจ้างจะเสียประโยชน์อย่างมากครับ
...ปกติแล้วถ้ามีการจ้างงานพนักงานแบบรายเดือน จะจ้างกันในรูปแบบของ "สัญญาจ้างทดลองงาน" โดยฝ่ายบุคคลจะนำสัญญาจ้างให้ท่านเซ็นก่อนเริ่มงาน สัญญาตัวนี้ไม่ใช่เซ็นกันเฉยๆ แต่มีผลบังคับทางกฎหมายทั้งนั้นครับ
"ผมกล้าพูดเลยว่า สัญญาจ้างเหล่านี้ ไม่เคยถูกหยิบขึ้นมาดูเลย จะหยิบขึ้นมาดูต่อเมื่อต้องการได้ประโยชน์จากสัญญาเท่านั้น"
...สัญญาจ้างพนักงานทั่วไป มักจะมาในรูปของแบบฟอร์มทั่วไป ซึ่งใช้เซ็นกันโดยบางครั้งขาดการกลั่นกรองให้ดีก่อน จึงมักมีข้อกำหนดในสัญญาลักษณะไม่ถูกต้องหลายประการครับ เช่น
1. นายจ้างสามารถเลิกจ้างได้ทันทีหากไม่มีผ่านทดลองงาน
2. ให้ถือว่าเมื่อเลิกจ้างแล้ว ลูกจ้างสละสิทธิเรียกร้องทั้งปวงตามกฎหมายแรงงาน
3. นายจ้างมีสิทธิระงับเงินเดือนหากลาออกไม่ถูกต้องตามระเบียบ
ฯลฯ
"ซึ่งข้อกำหนดพวกนี้ ใช้บังคับไม่ได้"
"ผมมักจะบอกนายจ้างเสมอว่า สัญญาจะกำหนดอะไรก็ได้ แต่ใช้ได้หรือไม่อีกเรื่องหนึ่ง" นายจ้างก็มักจะทำหน้านิ่วคิ้วขมวดออกแนวงง
...ท่านผู้อ่านเชื่อไหมครับ นายจ้างจำนวนไม่น้อย ยังไม่ทราบเลยว่าหากลูกจ้างไม่ผ่านทดลองงาน ต้องแจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าก่อน ยังเชื่อกันแบบผิดๆว่าเลิกจ้างได้เลย ไม่ต้องจ่ายอะไร และมักไม่เข้าใจเวลาอธิบายให้ฟัง
"พอไปไล่เขาออก หมายศาลส่งมาก็ทำท่าไม่พอใจ
...สัญญาจ้างทดลองงาน กฎหมายถือว่าเป็น "สัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดเวลา"
การไม่ผ่านทดลองงานถือว่าท่านไม่พอใจผลการปฏิบัติงานของลูกจ้าง หากต้องการเลิกจ้างลูกจ้างนั้น ท่านต้องแจ้งการเลิกจ้างให้ลูกจ้างทราบเมื่อถึงงวดการจ่ายค่าจ้าง เพื่อให้เป็นผลเลิกจ้างกันในงวดจ่ายค่าจ้างถัดไป (พูดให้เข้าใจคือ 1 งวดค่าจ้าง) พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17
"สัญญาจ้างทดลองงาน มักจะกำหนดไว้ไม่เกิน 119 วัน เพื่อหลีกเลี่ยงค่าชดเชยตามกฎหมาย" หรือจะกำหนดไว้ 6 เดือน 1 ปีก็ได้ (ส่วนมากเป็นตำแหน่งบริหาร) หากกำหนดไว้ระยะเวลาเกิน ถือว่านายจ้างเสี่ยงภัยเอง
หากเป็นประเภทนายจ้าง ประเภทไล่ออกทันทีไม่แจ้งล่วงหน้า เบื้องต้นสิ่งที่นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้าง คือ
1. ค่าจ้าง (ตามจำนวนวันที่ทำงานจริง)
2. ค่าตกใจ
3. ค่าชดเชย (ตามอายุงาน)
4. ค่าพักร้อนสะสม / พ้กร้อนปกติ (กรณีมีสิทธิใช้ได้)
5. เงินอื่นๆ เช่น เงินค้ำประกัน สวัสดิการคงค้าง โอที คอมมิชชั่น ฯลฯ
6. ใบผ่านงาน
7. ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างอันไม่เป็นธรรม (กรณีกลั่นแกล้ง)
ทั้งนี้ตามเงื่อนไขของเงินแต่ละประเภท
...นายจ้างที่ทราบก็จะใช้วิธีให้เขียนใบลาออก ซึ่งหากลูกจ้างไม่มีอะไรจะเสีย ผมแนะนำว่าไม่ต้องเขียน เช่น เพิ่งเรียนจบใหม่และทำงานไม่นาน อายุงานน้อย โอกาสเลือกทำงานยังมีอีกมาก หรือค่าเสียหายมีจำนวนมาก ให้นำความไปทำเรื่องฟ้องเอาเงินตามสิทธิจะดีกว่าครับ
1
"ยิ่งหากลูกจ้างได้งานใหม่แล้ว หากชนะคดีก็ยังได้เงินใช้ประทังชีพได้ด้วย"
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2229/2560
"...ผู้เขียนเขียนบทความนี้ ให้ความรู้แก่ผู้เกี่ยวข้องเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันการโดนเอาเปรียบจากสังคมแห่งแรงงาน..."
"...หากอยากให้กำลังใจผู้เขียน ช่วยกดติดตาม กดไลค์ หรือแชร์แก่ผู้อื่นเป็นวิทยาทาน ฯลฯ เพื่อจะได้สร้างสรรค์งานเขียนเช่นนี้ต่อไปครับ..."
CR : Kenya employment law
โฆษณา